21189 : โครงการพัฒนากระบวนการผลิตผักปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี IoT เกษตร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/12/2566 14:39:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรและผู้ที่สนใจการทำเกษตรสมัยใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 6,932.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.1 ความสำเร็จของการบริหารจัดการและพัฒนามหาวิทยาลัยตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.1.1.1 สนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยทุกด้านให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ มีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.6 EN67 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้นทำให้ใส่ใจในการเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัยเป็นหลัก และหันมาบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้มาตรฐาน ตลอดจนมีขั้นตอนการผลิตแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงสินค้าเกษตรที่มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก จึงส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรประเภทผักแบบปลอดภัย (ธนาธร, 2561) ซึ่งเป็นผักที่เติบโตภายใต้สภาวะความเป็นธรรมชาติสูง ไม่มีการใช้สารเคมี และมีการควบคุมปัจจัยในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่กับปัจจุบันการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีความน่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริม หรือ รายได้หลักให้แก่เกษตรกร ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน การปลูกผักแบบปลอดภัยในกระบะโดยใช้ในวัสดุปลูกธรรมชาติเป็นอีกทางเลือกที่มีความน่าสนใจนอกจากสามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีความปลอดภัย เพิ่มความสวยงามให้แก่ฟาร์ม ยังสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมได้โดยการนำเทคโนโลยีระบบการเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Agriculture) และเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) ที่เหมาะสมกับบริบทของฟาร์ม เข้ามาประยุกต์ใช้ อาทิเช่น สถานีตรวจวัดอากาศ (Weather Station) เทคโนโลยี IOT เซ็นต์เซอร์เพื่อการเกษตร เพื่อตรวจวัดปัจจัยการผลิตในฟาร์มและระบบควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกอัตโนมัติ ระบบบันทึกข้อมูลฟาร์มอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจสอบย้อนกลับที่มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำ ระบบการเฝ้าติดตามแปลงตั้งแต่ระบบการเพาะปลูกถึงกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมจัดจำหน่ายผลิตผลออกสู่ท้องตลาดเข้ามาบูรณาการภายในฟาร์ม ครอบคลุมทุกกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูก ถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว รวมถึงการบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งขาย เป็นต้น การปลูกพืชปลอดภัยในวัสดุปลูกแบบแม่นยำด้วยเทคโนโลยี IOT (Internet of Things) Internet of things (IoT) ที่ปัจจุบันเรียกว่า ‘อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง’ ย้อนไปในปี 1999 เทคโนโลยี Internet of things (IoT) ถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton จากโครงการ Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID ที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับ RFID Sensors ต่างๆ ที่จะเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อนี้ กลายมาเป็นแนวคิดของการทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สื่อสารกันได้โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน ปัจจุบัน IoT ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับหลายสิ่งหลายอย่างทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรกรรม เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพโดย ใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด ซึ่งนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า เกษตรอัจฉริยะ หรือสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ซึ่งได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้น สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ เช่น การใช้เซ็นเซอร์วัดข้อมูลต่าง ๆ อย่าง เซ็นเซอร์ตรวจอากาศ (Weather Station) เซ็นเซอร์วัดดิน (Soil Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจวัดผลผลิต (Yield Monitoring Sensor) เป็นต้น เซ็นเซอร์เหล่านี้สามารถนํามาวางเป็นระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Sensor Network) โดยนําไปติดตั้งหรือปล่อยในพื้นที่ฟาร์ม เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2562) การต่อยอดงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระบบอุปกรณ์ IOT สำหรับตรวจวัดระดับน้ำแปลงปลูกพืช พร้อมทั้งอุปกรณ์ส่งข้อมูลไร้สายและอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดการสูบน้ำอัตโนมัติ มีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำในแปลงปลูก อุปกรณ์ส่งสัญญาณ ไมโครคอนโทรลเลอร์ (microcontroller) ชุดอุปกรณ์ชาร์ตแบบเตอร์รี่พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบควบคุมปั้มน้ำอัตโนมัติ โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ จะทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยระบบสามารถแสดงผลค่าปริมาณระดับน้ำในแปลงปลูกและแสดงสถานะของการทำงานของปั้มน้ำผ่านแอปพลิเคชั่น บนหน้าจอ mobile device นอกจากนั้นแล้วยังมีการนำเทคโนโลยี NFC Traking เข้ามาใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลตลอดกระบวนการเพาะปลูก โดยค่าทั้งหมดจะถูกบันทึกเก็บไว้ในศูนย์เก็บรวบรวมข้อมูลกลาง ซึ่งนำไปเป็นฐานข้อมูลสำหรับระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ ที่ผู้บริโภคสามารถทำการตรวจสอบย้อนกลับผ่านคิวอาร์โค้ด (QR Code) เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นและการตัดสินใจซื้อให้แก่ผู้บริโภค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
พัฒนาระบบการปลูกผักแบบปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำด้วยเทคโนโลยี IoT
จัดเก็บข้อมูลกระบวนการเพาะปลูกผักแบบปลอดภัยออนไลน์ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนากระบวนการผลิตผักปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี IoTเกษตร
KPI 1 : องค์ความรู้ระบบการปลูกผักแบบปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำด้วยเทคโนโลยี IoT
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
6932 บาท 6932
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนากระบวนการผลิตผักปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี IoTเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนากระบวนการผลิตผักปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี IoTเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย NFC Tracking system module พร้อมจัดทำรายงานสรุปผล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุการเกษตร ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สารชีวภัณฑ์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 552.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 552.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ A4 ปากกา ดินสอ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,380.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,380.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 6932.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล