แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า โดยมีการจัดกิจกรรมงานครบรอบ 20 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภายใต้ "โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสบการณ์แก่นักศึกษาและศิษย์เก่า" ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2559 ณ อาคารคัดบรรจุผลิตผลเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มีจำนวนนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าของคณะฯ สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 159 คน ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมการเสวนาและบรรยายให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า ในหัวข้อ “ทางเลือกอาชีพใหม่ เกษตรอินทรีย์” โดย อาจารย์รชฏ เชื้อวิโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการบรรยายหัวข้อ “สายการผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตรอินทรีย์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ นักหล่อ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า นักศึกษาและศิษย์เก่าของคณะฯ ได้รับการส่งเสริมและได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า
2 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ด้านความรู้ และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ นักศึกษาและศิษย์เก่าของคณะฯ ได้รับการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ด้านความรู้
3 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัย (Organic/ Green/ Eco) นักศึกษาและศิษย์เก่าของคณะฯ ได้รับการส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเครือข่ายระหว่างศิษย์เก่า คณาจารย์ และนักศึกษาของคณะฯ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : กิจกรรมการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า และกิจกรรมที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี (Go-Eco-U) : โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความพึงพอใจของนักศึกษาและศิษย์เก่าต่อการจัดกิจกรรม เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 84 100
2. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักศึกษาที่กำหนด เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 79.5 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
19/12/2558  - 19/12/2558 19/12/2558  - 19/12/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ