โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม รายละเอียดแต่ละกิจกรรม ดังนี้
(1) กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส พิธีสงกรานต์ หรือดำหัว เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
กิจกรรมในวันสงกรานต์ เป็นการเน้นการทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย การสรงน้ำพระการรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัดสรงน้ำพระสงฆ์ด้วย การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือครูบาอาจารย์ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด แต่ดำหัวเป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่ การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัน
แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน สังคมไทยปัจจุบันคือว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลกลับบ้าน เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมแต่งจนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส ประจำปี 2559 ของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 โดยได้มีการตกแต่งข้าวของที่ใช้ในการทำกิจกรรมและตกแต่งสถานที่ให้ได้บรรยากาศแบบพื้นเมือง เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้ง คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา และ ตัวแทนชุมชนหนองมะจับ โดยในพิธีได้ขอขมาให้สิ่งที่ผู้น้อย (มีอายุน้อย) ได้ล่วงเกินโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ใหญ่ (ผู้มีอายุมาก) และขอพรเพื่อให้ในปีนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่แต่ละคนตั้งใจไว้ เป็นกิจกรรมที่สามารถถ่ายทอดความเป็นกลิ่นอายของวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีที่สะท้อนถึงความนอบน้อม เคารพต่อผู้อาวุโส ทางได้เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมเหล่านี้จึงได้จัดกิจรรมเพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป และในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 เวลา 13.00 น เป็นต้นไป ทางคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้เดินขบวนเข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโส อธิการบดี และนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

(2) กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา
ประเพณีถวายเทียนพรรษา มีในอดีตก่อนปรากฏความในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถ ได้บอกว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วยอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมถึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน การถวายเทียนพรรษา ได้ถวายแด่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก แด่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา ซึ่งมีประเพณีหนึ่งทำกันในช่วงเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา ในอดีตการหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ได้นำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหาร และให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง และมีการพัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ เริ่มมีการแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆรวมถึงการนำเอาดอกไม้สดมาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม และมีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีอันดีงานของท้องถิ่น จึงได้มีการสนับสนุนงบประมาณให้มีการจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ณ วัดถ้ำบัวตอง ตำบล แม่หอพระ อำเภอ แม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ ในวัน อังคาร ที่ 12 กรกฎาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง เวลา 16.00 น. โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมกันถวายดอกไม้ธูปเทียน เทียนพรรษา และเครื่องปัจจัยไทยทาน

(3) กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะ แบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 3 กิจกรรมย่อยดังนี้
- กิจกรรมทำบุญสืบชะตาคณะฯ ได้มีการนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูป มาทำพิธีสืบชะตาซึ่งมีความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ณ ห้องบรรยาย FT 1301 โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
- กิจกรรมไหว้ครู เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ซึ่งมีการวางแผนการจัดกิจกรรมตามหลัก PCDA
- กิจกรรมนักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาใหม่ และนักศึกษาเก่า ได้มีโอกาสเข้าพบหาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรึกษาในเรื่องต่างๆ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา

(4) กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงด้านวิถีประมงพื้นบ้าน จัดขึ้นจำนวน 4 ครั้ง คือ
- ครั้งที่ 1 จัดขึ้นวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ณ สะพานเชื่อมใจ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมดจำนวน 101 คน เป็นการบรรยายและอบรมภาคปฏิบัติ การทำเครื่องมือทางการประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงวิถีประมงพื้นบ้าน การจับปลาโดยไม่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำให้ยั่งยืนแล้ว ยังสามารถทำเครื่องมือประมงไว้จับสัตว์น้ำกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นการสืบสานประเพณีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ต่อไป
- ครั้งที่ 2 จัดทำขึ้นในรายวิชา จป 111 การประมงทั่วไป โดยเป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม โดยนำเครื่องมือประมงในแต่ละชนิดมาแสดงบทบาทสมมุติ เพื่ออธิบายถึงลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้งานของเครื่องมือประมงพื้นบ้านนั้น ๆ โดยอาจารย์ผู้สอนได้สอดแทรกถึงแนวคิดของภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น สามารถเพิ่มผลผลิตเกิดความยั่งยืนขึ้นได้
- ครั้งที่ 3 จัดขึ้น ณ สะพานเชื่อมใจ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมดจำนวน คน เป็นการบรรยายและอบรมภาคปฏิบัติ การทำเครื่องมือทางการประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงวิถีประมงพื้นบ้าน การจับปลาโดยไม่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำให้ยั่งยืนแล้ว ยังสามารถทำเครื่องมือประมงไว้จับสัตว์น้ำกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นการสืบสานประเพณีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ต่อไป
- ครั้งที่ 4 จัดขึ้นในช่วง 1 มีนาคม – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นการรวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค โดยเฉพาะเครื่องจักสานที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ รวมถึงรายละเอียดและวิธีการใช้ของเครื่องมือแต่ละชนิด มาไว้ ณ จุดแสดงเรียนรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตด้านการประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปด้วย ทั้งนี้ผู้คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านและนำเสนอข้อมูลของในแต่ละชนิด ตามวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ทั้งสิ้น 13 องค์ความรู้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ไหว้ครูและทำบุญคณะ ให้คงอยู่ต่อไป - นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ รวมทั้งตัวแทนชุมชนหนองมะจับเข้าร่วมกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสของคณะ เป็นการสืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป
- บุคลากรและนักศึกษาของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีถวายเทียนพรรษาให้คงอยู่ต่อไป
- นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีไหว้ครูและทำบุญคณะ
2 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย
3 เพื่อพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้สามารถความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป การจับปลาน้ำจืดในประเทศไทยนั้นมีมานานก่อนประวัติศาสตร์แล้ว แต่เครื่องมือและวิธีการที่เราทราบกันอยู่นี้เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละแห่ง มีการดัดแปลงและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน เครื่องมือและวิธีการประมงมีตั้งแต่ขนาดเล็กพกพาได้ จนถึงขนาดใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนปลาที่เป็นเป้าหมาย เครื่องมือประมงพื้นบ้าน นอกจากจะใช้ในการจับสัตว์น้ำแล้วยังช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งเครื่องมือพื้นบ้านแต่ละชนิดทำจากวัสดุธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ชาวประมงพื้นบ้านจะใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้านที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเองใช้วัสดุในท้องถิ่น ที่มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญ คือ เลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เฉพาะอย่าง เช่น แห เบ็ด ลอบ ไซ แซะ ตุ้ม และฯลฯ ใช้เครื่องมืออื่น ๆ ผลัดเปลี่ยนไปตามความชุกชุมของสัตว์น้ำตามฤดูกาล เช่น ฤดูฝน (น้ำแดง) ฤดูทำนา และฤดูเกี่ยวข้าว เป็นต้น
เครื่องมือประมงพื้นบ้านหมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ใช้เรือหรือใช้ประกอบกับเรือที่มีขนาดไม่เกินห้าตันกรอส ซึ่งแบ่งตามลักษณะการใช้ได้ 3 แบบ คือ
1. แบบเคลื่อนที่ ได้แก่ เครื่องมือ ที่มีขนาดเล็กพกพาได้ เช่น เบ็ดธง แห ข่ายลอย สุ่ม สวิง ฉมวก หน้าไม้ ยอยก เป็นต้น
2. แบบกึ่งประจำที่ เป็นเครื่องมือที่โยกย้ายได้ แต่เวลาใช้ต้องติดตั้งอยู่กับที่ รอจนกว่าปลาจะมาติดจนพอเพียง มักมีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก เช่น ลอบชนิดต่างๆ ไซ จั่น ตุ้ม อีจู้ ลัน เบ็ดราว เป็นต้น
3. แบบประจำที่ มักเป็นเครื่องมือขนาดใหญ่มาก ต้องมีการปลูกสร้างติดตั้งโดยถาวรในแหล่งที่จะจับปลา เช่น ยอสะดุ้ง ลี่ โพงพาง รั้วไซมาน กร่ำ เฝือก และบ่อล่อปลา เป็นต้น
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นการรวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค โดยเฉพาะเครื่องจักสานที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ รวมถึงรายละเอียดและวิธีการใช้ของเครื่องมือแต่ละชนิด มาไว้ ณ จุดแสดงเรียนรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตด้านการประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปด้วย ทั้งนี้คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านและนำเสนอข้อมูลของในแต่ละชนิด ตามวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ทั้งสิ้น 13 องค์ความรู้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการดำเนินโครงการที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และตามตัวชี้วัดของกิจกรรมเป็นอย่างดี
4 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการเรียนการสอนการเข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1. นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการประมง หรือให้ความรู้เชิงอนุรักษ์ทรัพยากรทางประมงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีประมงพื้นบ้าน ร่วมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรทางประมงให้ยั่งยืนต่อไป
2. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงวิถีประมงพื้นบ้าน การจับปลาโดยไม่ใช้เครื่องมือสมัยใหม่เพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำให้ยั่งยืนแล้ว ยังสามารถทำเครื่องมือประมงไว้จับสัตว์น้ำกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นการสืบสานประเพณีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ต่อไป
3. ผู้สอนในรายวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน และ จป 111 การประมงทั่วไป ได้จัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการกับงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเน้นการใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้าน
5 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา นักศึกษาได้รับความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 30 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 200 100
2. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.5 100
3. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 100 100 100
4. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.42 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.59 100
2. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.56 100
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 30 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 233.33 100
4. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.52 100
2. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.36 100
3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 200 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 193.5 100
4. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.21 100
5. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 4 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนองค์ความรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงปริมาณ องค์ความรู้ 5 13 100
2. จำนวนผู้เข้าชมจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน (จากผู้เข้าชม 150 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 85.33 100
3. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.41 100
4. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.49 100
5. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
6. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.4 100
7. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 336 100
8. จำนวนรายวิชาที่มีการบูรณางานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เชิงปริมาณ วิชา 2 2 100
9. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.31 100
10. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.22 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
20/11/2558  - 30/09/2559 01/11/2559  - 31/08/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ