20946 : โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นายกฤษณโชติ ประชาโรจน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/1/2567 9:56:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  250  คน
รายละเอียด  กลุ่มที่1 นักเรียน นักศึกษา เข้าศึกษดูงานและฝึกงาน กลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป เข้าเยี่ยมชมโครงการ จำนวน 200 คน กลุ่มที่2 กลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยเขตอำเภอสันทราย และผู้สนใจทั่วไป และนักเรียน นักศึกษา จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่่ได้รับจัดสรร มีหน่วยนับเป็นบาท 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย กฤษณโชติ  ประชาโรจน์
ดร. สุรชัย  ศาลิรัศ
นาย สถาพร  ฉิมทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ดร. สุรชัย  ศาลิรัศ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ยึดถือแนวทางปฏิบัติทางด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านเกษตรกรรมยั่งยืน หรือเกษตรธรรมชาติ เป็นแนวปฏิบัติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในไร่นาให้เกิดประโยชน์โดยสามารถลดอันตรายจากใช้สารเคมีในไร่นา เช่น การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคแมลงในพืช การปลูกพืชตระกูลถั่วช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน การไถเตรียมดินเพียงครั้งเดียวโดยไม่ไถพรวน ถางแล้วปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและความขึ้น การปลูกตะไคร้หอม เพื่อไล่แมลง การใช้เมล็ดสะเดาบดแล้วแช่น้าในอัตรา ๑ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ใช้รดต้นไม้เพื่อป้องกันหนอนด้วง ผีเสื้อ ตั้กแตน หนอนซอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน แมลง หวีขาว ที่อยู่ในพืชผักจําพวกพริก กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดหัว แครอท ผักบุ้ง โดยการปลูกผักในมุ่งและนอกมุ้ง โดยที่พืชผักจากแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ว่าผักเหล่านั้นจะมีลักษณะเป็นรูจากการถูกหนอน และแมลงกัดกินบ้างก็ตาม สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ถึงแม้ว่าผักเหล่านั้นจะมีลักษณะ เป็นรูจากการถูกหนอน และแมลงกัดกินบ้างก็ตาม ในปัจจุบัน มีการทดสอบวิธีการเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ศูนย์สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดเพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขา หินซ้อนฯ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฯ เป็นต้น คาดว่าในอนาคตวิธีการดังกล่าวจะได้รับการยอมรับในหมู่เกษตรกรและ ผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น(https://www.moac.go.th/king-dev_agri) ผลที่ตามมาก็คือเกษตรกรต้องหันมาพึ่งปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับพืชและป้องกันความเสียหายของพืชจากโรคและแมลง และมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณการใช้ที่มากขึ้นในทุกๆปี โดยเปรียบเทียบจากปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติพบว่า ปี 2551 มีการนำเข้าปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช 3,833,072 และ 109,969 ตัน คิดเป็นมูลค่า 42,666 และ 19,194 ล้านบาท และต่อมาในปี 2556 มีการนำเข้าปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช เพิ่มขึ้นเป็น 5,638,891และ 134,480 ตัน คิดเป็นมูลค่า 72,259 และ19,379 ล้านบาท (www.oae.go.th) ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2557 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการผลิตพืชของไทยในปัจจุบันยังต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ ซึ่งถ้ามองในแง่ของการช่วยให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ก็ถือว่ายังไม่มีสิ่งใดมาตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในจุดนี้ได้ แต่ถ้ามองในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานตลอดจนผู้บริโภคแล้วก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ถึงผลกระทบดังกล่าว แต่ปัญหาอยู่ที่เกษตรกรเองยังมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยการผลิตดังกล่าวประกอบกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่เงินเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ลืมนึกถึงผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว การผลิตไม้ผลเพื่อการค้าในระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช และการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต การส่่งเสริมให้้เกษตรกรอยู่่ดีกินดีและฐานะที่่ดีขึ้น คืืออีีกหนึ่งนโยบายที่่รัฐบาลพลเอกประยุุทธ์์ จัันทร์์โอชา ต้้องการพััฒนาและยกระดับคุุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ด้้วยนโยบายที่่หลากหลายและมาตรการต่างๆ ทำให้เกิดความมั่งคั่งอย่่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาคุุณภาพสินค้าทางการเกษตรให้เป็นที่่ยอมรับในระดับสากล เกิดการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำยุุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตร อินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าปลอดสารพิษ ดำเนินการปรับเปลี่่ยนระบบการผลิตที่่ต้องพึ่่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรููพืช โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดมููลค่าและประโยชน์ สููงสุุดในการสร้างสินค้าการเกษตร ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งมีแหล่งผลิตในประเทศไทยที่สำคัญคือจังหวัดที่อยู่ในเขตภาคเหนือได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยานอกจากนี้ยังมีการปลูกในภาคตะวันออก เช่น อำเภอสอยดาวและโป่งน้ำร้อน จังหวัดนนทบุรี ภาคกลางเช่น จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดเลย หนองคาย และนครพนม ภาคใต้เช่น พัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น มีผลทำให้การแพร่กระจายของลำไยไปยังจังหวัดต่างๆแทบทุกจังหวัด ในปัจจุบันมีเกษตรกรชาวสวนจำนวนมากไม่น้อยประสบปัญหากับภาวการณ์ขาดทุน ทั้งๆที่ต้นลำไยติดผลเต็มต้น ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตที่ได้คุณภาพต่ำประกอบกับต้นทุนการผลิตสูง และสารเคมีตกค้างผลผลิตสูง ปัญหาดังกล่าวมักเกิดขึ้นในปีที่ลำไยออกดอกในฤดูกาลปกติ คือเก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ทำให้การผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ต้องจำหน่ายผลผลิตในราคาต่ำ นอกจากนี้ยังขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ซึ่งปัญหาดังกล่าว ที่เกิดขึ้นสามารถเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร และเป็นแนวทางการผลิตลำไยอินทรีย์ที่มีคุณภาพื ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต เช่น การใช้โดรน การตัดแต่งลำไยทรงเตี้ย การผลิตลำไยคุณภาพด้ายเทคนิคการตัดแต่งผลผลิต การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุนการผลิต มหาวิทยาลัยยังได้ลงนามความร่วมมือกับ GTZ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จัดตั้งหน่วยบริการจัดการสวนลำไย (Farm management) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อปรึกษาและเป็นตัวกลางในการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่สนใจ การปรับปรุงการผลิตลำไยในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้จึงมีการพัฒนาฟาร์มและต้นแบบแปลงสาธิตให้เป็นแหล่งดูงาน รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยในระบบเกษตรอินทรีย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขให้เกษตรกรสามารถผลิตลำไยให้มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ดีต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการผลิตลำไยในระบบเกษตรอินทรีย์
2. เพื่อยกระดับผู้ปลูกลำไยอินทรีย์ ให้มีคุณภาพและยั่งยืน
3. เพื่อสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาการเรียน บูรณาการกับงานบริการวิชาการ
KPI 1 : - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : - ต้นแบบฐานเรียนรู้เทคนิคการผลิตลำไยในระบบเกษตรอินทรีย์ 1 ฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1 1 1 ฐานเรียนรู้ 1
KPI 4 : - ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้รับการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
29150 16850 4000 บาท 50000
KPI 7 : - จำนวนผู้รับบริการ และจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 50 50 คน 200
KPI 8 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาการเรียน บูรณาการกับงานบริการวิชาการ
ชื่อกิจกรรม :
การเตรียมพื้นที่แปลงสาธิต
วิธีดำเนินการ การเตรียมพื้นที่แปลงสาธิต เช่น การกำจัดวัชพืชโดยการตัดหญ้า และถางรอบๆโคนต้น,การจัดเตรียมวัสดุผลิตปุ๋ย,และการวางวัสดุระบบน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษณโชติ  ประชาโรจน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
-ปุ๋ยอินทรีย์มูลค้างคาว 20 กส.ๆละ550บาท/10,000 บาท
-สารชีวภัณฑ์ศัตรูพืช 10 ขวดๆละ450บาท/1,750
-จอบ 5 ด้ามๆละ 350 บาท/2,000
-กรรไกรตัดแต่งกิ่ง 4 ด้ามๆละ450 บาท/1,800
-เลื่อยตัดแต่งกิ่ง 4 ด้าม ด้ามๆละ850บาท/3,400
-ถังน้ำขนาด10 ลิตร 4ใบๆละ 50 บาท/200
วัสดุน้ำมัน และเชื้อเพลิง10,000
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 29,150.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 29,150.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29150.00
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยในระบบเกษตรอินทรีย์ รุ่นที่1 จำนวน 50 คน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษณโชติ  ประชาโรจน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.สุรชัย  ศาลิรัศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 50 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน/6,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)
จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 1มื้อ 1 วัน /1,750 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม (.........หน้า/เล่ม)
จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 70 บาท 1 ครั้ง/รุ่น/3,500 บาท
ค่าจ้างเหมาเช่าโดรนสาธิต ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ 10ไร่ๆ200บาท 1ครั้ง/2,000บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,250.00 บาท 0.00 บาท 13,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย
จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน/2,400บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ
จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน/1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16850.00
ชื่อกิจกรรม :
การสรูปโครงการ
วิธีดำเนินการ จัดเตรียมข้อมูล และติดตามประเมินผล สรูปโครงการตามแบบแผนที่วางไว้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายกฤษณโชติ  ประชาโรจน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ,แม็กเย็บกระดาษ ฯลฯ/2,000
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ/2,000
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1.สภาพภูมิอาการ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่นเกิดฟ้าป่า เกิดพายุลม ฝน และการระบาดของโรคแมลง 2.การประชาสัมพันธ์ อาจไม่ทั่วถึงกลุ่มเกษตรกร 3.ผู้ที่สนใจ เข้ามาศึกษาน้อยเกิดโรคบาดติดต่อ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID19), โรคไข้หวัดใหญ่,ไข้เลือดออก เป็นต้น
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1.จัดทำแนวกันไฟป่า และปลูกไม้กันลม 2.ใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นป้องกันโรค แมลง
2.จัดทำสื่อประ ชาสัมพันธ์ และผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ให้ทั่วถึงกลุ่มเกษตรกร และเข้าติดต่อกลับกลุ่มเกษตรโดยตรง
3.จัดทำจุดคัดกรองที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อป้องกัน และควบคุม ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุง เป็นต้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บก.67 งบ 50,000
บก.67
บก.67 งบ 50,000
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การผลิตไม้ผล
ช่วงเวลา : 01/11/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล