20917 : โครงการการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบองค์รวม เพื่อเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่บ้านสะลวงนอก และบ้านสะลวงใน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/01/2567  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร / วิสาหกิจชุมชน / สถานประกอบการ / ผู้บริโภค และประชาชน ชุมชนนำร่อง ในพื้นที่บ้านสะลวงนอก และบ้านสะลวงใน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2567 2567 330,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ดร. ณิชมน  ธรรมรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 4.1.7 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานวิจัย บริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนแม่บทการวิจัยที่สอดคล้องกับทิศทางมหาวิทยาลัยและของชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทถูกนำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบททั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับการพัฒนาการเกษตรและเกษตรยั่งยืนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยมุ่งเน้นให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเผยแพร่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ซึ่งให้ความสำคัญกับระบบเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้วัสดุเหลือใช้ และมีการกำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยลดพื้นที่ทำการเกษตรและลดต้นทุนการผลิตแต่ให้เน้นการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิต โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการการเกษตร ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงดินและการลดสารพิษตกค้างที่เกิดจากการใช้ของเกษตรกรมาอย่างยาวนาน ซึ่งช่วยฟื้นฟูสภาพดินและระบบทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง และส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาได้อย่างอิสระ เกษตรกรรมยั่งยืนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง การลดการใช้สารเคมีในการผลิตทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับปัจจุบันประเทศไทยได้เน้นความสำคัญของการส่งเสริมให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยในการจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของไทย ได้อ้างอิงข้อกำหนดตามมาตรฐานของ Codex ทั้งหมด ยกเว้นการนับเวลาเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ตามระยะเวลาที่กำหนดในมาตรฐาน จนกระทั่งได้รับการรับรองผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เรียกว่า “ระยะเวลาปรับเปลี่ยน” (Transition period) โดยกำหนดว่า “ข้อกำหนดวิธีผลิตพืชอินทรีย์ให้นำมาใช้ปฏิบัติตลอดระยะการปรับเปลี่ยนเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน ก่อนปลูกสำหรับพืชล้มลุก และ 18 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวผลิตผลอินทรีย์ครั้งแรกสำหรับพืชยืนต้น โดยระยะการปรับเปลี่ยนนับตั้งแต่ผู้ผลิตได้นำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติแล้ว และสมัครขอรับการรับรองต่อหน่วยรับรอง” (มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000 เล่ม 1 - 2552) ในปีงบประมาณ 2560 – 2564 บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตปุ๋ยหมักระยะสั้นด้วยการใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย ด้วยรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกษตรกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน เช่น ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า สภาพการทำการเกษตรส่วนใหญ่ยังพึ่งพาอาศัยสารเคมีทางการเกษตรและเกษตรกรยังทำระบบเกษตรเชิงเดี่ยว เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์ สภาพปัญหาอย่างหนึ่งที่ไม่ผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง เนื่องจากขาดแรงงานในการผลิตปุ๋ยหมัก ขาดองค์ความรู้และทิศทางการยกระดับสู่กระบวนการเกษตรปลอดภัย ขาดข้อมูลการตลาด นั้นค่อนข้างมีอุปสรรคอย่างมาก คณะผู้ดำเนินงานจึงได้จัดเวทีประชาคมขึ้น เพื่อให้เกษตรกร ผู้นำชุมชนและท้องถิ่นใกล้เคียง นำเสนอข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร ได้ข้อสรุปคือ 1) เกษตรกรต้องการฝึกอบรมอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว เช่น การยกระดับการผลิตพืชปลอดภัยด้วยการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในกระบวนการผลิต การแปรรูป/เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร 2) เกษตรกรต้องการสามารถลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เร่งการผลิตปุ๋ยหมักระยะสั้นและเปลี่ยนรูปสารเคมีตกค้างทางการเกษตร 3) เกษตรกรต้องยกระดับระบบการผลิตเกษตรแบบปลอดภัย(GAP) สู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ได้ในอนาคต ชุมชนบ้านสะลวงใน และชุมชนบ้านสะลวงนอก ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตำบลสะลวงมีเนื้อที่โดยประมาณทั้งตำบล 118.389 ตารางกิโลเมตรหรือ 73,993.125 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลห้วยทราย ตำบลแม่แรม ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง และตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาและภูเขามีลักษณะเป็นที่ราบสลับกับเนินเขาและภูเขามีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก สภาพดินโดยทั่วไปจะมี ลักษณะเป็นดินร่วนร้อยละ 65 ความอุดมสมบูรณ์ไม่แน่นอน ค่า pH 4.5 – 5.5 ซึ่งเหมาะแก่การปลูกพืชไร่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ไม้ผล และอีกร้อยละ 35 เป็นดิน ภูเขามีความลาดชันไม่เหมาะกับการเกษตร ชุมชนบ้านสะลวงใน และชุมชนบ้านสะลวงนอก ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรรวม 835 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวม 1,740 คน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ปลูกถั่วเหลือง พืชผัก ไม้ผล) รับจ้างทั่วไป และหัตถกรรม ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ประชากรในชุมชนได้รวมตัวกันผลิตข้าวอินทรีย์ และส่งขายให้กับบริษัท สุขขะเฮ้าส์ จำกัด (ประเทศไทย) เพื่อส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ และกลุ่มสหกรณ์ภายในประเทศ และได้มีการส่งเสริมให้นำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแขนงต่าง ๆ เข้ามาใช้ในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา และส่งเสริมให้เกิดการผลิตที่ดี และผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพเทียบเท่ากับที่มีการจำหน่ายในท้องตลาด โดยเฉพาะการนำเอาจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุทางการเกษตร ซึ่งเป็นผลงานของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ามาใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้งจากการเพาะปลูกข้าว และพืชผลในชุมชน โดยเริ่มมีการยกระดับสู่การจำหน่ายภายนอกชุมชน ทั้งนี้ประชากรในพื้นที่ชุมชนบ้านสะลวงใน และชุมชนบ้านสะลวงนอก ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการรวมตัวจัดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่หลากหลาย จำนวน 8 วิสาหกิจ เพื่อยกระดับการทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชนสู่เชิงพาณิชย์ ได้แก่ 1.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษ ต.สะลวง 2.วิสาหกิจชุมชนเศรษฐีเรือทองเกษตรอินทรีย์ 3.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาทำสวนสะลวงใน 4.วิสาหกิจชุมชนไพรพฤกษาเกษตรอินทรีย์ 5.วิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านสะลวงนอก 6.วิสาหกิจชุมชนสะลวงในเมล็ดพันธุ์ 7.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรทำสวนสะลวง 8.วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและผลิตโกโก้แม่ริม โดยชุมชนและวิสาหกิจในชุมชนยังคงมีความต้องการในนำระบบการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ในการยกระดับการเพาะปลูกของชุมชนในพืชอื่นนอกเหนือจากข้าว ได้แก่ ถั่วเหลือง ลำไย การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น อีกทั้งยังมีความต้องการองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การจำหน่ายในรูปแบบการตลาดออนไลน์ การจัดทำสินค้าคงคลัง การนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการพัฒนาชุมชน เป็นต้น เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้ดำเนินงานเล็งเห็นความจำเป็นในการที่จะจัดทำโครงการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำองค์ความรู้ต่อยอด พัฒนาหลักการของการจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชนในการพัฒนาระบบเกษตรปลอดภัยด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างฐานความรู้ พื้นที่สาธิตในชุมชน การใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างระบบเกษตรอย่างยั่งยืน มั่นคงและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของประชากรในพื้นที่บ้านสะลวงนอก และบ้านสะลวงใน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในโครงการนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากผลงานวิจัยของบุคลากรภายในคณะไปใช้ประโยชน์เป็นองค์ความรู้ที่ได้เกิดขึ้นจากจากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่นซึ่งมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 7 องค์ความรู้ ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma spp. ร่วมกับแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในการช่วยเร่งการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ 2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารพิษตกค้างกลุ่มไกลโฟเสทในพื้นที่ทำการเกษตร 3. การผลิตปุ๋ยหมักตามหลักองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชนบท สวทช.ภาคเหนือ 4. การใช้ระบบการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) และระบบ iOT มาใช้ในการติดตามและดูแลพืชในแปลงปลูก 5. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและการจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 6. การตลาดออนไลน์ และแอพพลิเคชั่นสนับสนุนการจำหน่ายผลผลิตของชุมชน 7. การคำนวนต้นทุนการผลิตและจัดทำระบบสินค้าคงคลัง ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างฐานการเรียนรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ในระดับหมู่บ้านต้นแบบ โดยการมีส่วนร่วมของประชากรในพื้นที่บ้านสะลวงนอก และบ้านสะลวงใน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยด้านการเกษตรที่เหมาะสม เช่น การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรการเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งการนำของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สู่ภาคเกษตรกรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน
2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ยกระดับระบบการผลิตเกษตรสู่ระบบเกษตรปลอดภัย (GAP) และเกษตรอินทรีย์ ตามหลักการสากล โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน
3. เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ด้านการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ในระดับหมู่บ้านต้นแบบ โดยการมีส่วนร่วมของประชากรเกษตรกรในเขตพื้นที่บ้านสะลวงนอก และบ้านสะลวงใน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
4. เพื่อเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐ และชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่
KPI 1 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่งเรียนรู้ 1
KPI 2 : ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 3 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 70 ร้อยละ 70
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1314 0.171 0.0276 ล้านบาท 0.33
KPI 5 : จำนวนกิจกรรมการอบรมเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ครั้ง 3
KPI 6 : ชุมชนที่นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ไปขยายผลสู่การปฏิบัติและกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
KPI 7 : จำนวนหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 หน่วยงาน 2
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน/กิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 9 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 70 ร้อยละ 70
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 20 20 ร้อยละ 100
KPI 11 : โครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่บ้านสะลวงนอกและบ้านสะลวงใน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
1. สำรวจพื้นที่และจัดเตรียมข้อมูล
2. การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทาง เจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 720 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 720.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 720.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรไปขยายผลสู่การปฏิบัติ
1. จัดเตรียมอุปกรณ์
2. จัดกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
2.1. การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
2.2. การใช้เกษตรอัจฉริยะ
2.3. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 3 ครั้ง เป็นเงิน 13,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,500.00 บาท 0.00 บาท 13,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ โปสเตอร์พร้อมขาตั้ง ขนาด A1 จำนวน 3 ชุดๆ ละ 10,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการฝึกอบรม คู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ขนาด A5 จำนวน 3 เรื่อง ๆ ละ 30 เล่มๆ ละ 50 บาท
เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 3 คน 3 ครั้ง เป็นเงิน 21,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 21,600.00 บาท 0.00 บาท 21,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 6 คน 3 ครั้ง เป็นเงิน 16,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในวงเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถัง 100 ลิตร ปั้มเติมอากาศ ถังน้ำ สายยาง แกลลอนบรรจุหัวเชื้อ บัวรดน้ำ ในวงเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมี อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เครื่องแก้ว อุปกรณ์สิ้นเปลืองในห้องปฎิบัติการ ฯลฯ ในวงเงิน 40,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กพ่วง เต้ารับ เต้าเสียบ ในวงเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุม แผงวงจร หมึกพิมพ์ USB card ในวงเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 183800.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลกระทบและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการนำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปขยายผลสู่การปฏิบัติ ในด้านต่าง ๆ
3.1 ติดตามผลของการดำเนินงานของเกษตรกรในการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมีและอุปกรณ์ สำหรับการวิเคราะห์แร่ธาตุและโลหะหนักในวงเงิน 25,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ USB drive ในวงเงิน 2,350 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,350.00 บาท 2,350.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในวงเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์/ทดสอบ ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ ในวงเงิน 67,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 67,500.00 บาท 67,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 96850.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการการวางแผนการตลาดและช่องทางการขายในเชิงพาณิชย์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน
1. จัดเตรียมอุปกรณ์
2. จัดกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การวางแผนการตลาดและช่องทางการขายในเชิงพาณิชย์”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์/โปสเตอร์พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุดๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการฝึกอบรม คู่มือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ขนาด A5 จำนวน 1 เรื่อง ๆ ละ 30 เล่มๆ ละ 50 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2.5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 6 คน 1 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในวงเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26400.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
1. จัดเตรียมอุปกรณ์
2. จัดกิจกรรมถอดบทเรียนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
3. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2567 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 7 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในวงเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น USB card ในวงเงิน 730 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 730.00 บาท 730.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น รางปลูกพืช ถ้วยปลูก ฯลฯ ในวงเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือเผยแพร่องค์ความรู้ ขนาด A5 จำนวน 1 เรื่อง ๆ ละ 100 เล่มๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 36630.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในรายวิชาชว 460 การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย จำนวน 25 คน
ช่วงเวลา : 01/01/2567 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล