21912 : SAS-67 โครงการถอดบทเรียนจากอดีตและแลกเปลี่ยนประสบการณ์สู่อนาคตของวิทยาลัยบริหารศาสตร์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ภัคสุณีย์ ดวงงา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/12/2567 14:08:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
30/08/2567  ถึง  19/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  45  คน
รายละเอียด  บุคลากรวิทยาลัยบริหารศาสตร์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้วิทยาลัยบริหารศาสตร์ งบพัฒนาบุคลากร 2567 29,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
น.ส. ภัคสุณีย์  ดวงงา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.6 ผลการประกันคุณภาพภายใน
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.6.1 สนับสนุนให้มีการพัฒนา ผลักดันการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในที่เน้นการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์มาตรฐานระดับอาเซียน อย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 64-68 (6) พัฒนาระบบบริหารและการจัดการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ตามแนวทางการบริหารภาครัฐแนวใหม่
เป้าประสงค์ SAS 63-68 (6.1) ยกระดับการบริหารวิทยาลัยบริหารศาสตร์สู่วิทยาลัยชั้นนำ
ตัวชี้วัด SAS 65-68 ผลการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยบริหารศาสตร์
กลยุทธ์ SAS สนับสนุนให้นำระบบการประเมินคุณภาพการศึกษามาเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานของวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง “คุณภาพ คือ หัวใจ”
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิทยาลัยบริหารศาสตร์ (School of Administrative Studies : SAS) ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้จัดตั้งหน่วยงานเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้กำกับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสภามหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2547 มีนโยบายในการทำงานเชิงรุก เพื่อการศึกษา วิจัย มุ่งเน้นการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางบริหารศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการวิจัย การให้บริการวิชาการแก่สังคม ส่งเสริมคุณธรรมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นปัญญาชนนักปฏิบัติ ที่จัดการตนเองได้ดี มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา และมีจิตปรารถนารับใช้สังคม ตลอดจนสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยส่งเสริมการจัดกิจกรรม/โครงการ ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติในการทำงานและคิดวิเคราะห์ รวมถึงสามารถบูรณาการการเรียนรู้และประสบการณ์เข้ากับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ประกอบกับวิทยาลัยมีวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน เช่น การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม เปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการดำเนินงานของวิทยาลัย ใช้การระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และด้วยในปี 2567 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ได้ดำเนินงานมาครบรอบ 20 ปี (2547-2567) จึงเป็นโอกาสอันดีในการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยให้บุคลากรทุกฝ่ายมีบทบาทในการร่วมผลักดันและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมรับฟังเสียงของผู้ก่อตั้งวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก มาให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ เคล็ดลับ เทคนิค เกี่ยวกับการสร้างทีม และการสร้างความผูกพันองค์กร เพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคตแก่บุคลากรของวิทยาลัย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
บุคลากรได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างทีม และการสร้างความผูกพันองค์กร เพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บุคลากรได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างทีม และการสร้างความผูกพันองค์กร เพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของวิทยาลัย
KPI 1 : แนวปฏิบัติ เรื่อง การสร้างทีมสู่ทศวรรษที่ 3 ของ วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฉบับ 1
KPI 2 : แนวปฏิบัติ เรื่อง การสร้างความเข้มแข็งและความผูกพันองค์กร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฉบับ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บุคลากรได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างทีม และการสร้างความผูกพันองค์กร เพื่อให้เป็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของวิทยาลัย
ชื่อกิจกรรม :
รับฟังการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างทีม และการสร้างความผูกพันองค์กรจากวิทยากร และร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/09/2567 - 18/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ภัคสุณีย์  ดวงงา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าของที่ระลึก วิทยากร 2 คนๆละ 1 ชิ้นๆ ละ 1000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน 47 คน (บุคลากร 45 วิทยากร 2 คน) คนละ 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,800.00 บาท 18,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 47 คน (บุคลากร 45 วิทยากร 2 คน) x 1 มื้อๆ ละ 100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,700.00 บาท 4,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าห้องประชุม 1 ห้อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล