ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำระดับปริญญาตรี จัดทำำขึ้นวันที่ 18-21 พฤษภาคม 2559 โดยเป็นโครงการที่เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ทางด้านการประมงให้แก่นักศึกษา โดยประกอบด้วย การศึกษาดูงานทางด้านการตลาดส่งออกปลาสวยงาม การผลิตอาหารสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และการทำธนาคารปูม้าและหมึกเพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้
1. การศึกษาดูงานตลาดการส่งออกปลาสวยงาม ณ ตลาดฟิชวิลเลจ ณ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากผู้จัดการตลาดฟิชวิลเลจ ถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการสร้างตลาดปลาสวยงามและนักศึกษาได้ศึกษาดูงานร้านส่งออกปลาสวยงามต่าง ๆ และได้ศึกษาพันธุ์ปลาสวยงาม และราคาตลาดของปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ
2. การฟังบรรยายพิเศษและศึกษาดูงานการผลิตอาหารสัตว์น้ำ ณ บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด จ.สมุทรสาคร โดยนักศึกษาได้ฟังกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำ และได้เข้าไปดูงานกระบวนการผลิตในโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ ทำให้ได้เห็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย
3. การศึกษาดูงาน ณ วิโรจน์การเกษตรฟาร์ม จ.ราชบุรี เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ทำให้นักศึกษาได้ทราบถึงวิธีการเตรียมบ่อเลี้ยง การเพาะขยายพันธุ์ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และได้เยี่ยมชมบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
4. การศึกษาดูงานธนาคารหมึกและปูม้า ณ ชุมชนหาดเจ้าสำราญ ต.แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นชุมชนประมงที่มีการทำประมงเชิงอนุรักษ์โดยการเพาะขยายพันธุ์หมึกและปูม้า ปล่อยลงสู่ทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนในการตระหนักถึงความสำคัญและการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งนักศึกษาได้ร่วมปล่อยพันธุ์หมึกและปูม้าที่ได้จากการเพาะและอนุบาลจากชาวบ้านจากการศึกษาดูงานดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว ยังมีศิษย์เก่าที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกมาพบปะนักศึกษาเพื่อแนะแนวทางการประกอบอาชีพที่หลากหลายหลังจากสำเร็จการศึกษา ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และการประกอบอาชีพส่วนตัว อีกทั้งยังได้ชี้แนะแนวทางการเรียน การฝึกงาน เพื่อประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยมีศิษย์เก่าที่เข้าร่วมจำนวน 11 คน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อเป็นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้ง 5 ด้านตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
|
นักศึกษาได้รับการพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ คุณลักษณะ การพัฒนา 1. คุณธรรมจริยธรรม - รับทราบและตระหนักถึงปัญหาการทำการประมงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และตัวอย่างชุมชนที่ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งก่อให้เกิดจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักศึกษาในการประกอบวิชาชีพทางด้านการประมงที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมในอนาคต 2. ความรู้ - นักศึกษาได้รับความรู้จากการฟังบรรยายพิเศษจากวิทยากรและการศึกษาดูงาน เพื่อนำไปเป็นใช้ประโยชน์ในการศึกษาและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษาดังนี้ - ด้านการตลาดและการส่งออกปลาสวยงาม - กระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำและได้เข้าศึกษาดูงานในโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ ทำให้เห็นเครื่องมือการผลิต และเครื่องมือในการวิเคราะห์อาหารที่ทันสมัย - การทำเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้ง การเพาะขยายพันธุ์ และการอนุบาลลูกกุ้ง ตลอดจนวิธีการเลี้ยงและการตลาดกุ้งก้ามกราม - การเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ - ได้รับความรู้และความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (ปูม้า และหมึกสายพันธุ์ต่าง ๆ) ตามแนวทางของชุมชนชาวประมง 3. ทักษะทางปัญญา - เกิดแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาทางด้านการประมง โดยอาศัยประสบการณ์จากวิทยากร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต เช่น วิธีการเพาะเลี้ยงกุ้ง การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ การผลิตอาหารเพื่อลดต้นทุน เป็นต้น 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - จากการทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน - การได้ฟังการแนะแนวการประกอบอาชีพจากศิษย์เก่าที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งการทำงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการประกอบกิจการส่วนตัวที่เกี่ยวข้องทางด้านการประมง เป็นแนวทางให้นักศึกษาได้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ระหว่างนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า และระหว่างคณะฯ และหน่วยงานภายนอกอีกด้วย 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - หลังจากกิจกรรมเสร็จสิ้นนักศึกษาได้นำเสนอผลการเข้าร่วมกิจกรรมโดยการส่งตัวแทนมาถอดบทเรียนเล่าให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน - รับทราบถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถทำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งการเรียนและการทำงาน ตลอดจนใช้แก้ปัญหาในอนาคตได้
|
2
|
เพื่อให้เสริมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และการประกอบอาชีพในอนาคต
|
นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงซึ่งเป็นการถ่ายทอดของวิทยากรและการได้เข้าไปศึกษาสถานที่จริง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมมาใช้ประโยชน์ในการเรียนและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
|
3
|
เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรทางน้ำ และสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักศึกษาในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ
|
นักศึกษาได้รับทราบถึงปัญหาทางด้านการประมง จากการฟังบรรยาย และได้เห็นสภาพจริง ทำให้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของทรัพยากรทางน้ำและสิ่งแวดล้อมเกิดจิตสำนักที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่คุ้มค่าและคำนึงถึงส่วนร่วมในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวัน
|
4
|
เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
|
จากการทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และจากการได้ฟังการแนะแนวการประกอบอาชีพจากศิษย์เก่าที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งการทำงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการประกอบกิจการส่วนตัวที่เกี่ยวข้องทางด้านการประมง เป็นแนวทางให้นักศึกษาได้ตัดสินใจในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ และยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ระหว่างนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า และระหว่างคณะฯ และหน่วยงานภายนอกอีกด้วย
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
บัณฑิตของคณะได้พัฒนาศักยภาพเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้นอกห้องเรียน
1.
ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 60 คน)
|
เชิงปริมาณ
|
ร้อยละ
|
80
|
100
|
100
|
2.
ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
|
เชิงเวลา
|
ร้อยละ
|
100
|
100
|
100
|
3.
ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ประโยชน์
|
เชิงคุณภาพ
|
คะแนน
|
3.51
|
4.37
|
100
|
4.
ระดับความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ
|
เชิงคุณภาพ
|
คะแนน
|
3.51
|
4.27
|
100
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
01/04/2559
-
30/09/2559
|
18/05/2559
-
21/09/2559
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ