20910 : โครงการ “บวร” รักษ์โลกสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
น.ส.สุทธิพร ฟังเย็น (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/12/2566 10:06:39
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน วัด และโรงเรียนในพื้นที่เทศบาลและพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ (สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร) 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์  ธาราฉาย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรี  เหมสันต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2(64-68)-FAED การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.5(64-68)-FAED67 การพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินงาน และการให้บริการวิชาการอย่างมืออาชีพ
ตัวชี้วัด 2.3.1FAED67 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.1(64-68) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอกอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ FAED-2.5.3(64-68) ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยในสาขาที่คณะมีความพร้อม
กลยุทธ์ FAED-2.5.2(64-68) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานด้านบริการวิชาการของคณะ
ตัวชี้วัด 2.3.2FAED67 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-2.5.4(64-68) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการกับหน่วยงานภายในและชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-2.5.5(64-68) จัดทำฐานข้อมูลที่สนับสนุนการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการบริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-2.5.6(64-68) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตามบริบท อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริการวิชาการ การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-2.5.7(64-68) เพิ่มปริมาณการยื่นข้อเสนอโครงการ โดยประชาสัมพันธ์การเปิดรับข้อเสนอจากแหล่งทุนต่าง ๆ และประสานการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มโอกาสการยื่นข้อเสนอโครงการ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอภายในมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์และการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและระดับภูมิภาค พบว่าในปี พ.ศ. 2563 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิในยุคอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2393-2443) ประมาณ 1.2+0.1 องศาเซลเซียส ทำให้พื้นที่น้ำแข็งในทะเลอาร์คติกลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุด ประกอบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีความเข้มข้นสูงขึ้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติรุนแรงขึ้น รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านอื่น เช่น การเกิดคลื่นความร้อน ภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า เป็นต้น ขณะเดียวกันช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ถึงแม้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง แต่การใช้วัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขยะและขยะติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีทิศทางการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) การดำเนินงานตามอนุสัญญาและข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายใน ค.ศ. 2065 (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม, 2564) ซึ่งบทบาทของประเทศไทยในห้วงการประชุม COP26 ได้แสดงเจตจำนงของกระเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategies : LT-LEDS) ของประเทศไทย รวมถึงประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลกที่สามารถดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกรอบมาตรการในการดำเนินงานที่ชัดเจน จังหวัดเชียงใหม่มีสถานการณ์ด้านมลพิษ คุณภาพอากาศ ใน พ.ศ. 2563 ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่น่ากังวล มีมลพิษในอากาศเพิ่มขึ้น ถึงแม้จะลดลงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีการใช้รถและการสัญจรลดลง แต่ก็จะมีสถานการณ์ฝุ่นมลพิษกลับมาเช่นเดิมเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมและเศรษฐกิจในภาวะปกติ รวมทั้งการเผาในที่โล่ง จากงานวิจัยโดย TNC หรือ The Natture Conservancy รายงานว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองมีประโยชน์หลายๆด้าน นอกจากการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ความชื้นในบรรยากาศแล้ว ยังช่วยดูดซับฝุ่นที่กำลังเป็นปัญหาในเมืองใหญ่ๆได้ ซึ่งหากมีพื้นที่สีเขียวมากพอ ก็สามารถลดปริมาณฝุ่นได้เฉลี่ยร้อยละ 7 – 24 และยังทำให้อากาศที่เราหายใจสะอาดขึ้นอีกด้วย โดยฝุ่นละอองจะลอยไปติดอยู่บนผิวใบไม้และเมื่อมีฝนตกลงมา ฝุ่นที่ติดอยู่บนผิวใบก็จะถูกชะล้างลงดิน งานวิจัยดังกล่าวศึกษาจากตัวอย่างในเมือง 245 เมืองทั่วโลก โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวกับวิธีการอื่นๆในการแก้ปัญหามลพิษ ต้นไม้ใหญ่เป็นชนิดต้นไม้ที่เหมาะจะเป็นตัวช่วยให้อากาศดีขึ้น ดังนั้นการพยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวและหาแนวทางการอนุรักษ์ ดูแลต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่แล้วให้มีสุขภาพที่ดีย่อมจะช่วยให้เมืองมีสุขภาพดีตามไปด้วย การดำเนินงานเพื่อนำวิชาการไปเผยแพร่และผู้รับบริการ หน่วยงาน หรือชุมชนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สามารถเกิดขึ้นได้โดยอาศัยหลักการตามแนวพระราชดำริและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งได้พระราชทานแก่ทั้งหน่วยงานราชการ องค์กร ภาครัฐ หรือแม้แต่ระดับชุมชนชาวบ้าน เพื่อให้น้อมนำไปปฏิบัติ ในส่วนที่โครงการนี้นำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานมีความสอดคล้องกับเรื่องของการปลูกฝัง ปลุกจิตสำนึกให้รักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่พระราชทานเรื่อง การปลูกต้นไม้ในใจคน “...ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำ ทุ่งจ๊อ จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2519 อีกทั้งยังพระราชทาน แนวคิดการบริหารจัดการ “บวร” ซึ่งเป็นพระราชดำรัสเกี่ยวกับการบริหารจัดการ บวร ทฤษฎีใหม่ ได้แก่ บ้าน (ชาวบ้าน) วัด (พระ) และราชการหรือหรืออันหมายถึงโรงเรียนด้วย ซึ่งจะต้องดำเนินงานประสานการพัฒนาร่วมกัน ควบคู่ไปกับการบริหาร และจัดการทรัพยากรให้เหมาะสม เพื่อให้ผลของการพัฒนาบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2524 (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร., (https://www.rdpb.go.th/UploadNew/Documents/DevelopmentProjects.pdf) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพยากรพันธุกรรม และมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พระราชทาน ภายใต้การดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรม อันได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ กรอบการสร้างจิตสำนึก ซึ่งในกิจกรรมที่ 7 ของกรอบการสร้างจิตสำนึกมีแนวทางการดำเนินงานด้าน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นนวัต กรรมของการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทยนำไปสู่การพัฒนาคนให้เข้มแข็งรู้เท่าทันพร้อมรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริ เรื่องการปลูกต้นไม้และจัดการพื้นที่สีเขียวไว้ว่า “...ให้รักษาสภาพแวดล้อม โดยรอบบริเวณนี้ ห้ามตัดไม้ใหญ่ เพื่อการอนุรักษ์สมบัติของประชาชน รวมทั้งควรส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ทุเรียน ให้มากขึ้น” และ “การดำเนินการโครงการสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้พิจารณาปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงาให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นที่ว่างควรปลูกต้นไม้แทรกลงไปเพื่อให้ได้ร่มเงา และเพื่อความสวยงามของพื้นที่ ...” พระราชทานเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2551 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตำบลทรงคะนอง (สำนักงานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้, http://old.forest.go.th/orip/index.php?option=com_content&view=article&id=447)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้วิชาการด้านภูมิทัศน์ที่สามารถนำมาแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้การบริหารจัดการสานสัมพันธ์ชุมชน ตามแนวพระราชดำริ “บวร” โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มุ่งเน้นการพัฒนาตามระบบโครงสร้างทางสังคม บ้าน วัด โรงเรียน
เพื่อสร้างความตระหนัก รับรู้และเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียว พืชพรรณที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์บ้าน วัดและโรงเรียน ที่สอดคล้องกับพระราชดำริ “ปลูกต้นไม้ลงในใจคน” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และและภูมิทัศน์โรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การฝึกอบรมการเสริมสร้างภูมิทัศน์บ้าน วัด และโรงเรียน
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ด้านภูมิทัศน์ พื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 7 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การฝึกอบรมการเสริมสร้างภูมิทัศน์บ้าน วัด และโรงเรียน
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมการเสริมสร้างภูมิทัศน์บ้าน วัดและโรงเรียน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรี  เหมสันต์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุระพงษ์  เตชะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธวัชชัย  มานิตย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์พรทิพย์  จันทร์ราช (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการฝึกอบรม
จำนวน 40 เล่มๆ ละ 70 บาท (1 ครั้ง/รุ่น) เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง
จำนวน 4 คัน ๆ ละ 1,000 บาท 1 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
- บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 600 บาท
- บรรยาย จำนวน 1.5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 900 บาท
- ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 3 คน 2 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,900.00 บาท 0.00 บาท 6,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน
จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท 2 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
เช่น กระดาษ ปากกา ไม้บรรทัด คลิปหนีบกระดาษ ถ่านไฟฉาย แปรงหรือพู่กัน กระเป๋าเอกสาร ค่าถ่ายสำเนาเอกสาร ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ย ดินปลูก กระถาง กระบะ ถุงเพาะ กรรไกรตัดกิ่ง ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ศักยภาพพืชพรรณ พื้นที่สีเขียวในงานภูมิทัศน์
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
1. การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรล้านนาที่มีศักยภาพเป็นพืชประดับ 2. การศึกษาศักยภาพของวัดในเขตเทศบาลตำบลของอำเภอโดยรอบอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อวางแผนพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน
ช่วงเวลา : 01/12/2566 - 30/09/2567
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล