19433 : โครงการนำนักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ประจำปี 2566
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา พันธุ์มณี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/3/2566 14:11:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/03/2566  ถึง  30/03/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  41  คน
รายละเอียด   อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จำนวน 2 คน นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 39 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ผู้รับผิดชอบโครงการและนักศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบ 2566 40,000.00
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษา กองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย (มิติที่ 2)) 2566 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิตา  พันธุ์มณี
อาจารย์ ดร. พิมพิมล  แก้วมณี
รองศาสตราจารย์ ดร. นิศาชล  ลีรัตนากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนตรี  สิงหะวาระ
อาจารย์ ดร. เกวลิน  สมบูรณ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.13 ทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-1 ขยายฐานบัณฑิต ผลิตบัณฑิตที่เป็นนักคิดวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และสามารถเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-1.8 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-1.8.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวต่างๆตามสถานที่ที่ไปศึกษาดูงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับตนเอง โดยผสานองค์ความรู้ที่ได้จากการทัศนศึกษาดูงานนั้น ให้เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาโดยมีสถานที่ที่จะไปศึกษาดูงานคือ 1) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย และประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในช่วงต่างๆ ที่ประเทศเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองตลอดจนข้อคิดและบทเรียนจากบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศให้สามารถวิวัฒน์และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน และ 2) สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และประสบการณ์จากแหล่งความรู้จริงที่ใช้ประกอบการศึกษาของหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาเพื่อตัดสินใจเลือกสถานที่สหกิจศึกษาในอนาคตได้ นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังตอบสนองต่อนโยบายของทางมหาวิทยาลัยอีกด้วย โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นในวันที่ 27-30 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดชลบุรี

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานประกอบการที่เกียวข้องทางด้านเศรษฐศาสตร์
เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการเรียนและชีวิตประจำวัน
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนไปสหกิจศึกษา
เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 แก่นักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
KPI 1 : นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการเรียนและชีวิตประจำวัน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 2 : นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐศาสตร์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 3 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (39 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาดูงานนอกสถานที่ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ชื่อกิจกรรม :
นำนักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ศึกษาดูงานนอกสถานที่
ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/03/2566 - 30/03/2566

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/03/2566 - 30/03/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา  พันธุ์มณี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิมพิมล  แก้วมณี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 4 วันๆ ละ 3,000 บาท รวม 5 คัน เป็นเงิน 60,000 บาท ทั้งนี้ ขอเบิกค่าจ้างเหมารถตู้ เพียง 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) ผู้รับผิดชอบโครงการและนักศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบ และขอถัวจ่ายค่าใช้จ่ายทุกรายการและจำนวนคนโดยเบิกจ่ายตามเกณฑ์ที่ระเบียบกำหนด ซึ่งไม่เกินวงเงินที่กำหนด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 60000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีมาตรการและแจ้งเตือนให้นักศึกษาสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล