โครงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมองค์กรอันดีงาม ประจำปีการศึกษา 2559
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการจัดโครงการอนุรักษ์และสืบสานประเพณี วัฒนธรรมองค์กรอันดีงาม วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและวัดดอยแท่นพระผาหลวง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 อีกทั้งนักศึกษาปริญญาโท ได้มีส่วนรวมอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามเพื่อให้นักศึกษาได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านสิ่งแวดล้อมและทางด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอันทำให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคในการดำเนินงานพวกเราทุกคนก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น และพร้อมร่วมแรงร่วมใจกันจนสามารถจัดโครงการนี้ขึ้นได้สำเร็จลุล่วงมาด้วยดี

โดยสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
5.1 นักศึกษามีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม พร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมแก่นักศึกษา
จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้พบว่าสามารถปลูกจิตสำนึกให้กับนักศึกษาพลังงานทดแทนทุกคนด้วยการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆที่สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทนจัดขึ้นนักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ในการบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการมีส่วนร่วมเก็บขยะชุมชนบ้านโปงสร้างความสะอาดให้กับชุมชนบ้านโปงและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชาวบ้านในเรื่องการบำเพ็ญประโยชน์อีกทั้งมีการขนหินทำฝายชะลอน้ำที่เป็นโครงการราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทนแล้วยังช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการทำบุญและตักบาตรวิทยาลัยพลังงานทดแทนในตอนเช้าและพัฒนาวัดให้มีความสะอาดเรียบร้อยแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในข้อนี้
5.2 เสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และชุมชน
จากการดำเนินกิจกรรมพบว่านักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทนมีความรักมีความสามัคคีเนื่องจากการได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเดินรณรงค์เก็บขยะตลอดเส้นทางวิทยาลัยพลังงานทดแทนถึงวัดดอยแท่นพระผาหลวง และร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันขนหินทำฝายชะลอน้ำ ทำให้ได้มีความสนิทสนมพูดคุยกันตลอดการดำเนินกิจกรรมทั้งนักศึกษารุ่นพี่และรุ่นน้อง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม นักศึกษามีส่วนร่วมอนุรักษ์และสืบสานประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม
2 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมแก่นักศึกษา ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมแก่นักศึกษา
3 เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และชุมชน เสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และชุมชน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม พร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมแก่นักศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละความสำเร็จปลูกจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 80 100
2. ระยะเวลาดำเนินการอยู่ในช่วงที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 80 80 100
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
เชิงต้นทุน บาท 20000 20000 100
4. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
15/10/2559  - 31/10/2559 15/10/2559  - 15/10/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ