โครงการ Communication camp ครั้งที่ 8
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการดำเนินโครงการ Communication camp ครั้งที่ 8 ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภาคเหนือ ต.เเม่สา อ.เเม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่าโครงการ Communication Camp เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของสาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ คณะศิลปศาสตร์ ที่สามารถเสริมสร้างให้นักศึกษามีทักษะในการดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยเรียนรู้การใช้ชีวิตอีกด้านหนึ่งผ่านการร่วมฐานกิจกรรมต่างๆ ให้เรียนรู้การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้ได้ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้และทักษะที่ได้รับจากกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้นักศึกษามีทักษะการประยุกต์ในการศึกษาในมหาวิทยาลัยและการทำงานต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย Roadmap MJU 2026 (Organic,Green,Eco) โดยการนำกระดาษมารียูสใหม่ โดยจัดทำเป็นแบบประเมินผลโครงการ เพื่อนำกระดาษที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรณงค์งดใช้โฟมและถุงพลาสติก โดยการรับประทานอาหารเย็นไม่มีการใช้โฟม แต่เป็นอาหารบุฟเฟ่ต์แทนการสั่งข้าวกล่อง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย Roadmap MJU 2026 (Organic,Green,Eco) ในการดำเนินโครงการยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย Roadmap MJU 2026 (Organic,Green,Eco) โดยการนำกระดาษมารียูสใหม่ โดยจัดทำเป็นแบบประเมินผลโครงการ เพื่อนำกระดาษที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรณงค์งดใช้โฟมและถุงพลาสติก โดยการรับประทานอาหารเย็นไม่มีการใช้โฟม แต่เป็นอาหารบุฟเฟ่ต์แทนการสั่งข้าวกล่อง
2 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ผ่านกิจกรรมฐานที่ต้องใช้ความสามัคคี การวางแผนร่วมกันภายในกลุ่ม เพื่อให้การทำงานและการทำกิจกรรมลุล่วงไปได้ด้วยดี
3 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การดำเนินโครงการ ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนๆ พี่ๆ ในสาขาวิชาอย่างมีความสุข ผ่านการทำกิจกรรมฐาน กิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมรอบกองไฟ
4 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การดำเนินโครงการ ยังมีกิจกรรมฐานการเรียนรู้การปลูกข้าว โดยได้รับความรู้จากวิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภาคเหนือ ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงวิธีการ ขั้นตอนการปลูกข้าว
5 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการพูดในที่สาธารณะและการเป็นพิธีกร การดำเนินโครงการ ยังมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพูดในที่สาธารณะและการเป็นพิธีกร โดยนายนรพนธ์ ธรรมวิเศษศรี ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ

ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม (ระดับดี) เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 90.4 100
2. นักศึกษาได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข (ระดับดี) เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 90 100
3. นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการปลูกข้าว (ระดับดี) เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 91.6 100
4. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 99.38 100
5. นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการพูดในที่สาธารณะและการเป็นพิธีกร (ระดับดี) เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 90.6 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : คณะศิลปศาสตร์จัดกิจกรรมส่งเสริมนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย Roadmap MJU 2026 (Organic,Green,Eco)
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย Roadmap MJU 2026 (Organic,Green,Eco) รายการที่ 1 : นำกระดาษมารียูสใหม่ โดยจัดทำเป็นแบบประเมินผลโครงการ เพื่อนำกระดาษที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รายการที่ 2 : รณงค์งดใช้โฟมและถุงพลาสติก โดยการรับประทานอาหารเย็นไม่มีการใช้โฟม แต่เป็นอาหารบุฟเฟ่ต์แทนการสั่งข้าวกล่อง เชิงปริมาณ รายการ 2 2 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
04/10/2559  - 30/11/2559 04/10/2559  - 30/11/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ