โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ประจำปี 2559
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี ได้ร่วมกับมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ (International Youth Fellowship) จัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ ประจำปี 2559 ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ต้องการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ คือ “เป็นบัณฑิตที่ดี มีความรู้ ทักษะ เป็นนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีสุขภาวะที่ดี ในบริบทของความเป็นนานาชาติ” ซึ่งกระบวนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ที่สำคัญหลายประการ เช่น หลักสูตรที่ดี คณาจารย์ที่มีคุณภาพ สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียน รวมถึงกิจกรรมนักศึกษานอกห้องเรียนที่จะส่งเสริมการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นไปตามกรอบของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข เป็นต้น
ในภาพรวมของการดำเนินการนั้น มีการจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 วัน โดยมีกิจกรรมการบรรยาย เสวนา การแสดง และการออกร้านแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติจากสมาชิกของมูลนิธิ IYF ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกหลากหลายเชื้อชาติ กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 1,524 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 1,700 คน ซึ่งได้ทำการประเมินผลการดำเนินโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเห็นว่า ความเหมาะสมของการดำเนินงานโครงการ เช่น การประชาสัมพันธ์โครงการ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ ระยะเวลา เป็นต้น อยู่ในระดับมาก (3.75)
สำหรับการประเมินเนื้อหาของกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 3 ประการ คือ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนด้านภาษา และการส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดงกับชาติอื่นๆ อยู่ในระดับมาก (3.95) ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านภาษาจากเจ้าของภาษา อยู่ในระดับมาก (3.82) และส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก (3.99)
นอกจากนี้ผู้ตอบแบบประเมินยังเห็นว่ากิจกรรมที่จัดขึ้น สามารถนำความรู้ทีได้ไปประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมาก (3.83) โดยมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของการจัดโครงการอยู่ในระดับมาก (3.77) และมีความต้องการให้จัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวอยู่ในระดับมาก (4.21)
ทั้งนี้ยังมีข้อที่ควรแก้ไขปรับปรุงสำหรับการจัดกิจกรรมในคราวต่อไป คือ ควรมีการเพิ่มช่วง Culture Shock ให้มากขึ้น การจัดซุ้มแสดงศิลปวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ หลายซุ้มให้นักศึกษาไทยอยู่ประจำซุ้ม ซึ่งควรจะเป็นนักศึกษาหรือบุคลากรจากประเทศนั้นๆ มาประจำซุ้มเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือภาษากันจริงๆ ควรแทรกกิจกรรมสันทนาการให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการตื่นตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา เนื่องจากการบรรยายของวิทยากรบนเวทีไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ดีเท่าที่ควร ในด้านการบริหารจัดการแผนการจัดกิจกรรมต่างๆ ควรรัดกุมและมีความพร้อม เช่น ระบบการลงทะเบียนเข้างานมีความล่าช้าและวุ่นวาย การเข้าร่วมกิจกรรมของบุคคลภายนอกซึ่งต้องชำระค่าลงทะเบียน จำนวน 800 บาท ให้กับมูลนิธินั้น ผู้เข้าร่วมเห็นว่าไม่เหมาะสมกับเงินจ่ายไป ระยะเวลาในการจัดโครงการในแต่ละวันนานเกินไป ควรจะเลิกก่อน 18.00 น. และบางกิจกรรมไม่น่าสนใจและไม่สามารถนำความรู้ในกิจกรรมไปใช้ประโยชน์ต่อได้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดงกับชาติอื่นๆ ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่ากิจกรรมนี้ส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดงกับชาติอื่น ๆ อยู่ใน
ระดับ 3.95
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านภาษากับชาติอื่นๆ ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่ากิจกรรมนี้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมด้านภาษากับชาติอื่น ๆ อยู่ในระดับ 3.82
3 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่ากิจกรรมนี้ส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับ 3.99
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาไดรับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งด้านความคิด ทักษะ และการเรียนรู้วัฒนธรรมจากชาติต่างๆ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
2. ระดับความต้องการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
05/10/2559  - 31/10/2559 05/10/2559  - 31/10/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ