21520 : โครงการศึกษาดูงานระดับบัณฑิตศึกษา (หลักสูตรการจัดการและพัฒนาทรัพยากร)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
อาจารย์ ดร.กอบลาภ อารีศรีสม (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/04/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  11  คน
รายละเอียด  อาจารย์,นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา,เจ้าหน้าที่ และผู้สนใจอื่นๆ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ประจำปี 2567 ของหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุน บริหารจัดการทั่วไป แผนงาน การเรียนการสอน งาน สนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2) โครงการศึกษาดูงานระดับบัณฑิตศึกษา (หลักสูตรการจัดการและพัฒนาทรัพยากร) 2567 97,610.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี  อารีศรีสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.4 ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.4.1 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการ พัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริม อัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67 AP 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 67 AP 2.1.4 ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต
กลยุทธ์ 67 AP 2.1.2-5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีสมรรถนะและตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เพื่อรองรับและสามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงาน และตรงต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวชี้วัด 67 AP 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 67 AP 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด ที่เราจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลก แม้ว่ารากของการศึกษาอาจขม แต่ผลของมันนั้นหวานหอมเสมอ เราก้าวเดินไปข้างหน้า เปิดประตูบานใหม่ๆ และทำในสิ่งใหม่ๆ เพราะคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยากรู้อยากเห็น และความอยากรู้อยากเห็นจะนำพาเราไปสู่หนทางใหม่ๆ การเรียนรู้ทฤษฎีในห้องเรียน ในหนังสือ เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ที่สมบูรณ์แบบได้อย่างเต็มที่ การเรียนรู้โดยการได้เห็นจริง ประสบพบเจอจริง ได้สัมผัสเอง ย่อมทำให้การเรียนรู้นั้นสมบูรณ์มากขึ้น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้าง (Aims/Expected outcomes) นักจัดการและพัฒนาทรัพยากรที่มีทักษะในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และเพื่อตนเองในการเป็นผู้ประกอบการบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างยั่งยืน การเป็นนักจัดการและพัฒนาทรัพยากร ที่หมายรวมถึง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรด้านการเกษตร และทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการและขับเคลื่อนบนฐานของการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงคนรุ่นถัดไป (Next generation) จึงถือได้ว่าเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของหลักสูตรฯ นี้ สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555-2569) ในส่วนแผนพัฒนาเชิงรุก (Proactive plan) คือ การเป็นมหาวิทยาลัยอินทรีย์ (Organic University) เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และ เป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-oriented University) และยังช่วยสนับสนุนตัวชี้วัดในแผนการบริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พ.ศ.2563-2566) ในมิติที่ 4 คือการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (Smart and Modern Agricultural Technology Innovation) นอกจากนั้นหลักสูตรฯ ยังตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการ “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ” และสอดคล้องกับแผนพัฒนาตามพันธกิจ (Mission plan) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในทุกประเด็นยุทธศาสตร์ อันได้แก่ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมโดยใช้เกษตรเป็นรากฐานเพื่อมุ่งสู่การยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5: การเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6: การบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ดังนั้น สาขาวิชาการจัดการและพัฒนาทรัพยากร จึงได้จัดทำโครงการศึกษาดูงานระดับบัณฑิตศึกษา (หลักสูตรการจัดการและพัฒนาทรัพยากร) ขึ้น ด้วยต้องการให้มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่เข้ามาศึกษาและจบการศึกษาไป ได้พัฒนาตนเองโดยการนำกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรอันหลากหลายเส้นทาง ไปสู่กระบวนการพัฒนาชีวิต สังคม ชุมชน ประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์ของการพัฒนาอย่างสูงสุด อย่างยั่งยืน มั่นคง ตามหลักปรัชญาของหลักสูตรฯ สืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเล การบริหารจัดการธุรกิจด้านอาหารทะเล และประสบการณ์จากการบริหารจัดการในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการโดยตรง
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับนำกลับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการบริหารจัดการทรัพยากร
เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างประสบการณ์ทางด้านวิชาการของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ และสามารถนำความรู้ด้านการจัดการและพัฒนาทรัพยากรไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
11 คน 11
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการ/กิจกรรม ที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ และสามารถนำความรู้ด้านการจัดการและพัฒนาทรัพยากรไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมศึกษาดูงานระดับบัณฑิตศึกษา ณ จังหวัดกระบี่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 05/05/2567 - 08/05/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ อาจารย์ จำนวน 5 ท่าน ท่านละ 7,500 บาท
รวมเป็นเงิน 37,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักสำหรับอาจารย์ จำนวน 5 คน คนละ 800 บาท/วัน/คน จำนวน 3 คืน
รวมเป็นเงิน 12,000 บาท
รายชื่อ อาจารย์ ดังนี้
1.อ.ดร.กอบลาภ อารีศรีสม
2.ผศ.ดร.ภาวิณี อารีศรีสม
3.อ.ดร.รัชนีวรรณ คำตัน
4.อ.ดร.วันวสา วิโรจนารมย์
5.ดร.นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน (อาจารย์) ค่าเบี้ยเลี้ยงจำนวน 5 คน คนละ 240 บาท จำนวน 4 วัน
รวมเป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 6 คน คนละ 240 บาท จำนวน 4 วัน
รวมเป็นเงิน 5,760 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,760.00 บาท 0.00 บาท 5,760.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักนักศึกษา จำนวน 6 คน จำนวน 3 คืน คนละ 800 บาท/วัน/คน
รวมเป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าของที่ระลึก จำนวน 4 ชิ้น ชิ้นละ 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 2 คัน คันละ 2,000 บาท จำนวน 4 วัน
รวมเป็นเงิน 16,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น (สำหรับเติมรถจ้างเหมา) จำนวน 2 คัน
รวมเป็นเงิน 3,150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 97610.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การศึกษาดูงานต่างจังหวัด มักพบเจอปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการเข้าศึกษาดูงาน ที่ต้องเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
หาช่วงระยะเวลาในการเดินทาง ที่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเข้าศึกษาดูงานสูงเกินไป ให้เหมาะสม พอเพียง คุ้มค่า
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล