20880 : ฐานเรียนรู้การผลิตปลาน้ำจืดเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมการเลี้ยงในระบบปิดน้ำหมุนเวียนสมัยใหม่ (Smart Recirculation Aquaculture System, SRAS)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/10/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการ บริษัทและบุคคลทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 2567 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุดมลักษณ์  สมพงษ์
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-67-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-67-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(1) ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น
กลยุทธ์ FT-67-2.3.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(2) จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(3) จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-67-2.3.1.(4) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-67-2.3.2 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการและให้ความสำคัญกับการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีความปลอดภัยมีมากขึ้น จะเห็นว่าความต้องการสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัยในการบริโภคก็มีสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการผลิตสัตว์น้ำจากระบบเพาะเลี้ยงที่ดีที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง จึงเป็นแนวทางที่จะตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ เทคนิคการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ที่จำกัด (Land-Base Aquaculture) ร่วมกับการควบคุมคุณภาพน้ำด้วยระบบหมุนเวียน (Recirculation Aquaculture System) ภายใต้โดมความร้อน (Green House) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ลดการใช้น้ำในการผลิต (Smart aquaculture) เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิดที่มีการหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพดีแล้วกลับมาใช้ใหม่ ข้อดีคือ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ตลอดการเลี้ยง สัตว์น้ำที่เลี้ยงจึงมีความแข็งแรง มีอัตรารอดสูงและมีการเจริญเติบโตที่ดี ทำให้ได้ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการเลี้ยงในบ่อดินหรือกระชัง และสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนด้วยเชื้อก่อโรคต่าง ๆ ลดปริมาณน้ำในการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยน้ำทิ้ง จึงนับว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิดมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายในประเทศ ข้อดีอื่น ๆของระบบนี้คือ ระบบการเพาะเลี้ยงแบบปิดนี้พัฒนาขึ้น เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และสามารถติดตั้งระบบการเพาะเลี้ยงนี้ที่ใดก็ได้ภายในประเทศไทย ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องภูมิประเทศ ส่งผลทำให้คุณภาพและปริมาณสินค้า (ปลา) ที่ได้มีความคงที่ ทำให้เกิดรายได้และอาชีพของเกษตรกรเพาะเลี้ยงที่มั่นคงและยั่งยืน ปลากดหลวง เป็นปลาหนังที่นิยมบริโภค มีราคาสูง ทำให้เกษตรกรสนใจการเลี้ยงปลาชนิดนี้แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคปลากดหลวงมีความต้องการเพิ่มขึ้น ปัจจุบันกรมประมงได้ผลิตลูกพันธุ์ ประมาณ 500,000 ตัวต่อปี การเลี้ยงส่วนใหญ่เลี้ยงในบ่อดินและกระชัง อัตราการปล่อยในบ่อดิน ประมาณ 800–1,000 ตัวต่อไร่ ปัจจุบันเกษตรกรหาแนวทางการเลี้ยงปลากดหลวงในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียนที่เร่งการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตมีคุณภาพ (โกมุท และ ปรีชา, 2536) จุดเด่นของการเลี้ยงปลากดหลวงในระบบ คือ ช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงและเพิ่มคุณภาพเนื้อปลา การเลี้ยงในระบบ RAS จะช่วยลดความเสี่ยงจากระยะเวลาที่เลี้ยงนาน และปลาที่ผลิตได้มีการปนเปื้อนกลิ่นสาบโคลนน้อยมาก อีกทั้งปลากดจากธรรมชาติมีปริมาณลดลง จึงทำให้เริ่มมีการเลี้ยงปลากดหลวงเชิงพาณิชย์เกิดขึ้น ปัจจุบันเกษตรกรหาแนวทางการเลี้ยงปลากดหลวงในบ่อ ซีเมนต์ และผลผลิตมีคุณภาพ มีการสร้างกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในการต่อยอดเป็นเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน การนำองค์ความรู้ด้านการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ นอกจากนี้น้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลาในระบบปิดดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งสารอาหารในการปลูกพืชในระบบระบบอควาโปนิกส์ (Aquaponics)ได้ โดยมีการควบคุมปัจจัยการปลูกและสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสม จะเห็นว่าแนวการคิดนี้เป็นรูปแบบที่มีการใช้ต้นทุนทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการสร้างระบบการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชผัก จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถเผยแพร่ไปยังเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชนหรือบริษัทที่มีความพร้อมได้ เนื่องจากการลงทุนไม่สูงมากและเทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ และปฏิบัติได้จริง ดังนั้นการเผยแพร่และถ่ายทอดนวัตกรรมการเลี้ยงปลาระบบเลี้ยงในน้ำจืดในระบบปิด ที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ประมงเกรดพรีเมี่ยมระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชผัก จึงสามารถเกิดประโยชน์ต่อหลายภาคส่วนเช่นเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการสร้างอาชีพและการจ้างงานในชุมชน และผู้บริโภคมีอาหารปลอดภัยที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า มีศูนย์การเรียนรู้เพื่อรับข่าวสาร ชุมชนมีความเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ เกษตรอินทรีย์ เน้นด้านความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตปลากดหลวงในน้ำจืดภายใต้นวัตกรรมการเลี้ยงในระบบปิดร่วมกับการควบคุมคุณภาพน้ำด้วยระบบหมุนเวียน (Recirculation Aquaculture System) และระบบการเลี้ยงปลากะพงขาวเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชผัก (Aquaponics)
เพื่อเป็นช่องทางส่งเสริมการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจในระบบปิด เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน
เพื่อเป็นแหล่งศึกษาอบรมและฝึกงานให้กับเกษตรกร นักศึกษา และนักวิชาการ
เพื่อเป็นเวทีที่อาจารย์และนักศึกษาจะช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์สู่เกษตรกร
เพื่อบูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน ในระดับบัณฑิตศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืดในระบบปิด
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.019 0.014 0.017 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 200 คน 400
KPI 6 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในน้ำจืดในระบบปิด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 ฐานเรียนรู้การผลิตปลาน้ำจืดเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมการเลี้ยงในระบบปิดน้ำหมุนเวียนสมัยใหม่
1. ประชาสัมพันธ์
2. จัดเตรียมฐานเรียนรู้ฯ
3. จัดแผ่นพับองค์ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษณ์  สมพงษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น อาหารปลาสำเร็จรูป รำละเอียด ปลาป่น พลาสติกโรงเรือน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
16,850.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร เทปกาว ปากกาลูกลื่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,900.00 บาท 1,900.00 บาท 0.00 บาท 3,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถาดพลาสติกแบน มีด กะละมังพลาสติก
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
2,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การฝึกอบรม
1. ประชาสัมพันธ์
2. ติดต่อประสานงาน
3. จัดฝึกอบรม
4. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 30/09/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษณ์  สมพงษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน 2 รุ่น ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 7,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,850.00 บาท 3,850.00 บาท 0.00 บาท 7,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน 2 รุ่นๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 6,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,300.00 บาท 3,300.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 2 วันๆ ละ 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 วันๆ ละ 4 ชม.ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,400.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนเกษตรกร และผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการอาจมีน้อย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่เหมาะสม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล