15747 : โครงการศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/9/2563 14:12:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และห้องสมุดในสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ ทั้งในภาครัฐและเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงาน กองทุนงบบริการวิชาการแก่ชุมชน
งาน บริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุน บริการวิชาการ
งบ เงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2563
2563 150,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปกรณ์  เครือระยา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.4 ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนแม่บทบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA63-4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA63-4.4 การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิจัย และเสริมสร้างชื่อเสียงของคณะศิลปศาสตร์
ตัวชี้วัด LA63-4.4.6 มีกิจกรรมบริการวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ ผลงานวิชาการ วิจัย และเสริมสร้างชื่อเสียงของคณะศิลปศาสตร์
กลยุทธ์ LA63-4.4.1ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิจัย และเสริมสร้างชื่อเสียงของคณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การวาดภาพทางพฤกษศาสตร์นั้น ในอดีตถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญของการศึกษาพันธุกรรมพืช ของนักพฤกษศาสตร์ เพราะในอดีตนั้นเทคโนโลยีการถ่ายภาพ ยังไม่สามารถตอบสนองการบันทึกภาพจำได้ ภาพวาดทางพฤกษศาสตร์หรือภาพวาดพฤกษศาสตร์วิทยาศาสตร์ ซึ่งนับรวมไปถึง ดอก ผล ลำต้น ราก ใบ ถิ่นที่อยู่อาศัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษา ซึ่งศาสตร์เหล่านี้นิยมกันมากในโลกตะวันตก ในโลกตะวันออกช่วงเวลาเดียวกันนั้น การศึกษาพันธุกรรมพืชแทบจะเรียกได้ว่าคือความแปลกใหม่ เมื่อนักพฤกษศาสตร์ตะวันตกเข้ามาศึกษาพันธุ์ไม้ในดินแดนต่างๆทางโลกตะวันออก แต่ก็ใช่ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เคยพบเห็นแต่อย่างใด เพราะในโลกตะวันออกนี้นิยมบันทึกภาพพันธุกรรมพืชผ่านงานศิลปะ รับใช้ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงเกิดภาพจิตรกรรม ประติมากรรม และงานพุทธศิลป์ต่างๆมากมาย ที่ปรากฏลวดลายพันธุ์พฤกษา ดอกไม้ต่างๆ ผ่านงานเหล่านี้ จึงถือได้ว่างานในลักษณะนี้มีความน่าสนใจเพราะเป็นการบันทึกภาพพันธุกรรมพืชในแบบโลกตะวันออก ในวัฒนธรรมล้านนานั้น สิ่งที่สำคัญสุดคือพุทธศาสนา ดังนั้นช่างต่างๆจึงได้ใช้สรรพวิชาในการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อรับใช้ศาสนา ผ่านระบบความคิด จินตนาการ การวาดฝันและจากธรรมชาดก ประกอบเข้าเป็นเรื่องราวต่างๆ ผ่านงานจิตรกรรม ประติมากรรม และงานพุทธศิลป์ สิ่งที่สำคัญที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นคือการวาดภาพพันธุกรรมพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบไม้ และดอกไม้ โดยเลียนแบบจากธรรมชาติที่มีอยู่ในภูมิสังคมนั้นๆ การศึกษาและเลียนแบบของช่างโบราณดังกล่าว ก่อเกิดลวดลายพันธุ์ไม้ที่มาจากธรรมชาติ ถูกบันทึกไว้กับงานพุทธศิลป์นานาชนิดได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นลาดอกโบตั๋น ลายดอกบัว ลายดอกก๋ากอก ลายดอกสับปะรด ลายต้นศรีมหาโพธิ์ ลายใบผักกูด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการบันทึกภาพพันธุกรรมชื่อได้อย่างสร้างสรรค์ของช่างโบราณในซีกโลกตะวันออก ซึ่งไม่ต่างจากการบันทึกภาพวาดทางพฤกษศาสตร์หรือภาพวาดพฤกษศาสตร์วิทยาศาสตร์ในซีกโลกตะวันตก ดังนั้นการศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความน่าสนใจ ในเชิงการเก็บรูปแบบพันธุกรรมพืชแบบโลกตะวันออก ซึ่งจะได้เห็นถึงรูปแบบของพันธุกรรมพืช ที่มีความสัมพันธ์ในทางพุทธศาสนา เห็นถึงมุมมอง แง่คิด และการสังเกตธรรมชาติของช่าง ผ่านรูปแบบลวดลายพันธุ์พฤกษาในงานพุทธศิลป์ล้านนา ทำการจัดเก็บรวบรวมภาพต่างๆที่ปรากฏ เป็นหนึ่งองค์ความรู้ในเชิงรูปแบบและลวดลายพันธุกรรมพืชล้านนา ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา ที่ใช้ธรรมชาติเป็นเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา อีกทั้งจะเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ สามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดไปสู่การสร้างและเพิ่มมูลค่างานอุตสาหกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม ทั้งด้านงานศิลปกรรม ทางด้านอุตสาหกรรม ด้านการท่องเที่ยว ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยองค์ความรู้เหล่านี้ ถือเป็นภาพบันทึกพันธุกรรมพืชแบบโลกตะวันออกที่เกิดขึ้นในสังคมล้านนา และสามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาดังกล่าวออกมาในรูปแบบมรดกทางวัฒนธรรมล้านนาในอนาคตต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อรวบรวมรูปแบบและจำแนกพันธุกรรมพืช ที่ปรากฏในงานพุทธศิลป์ล้านนา
เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์อันเป็นการเผยแพร่งานวิชาการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรุ้ "การศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา"
KPI 1 : องค์ความรู้ "ลวดลายพันธุกรรมพืชล้านนา"
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 1 เรื่อง 1
KPI 2 : นิทรรศการ "ลวดลายพันธุกรรมพืชล้านนา"
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 1 นิทรรศการ 1
KPI 3 : หนังสือ "ลวดลายพันธุกรรมพืช ในวัฒนธรรมล้านนา" เพื่อการเผยแพร่งานวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 0 500 เล่ม 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรุ้ "การศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา"
ชื่อกิจกรรม :
รวบรวมและศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา
- เก็บข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัย และเก็บข้อมูลภาคสนาม
- เรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานสรุปผลการศึกษา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก/ค่าพาหนะ) (4,000 บาท x 6 จังหวัด)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำรายงานวิจัยความก้าวหน้าและรายงานฉบับสมบูรณ์ สำหรับส่งมอบให้หน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยและจัดกิจกรรม (300 บาท x20 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์หนังสือพร้อมเข้าเล่ม สำหรับแจกจ่ายถึงองค์กรทางด้านวัฒนธรรม หน่วยงานมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุด และหอสมุด ทั่วประเทศ (200 บาท x 500 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าฝากส่งไปรษณีย์ ค่าดวงตราไปรษณีย์ ส่งหนังสือให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 131500.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำนิทรรศการ "ลวดลายพันธุกรรมพืชล้านนา" จัดแสดงนิทรรศการ ณ ศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/09/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำบอร์ดนิทรรศการ (ุ7 ชิ้น x 2,500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,500.00 บาท 17,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน วัสดุอื่นๆ ในการจัดและติดตั้งนิทรรศการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
การศึกษาภาพบันทึกพันธุกรรมพืชโบราณ ผ่านงานพุทธศิลป์ล้านนา
ช่วงเวลา : 01/05/2563 - 31/10/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล