20785 : การศึกษารวบรวมลายไส้หมูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สู่การรับรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/11/2566 11:06:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2566  ถึง  30/09/2567
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และห้องสมุดในสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ ทั้งในภาครัฐและเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงาน บริการวิชาการแก่สังคม
งาน บริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุน บริการวิชาการ
งบ เงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2567
2567 200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปกรณ์  เครือระยา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 67-70 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA67 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA67-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ตัวชี้วัด LA67 จำนวนโครงการที่มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ LA67 ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
เป้าประสงค์ LA67 -2.6 แสวงหางบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด LA67-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA67-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA67 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA67-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ตัวชี้วัด LA67 จำนวนโครงการที่มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ LA67 ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
เป้าประสงค์ LA67 -2.6 แสวงหางบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด LA67-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA67-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันหลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มากขึ้น ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มคำนึงถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554) และมีความชัดเจนขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมด้านทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเป็นเลิศในการต่อยอดแนวคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีการค้าโลก ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านกระทรวงสำคัญ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประกวด 10 เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านโครงการสำคัญ เช่น Creative Lanna กระทรวงวัฒนธรรมผลักดันให้ 3 เมืองสำคัญของประเทศไทย คือ ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์กรยูเนสโก(UNESCO) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไว้ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2560-2579) เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ซึ่งงานศึกษาชิ้นนี้อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมต่อยอดแนวคิดสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมและงานศิลปกรรมที่มีคุณค่า มีความหลากหลายในด้านรูปแบบและยุคสมัย โดยงานศิลปกรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูป สัตภัณฑ์ ธรรมาสน์ อาสนะ รวมไปถึงส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ภายในวัด งานศิลปะเหล่านี้ล้วนมีร่องรอยของลวดลายปรากฏ สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันโดดเด่นล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ของชุมชนนั้นๆ ซึ่งควรจะดำรงอยู่ ต่อไปเพื่อเติมเต็มคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น พร้อมทั้งถ่ายทอดและมีการสืบทอดงานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นด้านงานศิลปหัตถกรรม เป็นความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นทุนทาง วัฒนธรรมที่ล้ำค่า อาทิ งานหัตถกรรม เช่น ผ้าทอ จักสาน แกะสลัก ฯลฯ รวมถึงงานฝีมือ งานศิลปะและศิลปินพื้นบ้านที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นในรูปแบบของหัตถกรรมหลากหลาย เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพด้านต่างๆ ของจังหวัดลำปางที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์จากวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อพูดถึงลวดลายที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของเมืองลำปางแล้ว บ่อยครั้งที่เราจะนึกถึงลวดลายหม้อดอกบูรณฆฏะที่วิหารจามเทวี อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ลายต้นศรีมหาโพธิ์ วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการนำลวดลายเหล่านี้ไปใช้กันในหลากหลายพื้นที่ จนคำว่าเอกลักษณ์ของลวดลายในพื้นที่หายไป แต่จากการศึกษาเบื่อต้นพบลวดลายหนึ่งที่สามารถพบโดยทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง คือลายไส้หมู ถือว่าลายดังกล่าวพบได้เฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยาเท่านั้น ตามวัดและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่สำคัญๆ ลายไส้หมูนี้ ที่ผ่านมายังไม่ได้รับการรวมรวมศึกษาโครงสร้างและรูปแบบ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำลายดังกล่าวไปใช้ จนผู้เสนอเห็นสมควรในการหยิบยกลวดลายไส้หมูดังกล่าวมาเผยแพร่ให้เป็นที่กว้าวขวาง ซึ่งลายดังกล่าวเป็นลายที่มีความน่าสนใจอย่างนิ่งในการนำมาพัฒนาและออกแบบลวดลายในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดลำปาง ดังนั้นการเสนอขอทุนอุดหนุนวิจัยจึงเห็นความสำคัญของลวดลายดังกล่าว ที่จะสามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาไปสู่การสร้างสรรค์สินค้าและเพิ่มมูลค่างานอุตสาหกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคมอันรวมถึงการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายการค้นคว้าและงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและสังคม ที่ต้องการข้อมูลลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของเมือง เพื่อนำไปสื่อความหมายของลวดลายประจำจังหวัดลำปาง ทั้งนี้ข้อมูลลวดลายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของกลุ่มผู้ประกอบการจังหวัดลำปาง เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนนักศึกษา หน่วยงานราชการ ที่จะสามารถนำรูปแบบลายอันเป็นอัตลักษณ์นำเสนอตัวตน เพื่อความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศึกษาประวัติ สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลลวดลายไส้หมูของจังหวัดลำปางและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อใช้เป็นฐานคลังข้อมูลมรดกทางภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของนครลำปาง
เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยนำเสนอรูปแบบลวดลายไส้หมูที่ปรากฏในจังหวัดลำปางและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้เรื่อง ลายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
KPI 1 : นิทรรศการ "เมฆไหล ไส้หมู"
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 นิทรรศการ 1
KPI 2 : หนังสือ "เมฆไหล ไส้หมู ลายอัตลักษณ์นครลำปาง" เพื่อการเผยแพร่งานวิชาการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 เล่ม 500
KPI 3 : องค์ความรู้เรื่อง การศึกษารวบรวมลายไส้หมูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สู่การรับรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้เรื่อง ลายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษารวบรวมลายไส้หมูอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง สู่การรับรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- เก็บข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัย และเก็บข้อมูลภาคสนาม ในพื้นที่หลักคือจังหวัดลำปาง และอีก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดตาก ที่เป็นในพื้นที่ที่มีลวดลายไส้หมูปรากฏ
- เรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานสรุปผลการศึกษา
- เผยแพร่ผลงานวิจัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2566 - 31/08/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก/ค่าพาหนะ) (4,500 บาท x 6 จังหวัด)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
7,000.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำรายงานวิจัยความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ สำหรับส่งมอบให้หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยและจัดกิจกรรม (300 บาท x20 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์หนังสือพร้อมเข้าเล่ม สำหรับแจกจ่ายถึงองค์กรทางด้านวัฒนธรรม หน่วยงานมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุด และหอสมุด ทั่วประเทศ (280 บาท x 500 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 173000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำนิทรรศการ "เมฆไหล ไส้หมู" จัดแสดงนิทรรศการ ณ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-จัดนิทรรศการ
-เสวนา
-เปิดตัวหนังสือ "เมฆไหล ไส้หมู ลายอัตลักษณ์นครลำปาง"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2567 - 30/06/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำบอร์ดนิทรรศการ (ุุ6 ชิ้น x 2,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมเสวนาและเจ้าหน้าที่ จำนวน 80 คน ๆ ละ 35 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าบำรุงสถานที่/ค่าเช่าสถานที่ ละ 5,000 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร(บุคลากรของรัฐ) เสวนาวิชาการ จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ข้อเสนอโครงการลายไส้หมู
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล