22255 : โครงการนวัตกรรมการจัดการภูมิทัศน์ในอาคาร-รักษ์สิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/10/2567 9:18:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/10/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักเรียนระดับมัธยมต้น-มัธยมปลายและคุณครู ในพื้นที่โรงเรียนรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย ผู้สนใจในเขตพื้นที่ปริมณฑลเมืองเชียงใหม่ รอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักศึกษาและบุคคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และประชาชนท้องถิ่นใกล้เคียง
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พรทิพย์  จันทร์ราช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์  ธาราฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก การดำเนินงานภายหลัง ปี 2565 ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20-25 เมื่อเทียบเคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2573 (ค.ศ. 2030) หรือคิดเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 444 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา แม้แนวโน้มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยในปี 2561 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าปริมาณปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นร้อยละ 16 ซึ่งประสบความสำเร็จเหนือเป้าหมายของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าปริมาณปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นร้อยละ 7 ทั้งนี้ พบว่าสัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากที่สุดถึงร้อยละ 74 มาจากการใช้พลังงาน ซึ่งมาจากการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 42 การคมนาคมขนส่ง ร้อยละ 23 ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างร้อยละ 20 ดังนั้น การพัฒนาความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีปริมาณการดูดกลับ ก๊าซเรือนกระจก 91.13 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และการพัฒนาโครงการต่างๆเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในทุกมิติของเมืองหรือสถานที่ต่างๆ ถือเป็นโอกาสที่จะเพิ่มแหล่งเสริมสร้างความสามารถในการลดปริมาณการสร้างก๊าซเรือนกระจกในสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ การสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดมลพิษและผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงเป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง รวมถึงการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลกที่สามารถดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกรอบมาตรการในการดำเนินงานที่ชัดเจน จากเป้าของประเทศดังกล่าวข้างต้น การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านการสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียว งานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นที่สีเขียวและงานทางด้านภูมิทัศน์สร้างสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เทคโนโลยี นวัตกรรมอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบภูมิทัศน์เพื่อลดอุณหภูมิและการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์บริเวณผิวหรือเปลือกอาคาร (Building Envelope) ด้วยการใช้สวนแนวตั้ง (Vertical Garden) หรือการจัดสวนหลังคา (Roof Garden) ก็เป็นอีกประเด็นองค์ความรู้ที่สำคัญทางด้านงานภูมิทัศน์ในอาคารปัจจุบัน ที่สามารถมีส่วนเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่ช่วยออกแบบและสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ที่ควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ทุกภาคส่วน โดยสอดคล้องตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับนโยบายการพัฒนาด้าน Green & Eco-University and Community ได้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการที่สามารถส่งเสริมสนับสนุนมหาวิทยาลัยและชุมชนเมืองต่างๆ ทั้งในภูมิภาคภาคเหนือ และภาคอื่นๆ ของประเทศ เพื่อการยกระดับขีดความรู้ ความสามารถด้านสิ่งแวดล้อมเขียว ตลอดจนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และภูมิสังคมท้องถิ่นในทุกมิติด้านต่างๆ ความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงวิถีทางการเกษตรให้แก่ชุมชน สังคมท้องถิ่น สู่ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากภาควิชาการสู่ภาคประชาชน หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ของชุมชนและเมือง เพื่อเป็นที่พึ่งของท้องถิ่น ชุมชนและสังคม รวมทั้งการผสานองค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน “ศาสตร์พระราชา”ซึ่งเป็นสิ่งที่เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วจะเกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตจนเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยตลอดจนนานาประเทศ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยหลักสำคัญ คือ จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะหลักการนำทาง ประกอบด้วยสามห่วง สองฐาน คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตน มีฐานความรู้ และ ฐานคุณธรรม และ วิธีการของศาสตร์พระราชา คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม การประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชาเข้ากับงานทางด้านการพัฒนาพื้นที่ การสร้างจิตสานึกและแรงจูงใจให้ประชาชนทุกระดับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสานึกให้ทุกภาคส่วนร่วมกันให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ปรับตามภูมิสังคม สภาพพื้นที่และสถานการณ์ อันเป็นหลักที่สามารถปรับใช้กับทุกศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมของภูมิทัศน์ชุมชนและเมืองกับการวางแผนพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ตอบสนองยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว และชุมชนเมืองเชิงนิเวศ
พัฒนาทรัพยากรคนให้เป็นบุคคลต้นแบบให้เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาแนวคิดและหลักปฏิบัติที่ดีต่อสุขภาวะของสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ในอาคารอย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ ด้าน “การจัดการ ดูแล เสริมความงาม และฟื้นฟู และการเลือกใช้พรรณไม้ในอาคารเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม” โดยหลักการกายและใจ เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ต่อยอด ขยายผล เพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดี และการประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชา ต้องทำให้ด้วยความรัก ความปรารถนาและด้วยใจ ต้องประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ปรับตามภูมิสังคม สภาพพื้นที่และสถานการณ์ อันเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะปฏิบัติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่มีคุณค่าทางกายภาพ และจิตใจในพื้นที่ชุมชนเมือง และพื้นที่เป้าหมายสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
สร้างภาพลักษณ์และบรรยากาศทางภูมิทัศน์ที่ประสานกับแนวคิดเชิงนวัตวิถีชุมชนกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพรรณไม้ของสถานที่ เป็นเครื่องหมายของสถานที่ สร้างสุนทรีย ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และเป็นสุข ในการใช้ชีวิตของผู้คนที่เข้ามาใช้สถานที่ของเมืองและชุมชน
สืบสานแนวคิดและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการจัดการภูมิทัศน์ในอาคารและการเคารพต่อสิ่งแวดล้อมองค์รวม
สร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ดูแลรักษา จัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ในอาคารที่มีคุณค่าทางกายภาพและจิตใจ ในพื้นที่พื้นที่เป้าหมายต่างๆ ให้เกิดสร้างความภาคภูมิใจในสถาบัน สถานที่ และเกิดสัมพันธ์ภาพที่ดี ทั้งในด้านแนวความคิด แนวทางปฏิบัติ และวัฒนธรรมที่ดีงาม
เพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการของคณะฯ
เพิ่มศักยภาพ และยกระดับองค์กร ในแนวคิด “Smart Growth” ด้านภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตบุคลากร-บุคคลที่มีความรู้ เข้าใจ เข้าถึง และสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลนำร่อง บันดาลใจ ต้นแบบของ”นวัตกรรมงานภูมิทัศน์ในอาคาร-สวนแนวตั้ง” สู่การริเริ่มเป็นนักพัฒนา ปฏิบัติการ ต่อยอด ขยายผล ในหลักการของภูมิทัศน์แนวใหม่อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ สร้างบุคคลากรให้องค์กรทางการศึกษาที่ร่วมอบรม นักเรียน คุณครูของแต่ละโรงเรียน สามารถนำความรู้ถ่ายทอดในชั้นเรียน
KPI 1 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ (จำนวนชิ้นงานตัวอย่างสวนแนวตั้งแบบสร้างสรรค์อย่างน้อย 1 ชิ้น)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชิ้นงาน 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : จำนวนองค์ความรู้ที่ถ่ายทอด (องค์ความรู้ทางภูมิทัศน์สวนแนวตั้งในอาคารและการใช้แนวคิดสร้างสรรค์สร้างสวนแนวตั้งจากวัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เรื่อง 2
KPI 8 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตบุคลากร-บุคคลที่มีความรู้ เข้าใจ เข้าถึง และสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลนำร่อง บันดาลใจ ต้นแบบของ”นวัตกรรมงานภูมิทัศน์ในอาคาร-สวนแนวตั้ง” สู่การริเริ่มเป็นนักพัฒนา ปฏิบัติการ ต่อยอด ขยายผล ในหลักการของภูมิทัศน์แนวใหม่อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ สร้างบุคคลากรให้องค์กรทางการศึกษาที่ร่วมอบรม นักเรียน คุณครูของแต่ละโรงเรียน สามารถนำความรู้ถ่ายทอดในชั้นเรียน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “นวัตกรรมงานภูมิทัศน์ในอาคาร” สวนแนวตั้งในอาคารเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พรทิพย์  จันทร์ราช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี  เหมสันต์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุระพงษ์  เตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธวัชชัย  มานิตย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
(จำนวน 50 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
(จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ 1 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท (2 คน 1 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน และสำเนาเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 21000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : การฝึกอบรม การเสริมสร้าง ความคิดริเริ่มสร้างสรร- ความมั่นคงทางอาหาร-วัสดุเหลือใช้สำหรับงานภูมิทัศน์ในอาคาร-รักษ์สิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 21/10/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พรทิพย์  จันทร์ราช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี  เหมสันต์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุระพงษ์  เตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธวัชชัย  มานิตย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
(จำนวน 50 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
(จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ 1 วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)
- ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท x 1 คน x 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
- จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x 1 คน x 1 วัน = 1,800 บาท
- จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท x 1 คน x 1 วัน = 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าวัสดุสำนักงาน และสำเนาเอกสาร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,600.00 บาท 0.00 บาท 4,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร ได้แก่ กระถาง กรรไกรตัดแต่ง ดินปลูกฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 24000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน รายวิชาที่สามารถนำมาบูรณาการกับการบริการวิชาการโครงการนี้ ได้แก่รายวิชาในหลักสูตรเทคโนโลยีภูมิทัศน์
ช่วงเวลา : 21/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล