20654 : โครงการ การยกระดับการแปรรูปผลผลิตเกษตรสำหรับผู้ประกอบการ สู่การเป็น Smart Processor
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
03/01/2567  ถึง  31/01/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  450  คน
รายละเอียด  เกษตรกร และผู้ประกอบการ เข้าร่วมฝึกอบรมยกระดับ Smart Processor
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 1,068,670.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. จตุรภัทร  วาฤทธิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2567 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 67-70 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO)
เป้าประสงค์ 67-70 MJU 1.3 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างคุณค่าทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม(Intelligent Agriculture)
ตัวชี้วัด 67-70 MJU 1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านเกษตรอัจฉริยะ (Intelligent Agriculture)
กลยุทธ์ 67-70 MJU 1.3.1.3 พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมด้านเกษตรอัจฉริยะเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ใช้ประโยชน์
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2567] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ มีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 3.1.6 EN67 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การยกระดับผู้ประกอบการอาหารสู่การเป็น Smart Processor นั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ การมุ่งสู่อุตสาหกรรม New S-curve นี้ จะต้องตอบโจทย์การพัฒนาการแปรรูปผลผลิตเกษตรให้มีมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็น Smart Processor ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา คณะวิจัยโดย จตุรภัทร และคณะ ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญในการยืดอายุผลผลิตเกษตรและแปรรูปผักผลไม้ ได้แก่ เทคโนโลยีการยืดอายุผักผลไม้ด้วยแก๊สโอโซน และ เทคโนโลยีการอบแห้ง ที่สามารถควบคุมและเชื่อมต่อระบบเก็บข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต IOT (ดูรูปที่ 1) โครงการนี้ เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการยืดอายุผลผลิตเกษตรให้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการ ด้วยเทคโนโลยีโอโซน และ การอบแห้ง โดยจะเน้นการพัฒนาการยืดอายุลำไยผลเดี่ยว เพื่อตอบสนองตลาดบนสร้างความแตกต่างจากตลาดลำไยทั่วไปที่เน้นความปลอดภัยด้านอาหาร ไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง นอกจากนี้ ยังมีถ่ายทอดเทคโนโลยีการอบแห้ง ด้วยการอบแห้งแบบลมร้อน และการอบแห้งหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรแปรรูป นำไปสู่การเป็น Smart Processor สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร โดยการฝึกอบรมยกระดับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่ Smart Processor
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร และผู้ประกอบการ เข้าร่วมฝึกอบรมยกระดับ Smart Processor จำนวน 450 คน
KPI 1 : ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการเพิ่มความรู้ เตรียมยกระดับผู้ประกอบการเป็น Smart Food Processor ในระดับ ดี
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ต้นแบบผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เดี่ยว และผลิตภัณฑ์อบแห้ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 3 ผลิตภัณฑ์ 6
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม (450 คน) ไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 50 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร และผู้ประกอบการ เข้าร่วมฝึกอบรมยกระดับ Smart Processor จำนวน 450 คน
ชื่อกิจกรรม :
1. พัฒนากระบวนการและต้นแบบผลิตภัณฑ์ (ลำไยผลเดี่ยว หรือผลไม้ตัดแต่งพร้อมรับประทานบรรจุกล่อง และผลิตภัณฑ์เกษตรอบแห้ง) ที่เหมาะสม เพื่อเตรียมพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/01/2567 - 31/07/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร  วาฤทธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการและต้นแบบผลิตภัณฑ์ (ลำไยผลเดี่ยว หรือผลไม้ตัดแต่งพร้อมรับประทานบรรจุกล่อง) จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 75,000 บาท (รวมค่าวัสดุ)

- ค่าจ้างเหมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการและต้นแบบผลิตภัณฑ์เกษตรอบแห้ง จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ละ 75,000 บาท (รวมค่าวัสดุ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 225,000.00 บาท 225,000.00 บาท 0.00 บาท 450,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 450000.00
ชื่อกิจกรรม :
2. จัดอบรมพัฒนายกระดับ Smart Processor : เทคโนโลยียืดอายุผักผลไม้ด้วยโอโซน จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 50 คน รวม 150 คน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2567 - 31/10/2567
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร  วาฤทธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ สำหรับวิทยากร (ค่าที่พัก และค่าพาหนะ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 5,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากร คณะทำงานและผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร คณะทำงานและผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา จำนวน 60 ชุด ๆ ละ 50 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ (ป้ายไวนิลจัดงานฝึกอบรม, ป้ายโรลอัพแสดงผลงานผลิตภัณฑ์)
- ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อ Website ประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 งาน ๆ ละ 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 78,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 78,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ ภาคปฏิบัติการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 5,200.00 บาท 0.00 บาท 25,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุการเกษตร (ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ ฯลฯ)
2. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (แก๊ส เครื่องวัดแก๊ส ถุงมือยาง ฯลฯ)
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (เมนบอร์ด เมมโมรี่ชิป แผงวงจร ฯลฯ)
4. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ
5. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (ตะกร้าพลาสติก กล่องพลาสติก เขียง ฯลฯ)
6. วัสดุสำนักงาน
7. ค่าสาธารณูปโภค (ค่าดวงตราไปรษณียากร ค่าบริการไปรษณีย์ ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 100,000.00 บาท 49,800.00 บาท 0.00 บาท 149,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 253200.00
ชื่อกิจกรรม :
3. จัดอบรมพัฒนายกระดับ Smart Processor : เทคโนโลยียืดอาหารด้วยการอบแห้งระดับชุมชน จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 100 คน รวม 300 คน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/09/2567 - 31/01/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร  วาฤทธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ สำหรับวิทยากร (ค่าที่พัก และค่าพาหนะ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 5,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากร คณะทำงานและผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 110 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 120 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร คณะทำงานและผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 110 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท
- ค่าจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา จำนวน 110 ชุด ๆ ละ 50 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ (ป้ายไวนิลจัดงานฝึกอบรม, ป้ายโรลอัพแสดงผลงานผลิตภัณฑ์)
- ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ประเมินผล และวิเคราะห์ทางสถิติ จำนวน 10,000 บาท 6 ครั้ง
- ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน (รายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยผลเดี่ยวหรือผลไม้ตัดแต่งพร้อมรับประทานบรรจุกล่อง, รายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอบแห้ง และรายงานสรุปโครงการ) จำนวน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 59,200.00 บาท 0.00 บาท 179,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ ภาคบรรยาย จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ ภาคปฏิบัติการ จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 10 คน ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,200.00 บาท 18,000.00 บาท 34,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุการเกษตร (ลำไย สับปะรด มะม่วง ฯลฯ สำหรับการฝึกอบรม)
2. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (สารเคมี เครื่องวัดความร้อน ถุงมือกันความร้อน ฯลฯ)
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ตลับผงหมึก เม้าส์ ฯลฯ)
4. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ
5. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (ถุงพลาสติก ไม้กวาด มีด ฯลฯ)
6. ค่าสาธารณูปโภค (ค่าดวงตราไปรษณียากร ค่าบริการไปรษณีย์ ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 32,070.00 บาท 0.00 บาท 152,070.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 365470.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
งบประมาณอนุมัติช้า เกิน ไตรมาส1 ทำให้โครงการต้องกันเงินเหลื่อมปีงบประมาณ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เจ้าหน้าที่การเงินและงานแผนระดับคณะต้องให้ความสำคัญในการดำเนินงานของโครงการ โดยอำนวยความสะดวกให้ทันเวลางบประมาณ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล