16034 : โครงการแม่โจ้สามัคคี ปั่นพาอาจารย์บุญศรีกลับบ้าน(ปั่นปาอาจ๋านปิกบ้าน)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
นายวิทชัย สุขเพราะนา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/10/2563 11:16:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  300  คน
รายละเอียด  ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่าแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินเหลือจ่าย 2563 249,900.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย วิทชัย  สุขเพราะนา
น.ส. อรญาพัชร์  พิทักษ์วัฒนชัย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ  ดุษฎี
นาง สมพร  แรกชำนาญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 5.การเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 5.1 การดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 63 MJU 5.1.1 ร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดในแผนทำนุบำรุงบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 61-64MJU 5.1.2 ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ การดำรงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเกษตร
ตัวชี้วัด 1 ร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดในแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 1.ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ด้วย ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นผู้อุทิศตนบริหารงานสถานศึกษาแม่โจ้ด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูงในการพัฒนาจากโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาคือสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๒๖) เป็นผู้รจนาวลีอมตะ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” แก่ลูกแม่โจ้ทั่วฟ้าเมืองไทยที่สำเร็จการศึกษาออกไปรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพมีชื่อเสียงให้สังคมชื่นชมศรัทธาตลอดมากว่า 85 ปี อีกทั้งท่านได้รับการยกย่องในฐานะเป็นปูชนียบุคคลต่อจากคุณพระช่วงเกษตรศิลปการผู้ก่อตั้งแม่โจ้ บิดาแห่งการเกษตรไทย ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นครูและผู้บริหารผู้บุกเบิกแนวทางการบริหารที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ยังเป็นผู้วางรากฐานด้านการเกษตรของแม่โจ้ จึงเกิดการพัฒนาปรับปรุงบริเวณบ้านพักหลังเดิมให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเกษตรไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาด้านการเกษตรและรวบรวมวิวัฒนาการการพัฒนามหาวิทยาลัย แม่โจ้จากอดีตสู่ปัจจุบัน จนกลายเป็นแหล่ง้รียนรู้ด้านการเกษตรชั้นนำตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ 100 ปี ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำรูปปั้นรูปเหมือน ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย เพื่อเป็นการระลึกถึงบูรพาจารย์ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้ายและสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างประติมากรรมรูปปั้นครึ่งตัว ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ซึ่งจะประดิษฐานไว้บริเวณอาคารพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย(บ้านพักอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการและอธิการบดี) ซึ่งเป็นบ้านที่ท่านพักอาศัยจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดโครงการแม่โจ้สามัคคี ปั่นพาอาจารย์บุญศรีกลับบ้าน(ปั่นปาอาจ๋านปิกบ้าน) ครั้งนี้ จะเป็นการแสดงถึงความรัก ความสามัคคี อดทนมุ่งมั่นของศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้ร่วมกันฉลองรูปปั้นรูปเหมือน ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย และได้นำรูปปั้นจากโรงหล่อกรุงเทพมหานคร เดินทางประชาสัมพันธ์กิจการมหาวิทยาลัยตามจังหวัดต่างๆ เพื่อมาประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทยให้สำเร็จเรียบร้อยต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างสถาบันกับศิษย์เก่า
2. เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้เป็นที่รู้จักต่อบุคคลทั่วไป
3. เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่าแม่โจ้ ได้แสดงออกถึงความเคารพต่อบูรพคณาจารย์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้
4. เพื่อประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตรไทย ในการเป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการแม่โจ้สามัคคี ปั่นพาอาจารย์บุญศรีกลับบ้าน(ปั่นปาอาจ๋านปิกบ้าน)
KPI 1 : ความพึงพอใจในกระบวนการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัยกับศิษย์เก่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.5 ระดับ 3.5
KPI 2 : ความผูกผันระหว่างมหาวิทยาลัยกับศิษย์เก่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ระดับ 4
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300 คน 300
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการแม่โจ้สามัคคี ปั่นพาอาจารย์บุญศรีกลับบ้าน(ปั่นปาอาจ๋านปิกบ้าน)
ชื่อกิจกรรม :
โครงการแม่โจ้สามัคคี ปั่นพาอาจารย์บุญศรีกลับบ้าน(ปั่นปาอาจ๋านปิกบ้าน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายวิทชัย  สุขเพราะนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.อรญาพัชร์  พิทักษ์วัฒนชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 คนๆละ 240 บาท* 11 วัน เป็นเงิน 2,640 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 คนๆละ 240 บาท* 3 วัน เป็นเงิน 2,880 บาท
3. ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ จำนวน 2 คนๆละ 240 บาท*11 วัน เป็นเงิน 5,280 บาท
4. ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ จำนวน 1 คนๆละ 240 บาท* 3 วัน เป็นเงิน 720 บาท
5. ค่าพาหนะ(น้ำมันเชื้อเพลิง) เป็นเงิน 23,580 บาท
6. ค่าจ้างเหมาจัดทำฐานรูปปั้น(บนรถแห่) เป็นเงิน 2,000 บาท
7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(28 ตุลาคม 63) จำนวน 200 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
8. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(29 ตุลาคม 63) จำนวน 300 คนๆละ 25 บาท*2 มื้อ เป็นเงิน 15,000 บาท
9. ค่าอาหารกลางวัน(29 ตุลาคม 63) จำนวน 300 คนๆละ 90 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
10. ค่าอาหารเย็น(29 ตุลาคม 63) จำนวน 200 คนๆละ 180 บาท เป็นเงิน 36,000 บาท
11. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(30 ตุลาคม 63) จำนวน 300 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
12. ค่าจ้างเหมารถจิ๊บ จำนวน 13 คันๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 13,000 บาท
13. ค่าจ้างเหมารถโบราณ จำนวน 3 คันๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
14. ค่าจ้างเหมาจัดทำเครื่องไหว้ประกอบพิธีกรรมบวงสรวง เป็นเงิน 12,000 บาท
15. ค่าปัจจัยถวายพระสงฆ์ จำนวน 9 รูปๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
16. ค่าปัจจัยถวายพระพุทธ พระธรรม เป็นเงิน 300 บาท
17. ค่าจ้างเหมาซักรีดชุดการแสดง จำนวน 20 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
18. ค่าจ้างเหมาเช่าเต้นท์ จำนวน 3 หลังๆละ 10,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
19. ค่าบำรุงห้องน้ำเคลื่อนที่(เย็น /วันที่ 29 ต.ค.63) เป็นเงิน 2,500 บาท
20. ค่าจ้างเหมานักร้องรับเชิญ เป็นเงิน 3,000 บาท
21. ค่าจ้างเหมาวงดนตรี(วงคาวบอยแม่โจ้) เป็นเงิน 3,000 บาท
22. ค่าจ้างเหมาจัดทำพวงมาลา จำนวน 8 พวงๆละ 500 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
210,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 210,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุโฆษณาแลแผยแพร่ เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 1,000 บาท
3. ค่าวัสดุไฟฟ้า เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 4,500 บาท
5. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 23,500 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
39,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 249900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล