21006 : โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมเกษตร IOT เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับการศึกษาโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ (โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักเรียน โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
รองศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร  สืบค้า
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.3.1. EN67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ 10 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2544 ภายใต้โครงการใต้ร่มพระบารมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในศุภมงคลวาระเสด็จพระราชสมภพครบ 100 พรรษา เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้บริการนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา รับทั้งนักเรียนประจำและไป - กลับ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษา ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับ ประกาศนียบัตรชาชีพสาขานักเรียนรมและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และเรียนร่วมในสายสามัญและสายอาชีพ มีนโยบายเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนทางร่างกาย ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและงานอาชีพด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาพอเพียง พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง พัฒนาทักษะงานอาชีพของ โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ได้จัดพื้นที่สำหรับดำเนินกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถ (empowerment) ด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกผักปลอดสารพิษ ผักไฮโดรโปรนิกส์ และพืชผสมผสาน มีการฝึกอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและนำผลผลิตออกจำหน่าย สร้างรายได้จริงมีร้านค้าของโรงเรียนฝึกการจำหน่ายและการตลาด และมีแนวคิดของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่แม่นยำสูง (Precision agriculture) ด้วยเทคโนโลยีและการจัดการผลิตภาคเกษตรตามแนวคิดเกษตรปราดเปรื่อง (smart farm) ที่การจัดการการผลิตตั้งแต่กระบวนการวางแผนการผลิตด้วยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การผลิตที่มีความปลอดภัย และการตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตภาคเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการฟาร์มสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ สามารถเรียนรู้ ปฏิบัติงาน และใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน แต่กิจกรรมดังกล่าวประสบปัญหาการขาดองค์ความรู้เทคโนโลยี IoT ได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบควบคุมฟาร์ม การพัฒนาระบบควบคุมเซ็นเซอร์ และการพัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานและถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชดำเนินเปิดศูนย์การเรียนรู้ Stem Education สำหรับการเกษตรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล นวัตกรรม รวมถึงเก็บข้อมูลการเกษตร การผลิตและการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสม (Smart Farm) ผ่านโครงการสวนเกษตรพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชน เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดทาง กายภาพของคนพิการที่ไม่สามารถทำการเกษตรกรรมได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์การนำองค์ความรู้เทคโนโลยี IoT และนวัตกรรมด้านการทำการเกษตรสมัยใหม่มาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานสำหรับการดำรงชีวิตต่อไปได้ และเชื่อมโยงการจัดการเรียนการสอนแบบ Stem Education ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆเช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science) ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี (Technology) ความรู้ทางด้านวิศวกรรม (Engineering) และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) รวมเข้าด้วยกัน แล้วนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ด้านการเกษตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองโครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการศูนย์การเรียนรู้ Stem Education ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร รวมถึงเก็บข้อมูลการเกษตร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชน เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดทาง กายภาพของคนพิการที่ไม่สามารถทำการเกษตรกรรมได้
สร้างฐานเรียนรู้นวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะให้กับนักเรียนในการศึกษาเรื่อง Smart Farm นำไปสู่การยกระดับสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) จากการบูรณาการร่วมกันทั้งของภาครัฐ และสถาบันการศึกษา/โรงเรียน
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้งานฟาร์มสมัยใหม่ (การทำฟาร์มแบบแม่นยำและการทำฟาร์มอัจฉริยะ) ให้นักเรียนได้พัฒนาเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ ความชำนาญ สามารถพึ่งพาตนเอง ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ และหารายได้ ตลอดจนสามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่อย่างยั่งยืนในอนาคต
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมเกษตร IOT เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับการศึกษาโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ (โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ)
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : องค์ความรู้เทคโนโลยีระบบบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบย้อนกลับทางการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 หลักสูตร 1
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมเกษตร IOT เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับการศึกษาโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ (โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ)
ชื่อกิจกรรม :
หลักสูตรอบรมเรื่อง ระบบบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบย้อนกลับทางการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร  สืบค้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน = 1,800 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน = 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น NFC Cards , field sever/gateway , Module ขยายสัญญาณ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 42,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 42,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 45000.00
ชื่อกิจกรรม :
รวบรวมข้อมูลและประเมินผลการดำเนินโครงการเพื่อวิเคราะห์และสรุปผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร  สืบค้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา แฟ้ม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล