โครงการแม่โจ้: แป๋งบ้านสร้างเมือง ปี4
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการแม่โจ้: แป๋งบ้านสร้างเมือง ปี4 การดำเนินงานผ่านขบวนการพัฒนาบัณฑิต เพื่อนำไปการสร้างจิตอาสาในนักศึกษา นำไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสับคมและมีความสอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ ผ่านตัวโครงการแม่โจ้แป๋งบ้านสร้างเมือง. ในรูปแบบกิจกรรมการบูรณาการ 3รูป แบบ คือ 1วิชาการ กิจกรรมนักศึกษาและบริการวิชาการ(ผ่านกิจกรรมในรายวิชา) 2กิจกรรมนักศึกษา และบริการวิชาการเพื่อสังคม 3วิจัย กิจกรรมนักศึกษาและบริการวิชาการ ในกิจกรรมมีการบูรณาการทำงาน ทั้งคณะอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และชุมชนในการสร้างจิตสำนึก จิตอาสาต่อสังคม ผ่านกิจกรรมการทำงานดังนี้
1. กิจกรรมเตรียมความพร้อมบุคลากร นักศึกษา และผู้แทนชุมชนก่อนลงปฏิบัติงาน การสร้างทีมคณะอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ ผ่านรูปแบบบูรณาการทั้ง 3 แบบ และพัฒนาความเข้าใจในการดำเนินงานเชิงพื้นที่ในชุมชนเป้าหมายอย่างเป็นระบบ
2. พัฒนาขบวนงานและติดตามการปฏิบัติติงาน 10 ครั้ง เมื่อทีมงานลงปฏิบัติงานตามโครงการต้องมีการเสริมขบวนการทำงานที่เป็นเพิ่มทักษะทำงาน ทั้งในส่วนของนักศึกษาและคณะอาจารย์ ให้เกิดความเหมาะสมของพื้นที่ ร่วมถึงเป็นการติดตามการทำงานของคณะทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาขบวนการทำงานเชิญพื้นที่อย่างเหมาะสมกับชุมชนต่อไป
3. ถอดบทเรียนการเรียนรู้ หลังจากคณะทำงานได้ลงไปทำงานในพื้นที่เป้าหมายไปได้จนครบระยะเวลาตามช่วงที่กำหนด จะได้มีการสรุปเนื้อหาการทำงาน ผลการดำเนินงานและสรุปรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะอาจารย์และชุมชน ที่มีต่อกิจกรรมในโครงการต่อไป เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงาน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อสร้างความเข้าใจให้บุคลากรและนักศึกษาให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม (USR: UNIVERSITY SOCIAL RESPONSIBITY) ความเข้าใจให้บุคลากรและนักศึกษาให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นสีเขียวและ มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม(USR: UNIVERSITY SOCIAL RESPONSIBITY)ในระดับมาก คิดเป็น80.8 %
2 2. เพื่อสร้างนักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เห็นว่า นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในระดับมาก คิดเป็น 81.8%
3 3. เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำของนักศึกษา (Leadership Development) กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง และอดทนสู้งาน ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เห็นว่า เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ นำของนักศึกษา (Leadership Development) กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง และ อดทนสู้ งานในระดับมาก คิดเป็น 80.8%
4 4. เพื่อให้มหาวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้งานวิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษาให้เป็นเรื่องเดียวกัน ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เห็นว่ามหาวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้งาน วิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกันในระดับมาก คิดเป็น 80.8%
5 5. เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและเป็นชุมชนนิเวศน่าอยู่ ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เห็นว่า ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและเป็นชุมชนนิเวศน่าอยู่ในระดับมาก คิดเป็น 80.8%
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : มีการพัฒนาขบวนการทำงานเชิงพื้นที่
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 81 100
2. การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 4.05 100
3. จำนวนกิจกรรมที่มีการร่วมมือกับชุมชน
เชิงปริมาณ กิจกรรม 5 4.05 81.00
รวม      93.67
ผลผลิตที่ 2 : มีการแสดงนิทรรศการผลงานนักศึกษาและคณะอาจารย์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
3. การดำเนินงานโครงการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 46.83
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/09/2559  - 30/09/2560 01/11/2559  - 31/07/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ