โครงการปลูกป่าและคืนกล้วยไม้สู่ไพรพฤกษ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จถวัลยราชครบ 70 ปี
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม ได้รับอนุมัติให้จัดโครงการปลูกป่าและคืนกล้วยไม้สู่ไพรพฤกษ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จถวัลยราชครบ 70 ปี ในวันที่ 22 มิถุนายน 2559 ณ บ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บ้านแม่ปาน –สันเกี๋ยง ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อย่างยั่งยืน และเพื่อกระตุ้นให้เกิดจาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากทุกภาคส่วน สรุปผลการดำเนินงานดังนี้คือ การเลือกพื้นที่ในการดำเนินโครงการ ได้แก่ ลานทางขึ้นรอยพระพุทธบาท เดิมเป็นพื้นที่ป่าใช้สอยของชุมชนบ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง อยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ มีสภาพพื้นที่เป็นป่าเต็งรังที่มีความเสื่อมโทรม โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 31เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดำเนินการภายใต้การประสานงานระหว่างมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์กับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บนเทือกเขาอินทนนท์ บนพื้นที่ 226 ไร่ โดยมีหมู่บ้านที่ใกล้เคียง คือ บ้านแม่ปาน หมู่บ้านสันเกี๋ยง และวัดเหล่าป่าตาล ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ปาน มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ มีผู้ร่วมงานจำนวน 637 คน ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียนและนักศึกษา โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ศรีเกี่ยวฝั้น รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยกิจกรรมภายในงานได้แก่ การเยี่ยมชมบูทนิทรรศการของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 31 เช่น การนำเปลือกข้าวโพดมาผลิตเป็นก้อนเห็ด และนิทรรศการกลุ่มต่างๆ ของชุมชนบ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงหมู กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มปลูกผักหมุนเวียนและกลุ่มจัดระบบน้ำ เป็นต้น จากนั้นตัวแทนองค์กร หน่วยงาน ประชาชน นักเรียนและนักศึกษา ร่วมปลูกป่า จำนวน 12,000 ต้น ประกอบด้วย ต้นสัก ประดู่และต้นพะยูง และปลูกกล้วยไม้ จำนวน 1,500 ต้น ประกอบด้วยเอื้องแซะ เอื้องม่อนไข่ เอื้องคำปอน กะเรกะร่อน สร้อยระย้า และหวายตะมอย โดยโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ศรีเกี่ยวฟั่น รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประธานในพิธี นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่มและนางวิลาวัลย์ ยอดผ่านเมือง ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 31 ร่วมปลูกต้นไม้เป็นที่ระลึกในพื้นที่ด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่า และร่วมรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ นักศึกษามีจิตสำนึกให้รู้คุณค่า และร่วมรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ โดยวิธีการร่วมขุดหลุม ปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ และคืนกล้วยไม้สู้ป่า ทั้งนี้ได้ร่วมมือทำกิจกรรมกับประชาชนในท้องถิ่น ได้เห็นถึงความสามัคคีของคนในชุมชน
2 เพื่อสร้างคุณค่าให้ป่า สร้างความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งศึกษาด้านธรรมชาติวิทยา ได้สร้างคุณค่าให้ป่า สร้างความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งศึกษาด้านธรรมชาติวิทยา โดยการปลูกต้นไม้ที่หลากหลายและสามารถเจริญเติบโตในสภาพป่าของชุมชนได้ ทั้งนี้มีการปลูกกล้วยไม้ป่าที่มีความหลากหลาย และปลูกโดยวิธีเลียนแบบการเจริญเติบโตแบบธรรมชาติ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เจ้าหน้าที่และนักศึกษามีส่วนร่วมในการปลูกกล้วยไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมร่วมกับชุมชน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อเข้าร่วมปลูกป่าแม่แจ่ม
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. จำนวนกล้ากล้วยไม้ที่ปลูกคืนสู่ป่า
เชิงปริมาณ จำนวน 3000 1500 50.00
รวม      75.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 75.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
22/06/2559  - 22/06/2559 22/06/2559  - 22/06/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ