20884 : โครงการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช “อควาโปนิกส์” เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไปที่สนใจความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช “อควาโปนิกส์” เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์  เทียมเมือง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-67-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดีต่อสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารที่ปลอดภัยหรือที่ผลิตด้วยระบบการเลี้ยงที่ดีหรือโดยเฉพาะระบบอินทรีย์จึงมีความต้องการมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งปลาจัดเป็นอาหารโปรตีนที่มีราคาไม่แพง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำส่วนใหญ่จะมีการเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นสูงเพื่อที่ให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น แต่ก็มักจะประสบกับปัญหาเรื่องของคุณภาพน้ำ หากการจัดการไม่ดีพอ จึงได้มีการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยได้มีการนำแนวคิดที่จัดการให้ของเสียที่เกิดจากสัตว์น้ำมาปรับใช้ภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคนิคหรือนวัตกรรมการจัดการการเลี้ยงนี้สามารถช่วยให้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาวและเป็นระบบการเพาะเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามระบบการเลี้ยงแบบนี้น้ำที่ใช้ในบ่อเลี้ยงยังคงต้องมีการถ่ายเทออกจากระบบและมีการเติมน้ำใหม่เข้าสู่บ่อเลี้ยงบ้างเพื่อควบคุมให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีคุณภาพเหมาะสมตลอดระยะเวลาการเลี้ยง โดยน้ำที่ออกจากระบบการเลี้ยงซึ่งจะมีสารอินทรีย์อยู่มาก จะมีการนำไปใช้ประโยชน์และเป็นการทำให้น้ำทิ้งดังกล่าวปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบอควาโปนิก (Aquaponics) ซึ่งเป็นการผสมผสานระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) เข้าไว้ด้วยกัน เป็นอีกวิธีการหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การใช้พืชในการบำบัดสารอินทรีย์โดยเฉพาะไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสีย โดยอาศัยหลักที่ว่าน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำอุดมไปด้วยธาตุอาหาร ได้แก่ สารประกอบไนโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนียหรือไนเตรท เป็นสารอาหารหลักสำหรับพืช พืชจะดูดซึมสารเหล่านี้ไปใช้ในการเจริญเติบโต และทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอที่จะถูกนำกลับมาใช้ในบ่อเลี้ยงได้ ดังนั้นการเผยแพร่แนวทางการเลี้ยงปลาร่วมกับการบำบัดน้ำด้วยการนำไปใช้ปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) จึงเป็นรูปแบบใหม่สำหรับการเลี้ยงปลาที่ให้ผลผลิตสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจในการเลี้ยงปลาในระบบที่ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและได้ผลผลิตพืชร่วมด้วย ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มุ่งเน้นทางด้านการเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารโดยเฉพาะอาหารอินทรีย์ (Organic Food) สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช
เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกร ผู้สนใจนำความรู้ไปใช้เพื่อเป็นการประกอบอาชีพคำนึงถึงคุณภาพผลผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช “อควาโปนิกส์” เพื่อเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.033 0.017 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 25 คน 50
KPI 6 : เครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช “อควาโปนิกส์” เพื่อเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ชื่อกิจกรรม :
1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่สนใจ
2.ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนกำหนดกิจกรรมและรายละเอียดต่าง ๆ ของกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์สูงสุด
3.จัดทำเอกสารคู่มือเพื่อใช้ในกิจกรรม และทำการประชาสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรม ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วม
4.ดำเนินกิจกรรมตามที่วางแผนไว้
5.สรุปผลการจัดโครงการและรายงานผลการทำกิจกรรม
6.นำเสนอผลการทำกิจกรรม (รูปเล่มรายงาน/การแสดงผลงาน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 7 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 คน 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 300.00 บาท 300.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท 5 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา สมุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นซีดี external hardisk
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น อาหารปลา เมล็ดผัก พลาสติกโรงเรือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 3,800.00 บาท 0.00 บาท 13,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กะละมัง กล่องพลาสติก ถาดพลาสติก
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,400.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่สามารถติดต่อประสานงานกับพื้นที่ได้
จำนวนเกษตรกร หรือ ผู้สนใจน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เร่งดำเนินการตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ
เพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล