22253 : โครงการแนวทางการออกแบบและปรับปรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/10/2567 9:47:55
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  1. บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ให้บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 ตำบล 2.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้นำแม่บ้าน กลุ่มสตรี อสม. ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เทศบาล 3. บุคลากรทางการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม และนักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2568 45,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันธ์ศักดิ์  ภักดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา  ดวงธิมา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์" ด้วยองค์ประกอบหลายด้าน จากทั้งปัจจัยทางการแพทย์ อาหารและโภชนาการ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่รุดหน้าขึ้นจากอดีตเป็นอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันมนุษย์เรา มีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นกว่าสมัยก่อน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของวัยชรา (สสส., 2560) นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ประชากรของประเทศไทยในช่วงปี 2556 – 2573 จากการจำแนกสถิติจำนวนการเกิด อัตราการเกิด และ อัตราการเจริญพันธ์ โดยในอดีตช่วงปี พ.ศ.2506 – 2526 มีจำนวนการเกิดมากกว่า 1 ล้านคน แต่ในปี พ.ศ.2556 มีจำนวนการเกิดเพียงแค่ 800,000 คน และคาดว่าจะลดลงอีก (สำนักบริหารงานทะเบียน กรมการปกครอง, 2560) ซึ่งหมายความว่า วัยทำงานจะลดน้อยลงแต่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ตัวเลขผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปี แต่มีอีกหนึ่งตัวเลขกลับสวนทางกันคือ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ลดลง (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560) ด้วยบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป และสภาพเศรษฐกิจที่แปรเปลี่ยนเป็นกระแสทุนนิยม ทำให้โครงสร้างครอบครัวในปัจจุบัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ให้ความสนใจกับงานและบทบาทในสังคม จนมองข้ามความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความรักและความผูกพันในครอบครัวจึงน้อยลง ส่งผลให้มีผู้สูงอายุมากมายถูกทิ้งไว้ที่บ้านเพียงลำพัง หรือในบางรายถูกส่งไปบ้านพักคนชรา ผู้สูงอายุถูกลดบทบาท ไม่ได้รับความสนใจ และรู้สึกเสมือนเป็นตนเองภาระของสังคม นำไปสู่สาเหตุของอาการเจ็บป่วย ทางด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจ แสดงให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุที่ถูกลดลง ตลอดจนการออกแบบบบ้านพักอาศัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่คำนึงถึงรูปแบบความงามและการอำนวยความสะดวกในสภาวะดำรงค์ชีวิตแบบปกติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการออกแบบปรับปรุงพื้นที่และกิจกรรม ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ให้มีความรู้ ความคิด มีสังคม และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ นำไปสู่การสร้างคุณค่าในตัวผู้สูงอายุให้เกิดแก่สังคม จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสร้างความสุขอย่างยั่งยืนได้ ในบริบทสังคมปัจจุบัน นอกจากปัญหาการถูกทอดทิ้ง ทั้งจากครอบครัว หรือจากสังคมแล้ว ยังพบว่าปัจจุบันผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีอัตราการฆ่าตัวตายเป็น อันดับสองรองจากวัยทำงาน เนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพ โรคร้าย ปัญหาด้านความสัมพันธ์ จากการสูญเสียคนที่รัก และ ปัญหาจากการสูญเสียเป้าหมายในชีวิต ซึ่งปัญหาทั้งหมดมีสาเหตุมาจากการที่ผู้สูงอายุในปัจจุบัน ไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างถูกวิธี รพ.สต.มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพไทย เพราะเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชุมชนที่ชาวบ้านรู้จัก และนิยมใช้บริการมากขึ้น ภารกิจของ รพ.สต. คือ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือระดับปฐมภูมิ (primary care) กับฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงเป็นสถานพยาบาลที่ดูแลประชาชนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เกิด การดำรงชีพ จนตาย ได้แก่ การตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น การฝากครรภ์ การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (การให้วัคซีนเด็ก) การดูแลโภชนาการ งานอนามัยโรงเรียน การคุ้มครองผู้บริโภค การคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆ การบำบัดรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก การดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการอื่นๆ ให้กับชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งฝึกงานที่สำคัญของสถาบันการศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาล คณะพยาบาลของมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน รพ.สต.เป็นสถานพยาบาลขนาดเล็ก บางแห่งอาจมีเจ้าหน้าที่ 1-3 คน โดยต้องให้บริการประชาชนเป็นจำนวนมาก แม้ในปัจจุบันโรงพยาบาลระดับอำเภอจะครอบคลุมทุกอำเภอ แต่ประชาชนในชนบทและรอบปริมณฑลกรุงเทพมหานครก็ยังใช้บริการที่ รพ.สต.จนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และมักเรียกเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานว่า "หมออนามัย" ทั้งที่ไม่มีกฎหมายประกอบวิชาชีพมารองรับการทำงาน (ยกเว้นพยาบาลและแพทย์ที่มาตรวจรักษาเป็นบางวัน) ความไม่ชัดเจนของระเบียบและกฎหมายนี้เองที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา รพ.สต.ให้สามารถบริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ด้านบุคลากร มีจำนวนไม่สัมพันธ์กับผู้รับบริการ (ผู้ป่วย) การกำหนดคุณสมบัติและขอบเขตการทำงานของบุคลากร เช่น นักสาธารณสุขจะปฏิบัติงานได้มากน้อยเพียงใด การสร้างเครือข่ายกับองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) และโรงพยาบาลที่มีความพร้อมจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ จะทำอย่างไรให้เกิดการส่งต่อที่รวดเร็วและมีคุณภาพในการบำบัดรักษา ปัญหาเหล่านี้มีมานาน แต่การแก้ไขยังล่าช้า เช่น พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขผ่านการพิจารณาเมื่อปี 2556 เพื่อยกระดับมาตรฐานของหมออนามัยให้มีสภาวิชาชีพกำกับดูแลด้านมาตรฐาน ก็ยังอยู่ในช่วงเตรียมการ เงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ยังได้รับน้อยเมื่อเทียบกับแพทย์และพยาบาล ทั้งที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชีวิตและสุขภาพของชุมชนอย่างใกล้ชิด การแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนา รพ.สต.ให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ 1.กฎหมายที่รองรับการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะการเมืองการปกครองไทยมีลักษณะเป็นนิติรัฐ กระบวนการบริหารและจัดการต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เช่นเดียวกับนักสาธารณสุข (หมออนามัย) ต้องเร่งผ่าน สภาวิชาชีพสาธารณสุขให้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติงาน และการยอมรับในระบบสุขภาพ 2.การกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการของนักสาธารณสุข ควรได้รับการปรับปรุงให้มากขึ้นอย่างเหมาะสมกับมาตรฐานวิชาชีพ และปริมาณงานที่ให้บริการกับชุมชน อย่างน้อยก็ต้องไม่แตกต่างกับแพทย์และพยาบาลมากนัก 3.ปรับปรุงสถานที่ให้บริการ อุปกรณ์ที่ทันสมัย และยา ให้สามารถจ่ายยาที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อชุมชนจะได้รับบริการสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา 4.การพัฒนาเครือข่ายให้ รพ.สต. มีความเชื่อมโยงการปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เครือข่ายชุมชน ตลอดถึงการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอำเภอและโรงพยาบาลศูนย์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บริการผู้ป่วยได้รับการบำบัดเบื้องต้น จากพัฒนาการของ รพ.สต. แต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพไทยในลักษณะทางเลือกที่ช่วยสนับสนุนการให้บริการของโรงพยาบาลอำเภอ ต่อมามีการปรับปรุงการให้บริการ ทำให้ประชาชนในชุมชนเริ่มมาใช้บริการ รพ.สต.มากขึ้น เพราะมีความคุ้นเคยและใกล้ชิดมากกว่าโรงพยาบาลอำเภอ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา รพ.สต.ให้มีคุณภาพและมีความพร้อมด้านบุคลากร สถานที่และสภาพแวดล้อมจะทำให้ รพ.สต.เป็นหลักของการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยของชุมชน ซึ่งช่วยลดภาระโรงพยาบาลอำเภอและโรงพยาบาลศูนย์ได้อย่างมากที่สำคัญคือการบำบัดรักษาและการดูแลสุขภาพมิให้เกิดการเจ็บป่วย หรือรักษาพยาบาลเสียแต่แรก ย่อมเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต (ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง, 2558) การเตรียมความพร้อมด้านกายภาพเพื่อรองรับกิจกรรมของผู้สูงอายุ และมาตรฐานด้านสุขภาพภายในชุมชน ถูกกระจายสู่ชุมชน ผ่าน ผู้นำชุมชน อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งปัจจุบันได้รับงบประมาณและการพัฒนาในระดับหนึ่ง โครงการนี้จะเป็นการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสภาพแวดล้อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ โดยจะให้ความสำคัญกับมาตรฐาน ความปลอดภัย สุขภาวะ ของผู้สูงอายุและเยาวชน ตามหลักการออกแบบอารยสถาปัตย์ หรือ การออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD) และ น้อมนำพระราชดำริ พระราชทานหลักการ “บวร” ซึ่งหมายถึงการนำสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ตัดสินใจ แก้ปัญหาตนเองและชุมชน กำหนดแผนแม่บทชุมชน ร่วมกันคิด สร้าง และบริหารจัดการชุมชน ของตนในท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างถูกวิธี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้ตนเองมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ให้กับสังคมต่อไปอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน Universal Design (UD) โดยให้ความสำคัญกับสุขภาวะของผู้สูงอายุและเยาวชนเป็นสำคัญ
เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนในพื้นที่อำเภอสันทรายกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยหลักการออกแบบแบบมีส่วนร่วม (Participatory Design) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design)
เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพสู่การเป็น ผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดการพัฒนา ขยายโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมได้ออกแบบบนพื้นที่โครงการจริง เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แนวทางการออกแบบและปรับปรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.045 ล้านบาท 0.045
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผลผลิต / แนวทางการออกแบบหรือปรับปรุง พื้นที่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุดข้อมูล 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แนวทางการออกแบบและปรับปรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 : เก็บข้อมูลพื้นที่ สำรวจ สัมภาษณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำปัญหาและความต้องการและนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อหาแนวทางออกแบบพื้นที่
1.1วางแผนเก็บข้อมูลพื้นที่เบื้องต้นเพื่อทำการสำรวจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย ศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่ด้านกายภาพ เก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 แห่ง (12 ตำบล)
1.2 ลงพื้นที่เพื่อทำการสำรวจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 แห่ง (12 ตำบล) และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสรุป ปัญหาความต้องการและนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อหาแนวทางออกแบบพื้นที่ใช้งานส่วนต่าง ๆ ของโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2567 - 31/05/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา  ดวงธิมา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปนวัฒน์  สุทธิกุญชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติพงศ์  รื่นวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 3 คน ๆ ละ 240 บาท 10 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (ลงพื้นที่เก็บข้อมูล)
จำนวน 10 คน ๆ ละ 200 บาท 10 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27200.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 : อบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี แนวทางการออกแบบและปรับปรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  ภักดี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติพงศ์  รื่นวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ปนวัฒน์  สุทธิกุญชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา  ดวงธิมา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 60 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 800 บาท 2 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ลักษณะพื้นที่โครงการมีความหลากหลาย ขององค์ประกอบต่างๆเช่น ที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ จำนวนประชาการ สถาปัตยกรรมในโครงการ และสภาพแวดล้อม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนการเดินทางและสร้างเกณฑ์ในการประเมินเพื่อเลือกพื้นที่ในการพัฒนา
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
แนวทางการออกแบบและปรับปรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานของคนทุกคน โดยบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา สถ 471 แบบจำลองสารสนเทศอาคารและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับงานสถาปัตยกรรม สถ 432 ธุรกิจทางสถาปัตยกรรม สถ 481 ออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน 1 และ สถ 482 ออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน 2 สถ 461 ผังเมืองเบื้องต้น
ช่วงเวลา : 01/11/2567 - 30/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล