20881 : โครงการการบริหารจัดการสุขภาพสัตว์น้ำและการลงพื้นที่สำรวจธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม ในเขตพื้นที่ดำเนินโครงการ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชนกันต์  จิตมนัส
น.ส. น้ำเพชร  ประกอบศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-67-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถสร้างรายได้หลักและรายได้เสริมให้กับประชาชนทั่วไป เป็นทางเลือกหนึ่งของการสร้างกิจกรรมสำหรับสังคมสูงอายุ ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และบัณฑิตจบใหม่ อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงสัตว์น้ำหลายรายมักประสบปัญหาในการเลี้ยงปลา เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาคุณภาพน้ำ ปัญหาการเลี้ยงที่มีต้นทุนการผลิตสูง มีปลาตายอย่างต่อเนื่อง ปลาตายหมดบ่อเนื่องจากการขาดออกซิเจน การใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง ผู้เลี้ยงปลาจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อวางแผนป้องกันไม่ให้ปลาเกิดโรค เนื่องจากหากปลาเป็นโรคแล้วโอกาสที่จะรักษาทำได้ยากมาก รวมทั้งการจัดการการเลี้ยงแบบองค์รวมเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการ 9101 ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และโครงการไทยเข็มแข็ง อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ ยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดปัญหาโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง จึงมีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการดื้อยา เกิดสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์กบและสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องหาทางเลือกเพื่อลดการใช้ยาและสารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้นการที่จะประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จะต้องมีการจัดการเลี้ยงและการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำที่ดี อันได้แก่ การเตรียมบ่อที่ดี มีการทำความสะอาดบ่อและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ การใช้ลูกพันธุ์ที่แข็งแรงมาเลี้ยงในความหนาแน่นที่เหมาะสม การจัดการคุณภาพน้ำที่ดี การจัดการปลาที่เป็นโรค เพื่อลดโอกาสความเสี่ยงในการเกิดโรคและแพร่ระบาดของโรคสัตว์น้ำ ไม่ใช้ยาและสารเคมีต้องห้าม การให้อาหารที่ดีมีคุณภาพสูง ทำให้สัตว์น้ำโตไว ได้ผลผลิตสูงคุณภาพดี ไม่มียาปฏิชีวนะตกค้างและสร้างกำไรสูงแก่ผู้เลี้ยง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อันที่จะนำไปสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบยั่งยืน ดังนั้นการลงพื้นที่พร้อมกับนักศึกษาและบุคลากรของคณะเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเตรียมบ่อ ลักษณะและขนาดพันธุ์ปลาที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในพื้นที่ การอนุบาลลูกปลาก่อนปล่อยเลี้ยง ตลอดจนการจัดการระหว่างการเลี้ยง การให้อาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ การป้องกัน รักษาโรค การใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีในทิศทางที่เหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะสามารถทำให้เกษตรกรนำความรู้ไปจัดการการเลี้ยงได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดผลผลิตในระดับที่เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มจากการเลี้ยงปลาหรือเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้ประชาชนมีการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้เลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ และมีความปลอดภัย เพื่อที่จะทำให้ผลผลิตปลาสูงขึ้น ตลอดจนสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการเกษตร และเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี กิจกรรมนี้เป็นการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาโรคสัตว์น้ำ และวิชาส่งเสริมทางการประมง งานวิจัยเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ การส่งเสริมทางการประมง และการบริการวิชาการสู่ชุมชนเข้าด้วยกัน กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและได้รับตอบรับอย่างดีจากเกษตรกร รวมทั้งเกษตรกรมีความต้องการให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้จะมุ่งเน้นไปที่ต้นทุนผลตอบแทนและการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนโรงเรียนในอำเภอเมืองและโรงเรียนพานวิทยาคมตระหนักถึงผลเสียหรือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลต่อสัตว์น้ำและสัตว์ที่อาศัยในลุ่มน้ำหรือแหล่งน้ำ เพื่อที่จะบริหารจัดการอาชีพนี้ให้ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เข้าใจแนวทางการจัดการกับสัตว์น้ำ โดยตระหนักถึงการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี เพื่อลดความเสี่ยงและสร้างความเป็นมิตรให้กับสิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นการลงพื้นที่สำรวจ และการพบปะกับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงปลานิล มีการเก็บบันทึกข้อมูลด้านโรคอย่างต่อเนื่อง อันเป็นแนวทางในการนำไปสู่การรวมกลุ่มเป็นชมรมหรือสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาอย่างยั่งยืน
เพื่อให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการของนักศึกษา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในสภาพความเป็นจริง การนำความรู้ในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการเลี้ยงและจัดการสุขภาพสัตว์น้ำจืด อันเป็นแนวทางการลดต้นทุน เพิ่มกำไรผลผลิต และลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ให้เกิดการพัฒนาด้านการประมงที่ยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้สนใจมีความรู้ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ การเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเพื่อลดการใช้ยาและสารเคมี มีรายได้ที่สูงขึ้น
KPI 1 : สนับสนุนงานด้านการเรียนการสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ และการลดใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 5 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ได้แหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : ร้อยละการลดลงของต้นทุนผันแปรการผลิตรวม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 10 : ได้เครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 11 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำและผู้สนใจมีความรู้ด้านการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ การเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเพื่อลดการใช้ยาและสารเคมี มีรายได้ที่สูงขึ้น
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1. การลงพื้นที่สำรวจเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ 2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
กิจกรรมที่ 3. การบริหารจัดการสุขภาพสัตว์น้ำเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/10/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์  จิตมนัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท จำนวน 3 วัน 2 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางลงพื้นที่สำรวจและเก็บตัวอย่าง (จำนวน 3 วันๆ ละ 240 บาท จำนวน 2 คน 2 ครั้ง) เป็นเงิน 2,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,880.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,880.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
 ค่าที่พัก จำนวน 2 คืน ๆละ 800 บาท จำนวน 2 คน จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท 6 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ค่าชุดน้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ อาหารเลี้ยงเชื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,520.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,520.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 33000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 4. ฝึกอบรม เรื่อง การจัดการสุขภาพและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/04/2567 - 28/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนกันต์  จิตมนัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 20 คนๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 20 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท 16 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น กระจกสไลด์และแผ่นปิดสไลด์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ระยะเวลาอาจจะไม่เหมาะสม
อาจจะไม่เจอปัญหาเรื่องโรค งบประมาณและเวลาผู้ปฏิบัติงานมีจำกัด
จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนระยะเวลาเร่งดำเนินกิจกรรมแต่เนิ่น ๆ
ปรับแผนการทำงานให้เหมาะสม
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่เหมาะสม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล