22323 : โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2567 15:04:29
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร ผู้สนใจในพื้นที่ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2568 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัฒน์  สร้อยทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราณรวีร์  สุขันธ์
อาจารย์ ดร. เนตราพร  ด้วงสง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 4.1.3) ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัยตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ขยะเป็นปัญหาสำคัญของมนุษยชาติ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้เข้ามาเป็นหน่วยงานกลางที่ประสานความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองด้วยการกำหนดให้มีโครงการวันรณรงค์เพื่อโลกสะอาดเป็นครั้งแรกในปี1993 เพื่อเชิญชวนให้ทุกประเทศได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับขยะในชุมชนของตน ทำให้ทุกคนได้เกิดความตระหนักถึงปัญหาขยะที่มีผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะ การกำจัดขยะชุมชนมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการขาดความเข้าใจของคนไทยคือ ประชาชนมักทิ้งภาระหน้าที่ให้กับเจ้าพนักงานทำความสะอาด ไม่ร่วมมือในการลด และนำขยะชุมชนกลับมาใช้ประโยชน์ การแก้ไขปัญหาขยะจึงไม่ควรมองไปที่เรื่องของส่วนรวมเพียงอย่างเดียวแต่ควรมองย้อนกลับมาที่ตัวบุคคลเป็นหลัก สำหรับแนวทางที่แก้ปัญหาขยะล้นเมืองในภาคประชาชน และชุมชนนั้นสามารถใช้หลักการ 4 Rs สร้างจิตสำนึกต่อสังคม ได้แก่ 1) ลดการใช้ลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือยใช้อย่างประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น 2)การซ่อมแซมการซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะ หรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่ 3) การใช้ซ้ำการนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า 4)การนำกลับมาใช้ใหม่การนำขยะมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่การลดขยะด้วยวิธีการเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น โดยประชาชนควรให้ความสนใจ มีการตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาของขยะในสถานการณ์ปัจจุบันและที่จะขยายตัวในอนาคตอีกทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรมีการจัดโครงการรณรงค์พร้อมช่วยเหลือเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดขึ้น เทศบาลตำบลสันทรายหลวง ตั้งอยู่ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ความรับผิดชอบ 4 ตำบล คือตำบลป่าไผ่ สันทรายน้อย สันทรายหลวงและสันพระเนตร รวม 21 หมู่บ้าน จึงทำให้เกิดขยะมูลฝอยในชุมชนอย่างมาก ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจ้างจัดเก็บขน และกำจัดขยะ ซึ่งขยะชุมชนที่ทำการเก็บได้มากกว่าครึ่งเป็นขยะอินทรีย์ และขยะมูลฝอยทั่วไป เช่น พลาสติก กระดาษ แก้ว แต่อย่างไรก็ตามยังพบขยะอันตรายปะปนมาด้วย ซึ่งหากการจัดการไม่ถูกต้อง หรือใช้ระยะเวลาที่นานในการจัดเก็บ ทำให้เกิดทัศนียภาพที่ ไม่สวยงาม ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น และน้ำเน่าเสียจากขยะหมักหมม มีแมลง และสัตว์พาหะนำโรคมาอาศัยอยู่ในกองขยะ ปัญหาการจัดการขยะมูลชุมชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากประชาชน/เยาวชน ยังขาดองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะมูลฝอยในแต่ละประเภทภายในชุมชน ดังนั้น มีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการเชิงรุก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และการลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัดในพื้นที่ชุมชน สถานศึกษาอาคาร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน ตลาดสด เป็นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์/ส่งเสริมให้ประชาชน/เยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยการคัดแยกและจัดการประเภทขยะมูลฝอย (ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป) ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดภายในชุมชนของตนเองได้ และสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ภายในเขตพื้นที่ นอกจากนี้จากการที่ขยะชุมชนมีปริมาณขยะอินทรีย์จำนวนมากเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ และลดรายจ่ายของครัวเรือนจึงเพิ่มการสนับสนุนให้ครัวเรือนได้นำขยะอินทรีย์มาทำการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาผ่านกระบวนการหมักและใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน นอกจากนี้ โครงการยังออกแบบให้มีความสอดคล้องกับ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100” ข้อ 2.2 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ GO. Eco. University เพื่อให้มหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ โดยมุ่งเน้นที่ข้อ 2.2.2 มหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวชั้นนำของประเทศ (Green university ranking) เพื่อสร้างความ “อยู่ดี” ให้กับประเทศ นั่นคือ โครงการนี้สามารถสนับสนุนมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาข้างต้นได้โดยนำแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการไปใช้ประโยชน์ในส่วนของการจัดการขยะชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่การให้องค์ความรู้แก่ประชาชน ในการดำเนินการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ร่วมไปถึงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติได้จริง การเพิ่มมูลค่าให้ขยะชุมชน และการนำขยะชุมชนการพัฒนาเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนอย่างเหมาะสม ซึ่งโครงการนี้สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริของพระบาท - กองทุนบำบัดและใช้ประโยชน์จากขยะในมูลนิธิชัยพัฒนา ในราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ เบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร - โครงการหลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ในราชดำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ด้านโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
7.1 ให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะชุมชน กับชุมชน หมู่บ้าน สถานศึกษา ตลาดสด ฯลฯ
7.2 ให้มีการคัดแยก และกระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ (ผลิตปุ๋ยหมัก) ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนเป้าหมาย
7.3 ให้มีชุมชน/กลุ่มเป้าหมายนำร่องในการคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการจัดกิจกรรมโครงการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะชุมชน
KPI 1 : - ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
45000 บาท 45000
KPI 3 : - จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : - จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ คือ ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในชุมชน ปริมาณ 10 กิโลกรัม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชิ้น 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการจัดกิจกรรมโครงการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 การประชุมวางแผน สำรวจพื้นที่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 31/01/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะชุมชน และปฏิบัติการการคัดแยกและการจัดการขยะอินทรีย์ (ผลิตปุ๋ยหมัก) ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2568 - 31/05/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัฒน์  สร้อยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี  วงศ์มณีรุ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณรวีร์  สุขันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เนตราพร  ด้วงสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม) จำนวน 40 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม) จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 3 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท 5 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา แฟ้ม เทปใส ไส้แม็กซ์ ซองเอกสารพลาสติก ซองเอกสารกระดาษ ถ่านนาฬิกา ค่าถ่ายเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงดำ ถุงมือยาง กล่องพลาสติก ไม้กวาด ทิชชู่ ฟองน้ำ ถุงซิป
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ซีดี
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ขี้วัว ใบฉ่ำฉา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ตาข่าย กระสอบ ถุงมือ เส้นลวด กรรไกรตัดลวด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2568 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 การประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ทำเอกสารและเขียนรายงานผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา  วงศ์แสนใหม่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ผู้เข้าอบรมไม่ได้ทำตามกระบวนการที่อบรมอย่างถูกต้อง จึงทำให้ปุ๋ยที่ได้เน่า
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
กำชับและให้ผู้เข้าร่วมอบรมลงมือทำเองทุกคน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นักศึกษาอย่างน้อยจำนวน 5 คน ร่วมในกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในรายวิชา ปฏิบัติการกระบวนการผลิตวัสดุ (10307217) หรือ นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้ (10307323) หรือ กระบวนการนำวัสดุใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (10307336) หรือ ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม (10307332)
ช่วงเวลา : 28/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล