โครงการจัดตั้งพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ ระยะที่ 2
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการจัดตั้งพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ ระยะที่ 2 ได้รับงประมาณเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนโครงการจัดตั้งพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ ระยะที่ 2 จากชมรมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์แม่โจ้ จำนวน 55,500 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการผลิตทางการเกษตรของคณะเศรษฐศาสตร์ในอนาคต ดำเนินกิจกรรม 2 กิจกรรม ได้แก่
1.การจัดทำรั้วในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ดำเนินการระหว่างวันที่ 27 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2559 โดยมีการขออนุมัติจ้างเหมาขุดหลุมและล้อมรั้ว โดยศูนย์วิจัยฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการล้อมรั้ว และสามารถล้อมรั้วลวดหนามโดยรอบศูนน์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มีความยาวทั้งสิ้น 455 เมตร และ 2.การจัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชผัก ดำเนินการในวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 โดยมีนักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 181 คน โดยได้มีการใช้อิฐบล็อกก่อเพื่อขึ้นแปลง จำนวน 6 แปลง รอให้อิฐแห้งจากนั้นก็มีการนำดินดำไปใส่ในแปลง และได้มีการหว่านเมล็ดพืชผักในแปลงจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ คะน้า ผักกาดกวางตุ้ง และฟักทอง โดยพืชผักอีก 3 ชนิด คือ ผักหวานป่า ชะอมและแตงกวา อยู่ระหว่างการเพาะเมล็ดอยู่ระหว่างรอการปักชำ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ศูนยฺ์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ได้มีแผนในการจัดเตรียมการบูรณาการในรายวิชาการจัดการฟาร์ม สำหรับนักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ 2560
2 เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการผลิตทางการเกษตรของคณะเศรษฐศาสตร์ในอนาคต ปัจจุบันยังไม่มีผลตอบแทนที่สร้างรายได้ให้เข้าศูนย์เรียนรู้ฯ ซึ่งในการผลิตทางการเกษตรภายในศูนย์เรียนรู้ ทั้งไม้ผลและพืชผัก จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งกว่าจะได้รับผลตอบแทน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : จัดทำรั้วในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. มีรั้วศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
เชิงปริมาณ เมตร 400 455 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : จัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชผัก
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนแปลงสาธิตการปลูกพืชผัก
เชิงปริมาณ ชนิด 3 3 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
27/04/2559  - 31/05/2559 27/04/2559  - 31/05/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ