20882 : โครงการการผลิตปลานิลอินทรีย์ระบบไบโอฟลอคเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/11/2566 14:18:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักวิชาการ ผู้ประกอบการและนักศึกษาที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิสรา  กิจเจริญ
นาง ณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-67-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้นและมีแนวโน้มต้องการอาหารที่ปลอดภัยผลิตด้วยระบบการเลี้ยงที่ดี (GAP) หรือระบบอินทรีย์ ดังนั้นอาหารเพื่อสุขภาพจึงมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ในปัจจุบันมีความต้องการบริโภคปลาน้ำจืดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ การเพาะเลี้ยงปลานิลในปี 2564 ที่ผ่านมามีเนื้อที่ในการผลิตปลานิลมากขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายและส่งเสริมการเลี้ยงให้กับเกษตรกร แต่ผลิตผลปลานิลกลับลดลง เนื่องจากช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2564 ผลผลิตปลานิลได้รับความเสียหายจากผลกระทบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง จึงส่งผลให้ภาพรวมของผลผลิตปลานิลลดลง ในปี 2565 นั้นคาดว่าปริมาณผลผลิตปลานิลจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอประกอบกับภาครัฐมีนโยบายและมาตรการสนับสนุนการเลี้ยงปลานิลภายใต้โครงการต่างๆ นอกจากนี้ราคาปลานิลปรับตัวสูงขึ้นช่วงปลายปี จึงเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต (เกวลิน, 2564) อย่างไรก็ตามการผลิตปลาดังกล่าวในประเทศไทยยังเป็นการผลิตจากบ่อดิน เนื้อปลามีการสะสมของกลิ่นไม่พึงประสงค์ (off-flavor) หรือกลิ่นสาบโคลน และเป็นปัญหาด้านคุณภาพการส่งออก ปัจจุบันปลานิลมีการเลี้ยงในระบบที่หนาแน่นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่มักจะประสบกับปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ จึงมีการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยนำเทคโนโลยีไบโอฟลอคเข้ามาใช้ โดยใช้จุลินทรีย์จากฟลอคในการบำบัดของเสีย โดยการเลี้ยงดังกล่าวอยู่ภายใต้การเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศปี พ.ศ. 2560 -2564 รัฐได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหารที่ครอบคลุมประเด็นการผลิตสินค้าเกษตร อาหารและความต้องการในการบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยการเร่งพัฒนาและขับเคลื่อนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร มีหลักประกันความมั่นคงด้านอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ในการเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ มีจำเป็นต้องมีลูกพันธุ์ที่ดีโดยไม่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม ไม่มีการใช้ฮอร์โมนแปลงเพศ ตลอดจนไม่ใช้ยาและสารเคมีในระบบการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการผลิตปลานิลอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยประกอบกับเลี้ยงในระบบไบโอฟลอคจึงทำให้ปลามีคุณภาพเนื้อที่ดีเหมาะสำหรับเป็นอาหารสุขภาพและสามารถสร้างแบรนด์และยกระดับผลิตภัณฑ์ได้ต่อไปได้ การเพิ่มมูลค่าให้แก่สัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารสุขภาพนั้น สามารถทำได้โดยการเสริมกรดไขมันโอเมก้า-3 เข้าไปในอาหารในระบบไบโอฟลอคเพื่อให้เป็นแหล่งอาหารเสริมเพิ่มคุณค่ากับปลานิล กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fatty acids) ที่มีความสำคัญสำหรับกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ docosahexaenoic acid (DHA 22:6, n=3) ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาสมองของทารก ทั้งยังมีความสำคัญสำหรับป้องกันความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการหมุนเวียนเลือด ระบบประสาท การอักเสบ รวมทั้งยังควบคุมการทำงานของสมองและการมองเห็นให้เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ ที่เป็นอันตราย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แต่ร่างกายมนุษย์ไม่มีเอนไซม์สำหรับสังเคราะห์ DHA จึงจำเป็นต้องได้รับจากการบริโภคอาหารและจากการที่ DHA มีความสำคัญอย่างมากในทางการแพทย์และด้านโภชนาการ จึงทำให้ความต้องการไขมันและน้ำมันที่มีกรดไขมันดังกล่าวเป็นองค์ประกอบมีเพิ่มมากขึ้น (Qiu, 2003) การพัฒนาเนื้อปลานิลที่เลี้ยงในระบบไบโอฟลอคเพื่อให้มีคุณค่า (คุณภาพ) สูง โดยวิธีการในการเพิ่มมูลค่าให้แก่สัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารสุขภาพนั้น สามารถทำได้โดยการเสริมแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 เข้าไปในอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานิลในระบบไบโอฟลอค เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารเสริมเพิ่มคุณค่ากับปลานิล รวมทั้งควบคุมคุณภาพเนื้อปลาไม่ให้มีกลิ่นสาบโคลน ในขณะที่ระบบไบโอฟลอคยังเป็นเทคนิคในการจัดการของเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทำให้เกิดตะกอนจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์กลุ่ม heterotrophic โปรโตซัว แพลงก์ตอน และสารอินทรีย์) ในระบบเพิ่มมากขึ้นจนสามารถเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำที่มีคุณค่าอุดมด้วยโอเมก้า-3 จุลินทรีย์ในไบโอฟลอคก็จะเป็นตัวที่คอยควบคุมคุณภาพนํ้าภายในบ่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในสภาวะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อย ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพดีตามไปด้วยและสามารถยกระดับยกระดับผลผลิตปลานิลจากระบบไบโอฟลอคเข้าสู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้ผลิตปลานิลในระบบไบโอฟลอคสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้ต่อไปในอนาคต การเลี้ยงปลานิลในระบบไบโอฟลอค เป็นระบบที่สามารถเลี้ยงปลานิลได้ในพื้นที่จำกัด โดยระบบจะมีการบำบัดน้ำโดยใช้ตะกอนจุลินทรีย์ ทำให้ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เป็นระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ปลามีสุขภาพดี จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมีใดๆ ในการเลี้ยง ทำให้ได้ผลผลิตปลานิลที่ดีไม่มีกลิ่นสาบโคลน อีกทั้งยังลดต้นทุนการเลี้ยงในด้านอาหารและสามารถเลี้ยงได้หนาแน่นในพื้นที่จำกัด สามารถเลี้ยปลาเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการการเลี้ยงปลา เช่น เทคโนโลยีที่ช่วยลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในการเลี้ยงปลา และหมุนเวียนน้ำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกผัก เพื่อประกอบอาชีพเกษตกรรมได้อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน นำผลผลิตจากการเกษตรมาจำหน่ายในตลาดชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค
เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน
เพื่อสร้างฟาร์มต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และยังเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการที่มีชีวิตของนักศึกษาในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์
เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค ซึ่งเป็นแนวทางในการการลดความเสี่ยง เพิ่มมูลค่า และลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ให้เกิดการพัฒนาด้านการเพะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค
KPI 1 : แนวทางเลือกในการประกอบอาชีพเสริมแก่ผู้ที่สนใจทั้งเกษตรกร ประชาชน นักเรียน นักศึกษา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 อาชีพ 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ฟาร์มต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและยังเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการที่มีชีวิตของนักศึกษาในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 แห่ง 1
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.028 0.022 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม (ผู้เข้าร่วมอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปลานิลอินทรีย์ในระบบไบโอฟลอค
ชื่อกิจกรรม :
1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายและประชาสัมพันธ์
2. ติดต่อประสานงาน
3. จัดทำเอกสารและคู่มือจัดฝึกอบรม เรื่อง การผลิตปลานิลอินทรีย์ระบบไบโอฟลอคเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน และ การศึกษาเรียนรู้ในฟาร์มต้นแบบ ไบโอฟิช ฟาร์ม จ.เชียงใหม่
4. สรุปผลการจัดทำโครงการ
5. จัดทำรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 26/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสรา  กิจเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางณัฏฐกานต์  มุกดาจตุรพักตร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 คน ๆ ละ 100 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารและเข้าเล่ม และจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด A4 (100 หน้า) จำนวน 100 เล่มๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 1,200 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ)ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษ 80 แกรม A4 จำนวน 10 รีม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,150.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,150.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ แฟ้มใสแบบกระดุม จำนวน 50 ชิ้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ ปากกาน้ำเงิน (กล่องละ 50 แท่ง) จำนวน 3 กล่อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน ได้แก่ คลีบหนีบดำ เบอร์ 110 จำนวน 15 กล่อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
450.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หมึกพิมพ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร ได้แก่ หัวเชื้อแบคทีเรีย Bio-floc ขนาด 500 ml จำนวน 10 ซอง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร ได้แก่ รำละเอียด กระสอบ 50 กิโลกรัม จำนวน 2 กระสอบ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 500.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร ได้แก่ กากน้ำตาล แกลอนละ 20 กิโลกรัม จำนวน 6 แกลลอน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การแพร่ระบาดของไวรัส/โรคระบาดที่อาจทำให้ไม่สามารถจัดอบรมเชิงปฏิบัติการได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
หากมีการระบาดหนัก อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบการบรรยายเป็นลักษณะออนไลน์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล