โครงการเตรียมความพร้อมสภาอาสา ประจำปี 2559
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สภานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สภาอาสาได้เรียนรู้และเข้าใจในบาทบาทหน้าที่ของสภานักศึกษา ในการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สภาอาสาได้เรียนรู้และลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในกิจกรรมฐานการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำให้สภาอาสาและสภานักศึกษารุ่นพี่และรุ่นน้องได้รู้จักกันทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถทำงานกันเป็นทีมได้ดี และได้สภาอาสาเป็นอีกกระบอกเสียงในการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1.เพื่อเตรียมความพร้อมให้สภาอาสาได้รู้และเข้าใจในหน้าที่และบทบาทของสภานักศึกษา สภาอาสาได้เรียนรู้และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสภานักศึกษาในการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
โดยมีทั้งหมด 3 กิจกรรม
-กิจกรรม สภาอาสา "อาสา" พิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการ
โดยมีการบรรยายบาทบาทการทำงานของสภานักศึกษา และช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
-กิจกรรม ฐานเรียนรู้การพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการนักศึกษา 5 ด้าน
โดยการลงพื้นที่ในบริเวณมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายภาพปัญหาที่สภาอาสาคิดว่าส่งผลกระทบต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในหัวข้อสุขอนามัย,กีฬา,การเรียน ,การสัญจรบนท้องถนน,ความปลอดภัย เป็นต้น
-กิจกรรม พัฒนาภาวะผู้นำสานสัมพันธ์พี่สภาน้องอาสา
โดยมีการบรรยายการกฏเกณฑ์การรับสมัครการเลือกตั้ง ความแตกต่างในการเป็นกรรมมาธิการสามัญและกรรมมาธิการวิสามัญ มีการสันทนาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่สภาและน้องอาสา และการบรรยายปลุกความคิด จิตอาสา ให้กับน้องอาสาเพื่อลงสมัครสภานักศึกษา
2 2.เพื่อสร้างเครือข่ายการทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิและสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สภานักศึกษาได้สมาชิกน้องสภาอาสาที่พร้อมเป็นกระบอกเสียงการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการ โดยการเป็นตัวแทนกลุ่มนักศึกษาในการลงพื้นที่ สำรวจ และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากนักศึกษาโดยตรง
3 3.เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้องเพื่อการทำงานเป็นทีม สภานักศึกษาและสภาอาสารุ่นพี่ รุ่นน้อง และรุ่นเดียวกันได้รู้จักกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ทั้งด้านการลงสำรวจปัญหา การส่งข้อมูลเรื่องราวร้องเรียน และร่วมกันหาแนวทางการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการเพื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาที่เป็นสมาชิกสภาอาสาเกิดความรู้เกิดความเข้าใจในหน้าที่และบทบาทของสภานักศึกษา เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้เกิดเครือข่ายการทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิและสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนเครือข่ายการทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชิงคุณภาพ เครือข่าย 2 2 100
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการเตรียมความพร้อมสภาอาสา ประจำปี 2559
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 68.46 85.58
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้และเข้าใจในหน้าที่และบทบาทของสภานักศึกษา
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 76.92 96.15
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้องเพื่อการทำงานเป็นทีม
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 63.07 78.84
รวม      90.14
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 90.14
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
14/01/2559  - 14/02/2559 05/02/2559  - 13/02/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ