22254 : โครงการแนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่พุทธสถาน (วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/10/2567 0:09:40
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  พุทธสถาน(วัด) 1 แห่ง ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้นำแม่บ้าน กลุ่มสตรี อสม. ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เทศบาล
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ตุลชัย  บ่อทรัพย์
อาจารย์ ปนวัฒน์  สุทธิกุญชร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยมายาวนาน บทบาทของวัดในอดีตเป็นศูนย์รวมของชุมชน โดยแบ่งหน้าที่ได้ดังนี้ 1. เป็นสถานศึกษา 2. เป็นที่รักษาพยาบาล 3. เป็นที่ฝึกอาชีพ 4.เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 5.เป็นที่ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท 6. เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชน (พระสุธีวรญาณ, 2549 : 163-163) จาก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2537 ฉบับที่ 2 กำหนดบทบาทหน้าที่ของวัดว่า วัดจะต้องมีเจ้าอาวาสหนึ่งรูปในฐานะผู้ปกครองวัด เจ้าอาวาสในแต่ละวัดมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจกรรมและศาสนาสมบัติของวัดให้ด้วยดี ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล วัดจึงต้อมมีความพร้อมในการจัดการพื้นที่ทางกายภาพที่เอื้อกับกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนอยู่เสมอ ในปัจจุบันบทบาทของวัดและพระสงฆ์ที่มีต่อสังคมไทยเกิดการสั่นคลอนเนื่องจากรูปแบบการพัฒนาของวัดเปลี่ยนไปอย่างเชื่องช้าไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคมและเงื่อนไขในการดำรงชีวิตของคนหลังสมัยใหม่ที่เร่งรีบ รวมถึงการจัดการพื้นที่กิจกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนไม่สัมพันธ์กับการจัดการพื้นที่ใช้สอยภายในวัด ด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนแยกห่างออกจากกัน ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนในปัจจุบันเหลือเพียงสถานที่เชิงสัญลักษณ์ที่มีไว้ตอบสนองในด้านประเพณีพิธีกรรมทางศาสนาหรือสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมประจำชาติในวันสำคัญเท่านั้น อีกด้านหนึ่งภาพลักษณ์ของวัดปัจจุบันถูกมองว่าเป็นแหล่งกอบโกยผลประโยชน์ความเชื่อจากพุทธะศาสนิกชน (ดำรงศักดิ์ มีสุนทร, 2566 : 3) ดังนั้น การศึกษาหาแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมและปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพเพื่อรองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในวัด ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อทำให้วัดกลับมามีบทบาทต่อชุมชน เป็นศูนย์กลางของพื้นที่ทางจิตวิญญาณของสังคม โครงการนี้มีแนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่และสภาพแวดล้อมวัดโดยรวม ด้วยแนวคิดและทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาคติความเชื่อและระบบสัญลักษณ์ในพุทธศาสนา รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างสภาวะน่าสบาย ใช้วัสดุและรูปแบบที่ส่งเสริมเอกลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรมเดิมในพื้นที่กรณีศึกษา เพื่อให้เกิดการรับรู้และสร้างเสริมบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการสร้างสภาวะน่าสบาย หลักการออกแบบอารยสถาปัตย์ หรือ การออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD) และ น้อมนำพระราชดำริ พระราชทานหลักการ “บวร” ซึ่งหมายถึงการนำสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ตัดสินใจ แก้ปัญหาตนเองและชุมชน กำหนดแผนแม่บทชุมชน ร่วมกันคิด สร้าง และบริหารจัดการชุมชน ของตนในท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็นเจ้าของแนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำงานที่ความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 1. มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี: Good Health and Well-being 1.1 หลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD) 1.2 แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ และพื้นที่ว่าง 2. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน: Sustainable Cities and Communities 2.1 แนวคิดจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การออกแบบโดยใช้แนวทางภูมิสังคมและเศรษฐกิจพอเพียง 2.2 พระราชดำริพระราชทาน หลักการ “บวร” 2.3 การออกแบบงานสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน (Sustainable Architecture) 3. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: Partnerships to achieve the Goal 3.1 การออกแบบโดยใช้หลักการการมีส่วนร่วม (Participatory Design) 3.2 การออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) 3.3 แนวคิดของการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3.4 แนวคิดการจัดพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ออกแบบและปรับปรุงพื้นที่วัดและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมชุมชน โดยใช้หลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD) และ น้อมนำพระราชดำริ พระราชทานหลักการ “บวร” เข้ามาใช้
เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและชุมชนกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยหลักการออกแบบแบบมีส่วนร่วม (Participatory Design) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design)
เพื่อส่งเสริมการบูรณาการการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการหรืองานวิจัยของคณะฯ ภายใต้กรอบการแนวคิดภูมิสังคม เศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาเชิงพื้นที่
เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพสู่การเป็น ผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดการพัฒนา ขยายโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมได้ออกแบบบนพื้นที่โครงการจริง เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่พุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผลผลิต / พื้นที่ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พื้นที่ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่พุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : การจัดทำข้อมูลเบื้องต้น
- วางแผนเก็บข้อมูลพื้นที่เบื้องต้นเพื่อทำการสำรวจพุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย
- ศึกษาและวิเคระห์พื้นที่ด้านกายภาพ เก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของพุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 31/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ตุลชัย  บ่อทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปนวัฒน์  สุทธิกุญชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ
- การออกแบบและปรับปรุงพุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 1 พื้นที่ โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการออกแบบ
- ลงพื้นที่เพื่อทำการสำรวจพุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสรุป ปัญหาความต้องการและเลือก 1 พื้นที่ เพื่อนำเสนอแนวทางออกแบบพื้นที่ใช้งานส่วนต่าง ๆ ของโครงการ
- แนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่พุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
- เสนอแนวทางการออกแบบและปรับปรุงพุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 1 พื้นที่ บนกรอบการแนวคิดการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD) โดยให้ความสำคัญกับสุขภาวะของผู้สูงอายุและเยาวชนเป็นสำคัญ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2568 - 31/07/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ตุลชัย  บ่อทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปนวัฒน์  สุทธิกุญชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม) จำนวน 30 คนๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (เจ้าหน้าที่และผู้เข้าอบรม) จำนวน 30 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 3 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 4 คน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 25,600.00 บาท 0.00 บาท 25,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆ ละ 200 บาท 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 : ส่งมอบผลงานแก่ชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการนำไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรม
ออกแบบพื้นที่ของโครงการในกระบวนการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา สถ321 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์ สถ373 คอมพิวเตอร์ขั้นสูงสำหรับงานสถาปัตยกรรม โดยนำเสนอแนวทางการออกแบบและปรับปรุงพุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และส่งมอบผลงานแก่ชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการนำไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ตุลชัย  บ่อทรัพย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปนวัฒน์  สุทธิกุญชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
พุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ต่างกัน กระจายตัวไปตามตำบลต่างๆในอำเภอสันทราย ลักษณะพื้นที่โครงการมีความหลากหลาย ขององค์ประกอบต่างๆเช่น ที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ จำนวนประชาการ สถาปัตยกรรมในโครงการ และสภาพแวดล้อม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนการเดินทางและสร้างเกณฑ์ในการประเมินเพื่อเลือกพื้นที่ในการพัฒนา
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
แนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่พุทธสถาน(วัด) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน โดยบูรณาการในรายวิชา สถ321 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประยุกต์ สถ373 คอมพิวเตอร์ขั้นสูงสำหรับงานสถาปัตยกรรม
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล