โครงการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 12
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ

วันที่ 6 มีนาคม 2558 คณะกรรมการชมรมกลองหลวงล้านนาไทย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 12
ณ ลานเอนกประสงค์หน้าอาคารเพิ่มพูล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อันเป็นส่วนหนึ่งในงานเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2559 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นเจ้าภาพ
โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 12 เฉลิมฉลองงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2559 และกล่าวรายงานโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร

มีศรัทธาประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน ส่งกลองหลวงเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 30 ลูก โดย เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ ผู้แทน ดร.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้มอบรางวัล

1. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กลองหลวงจากวัด หนองเหงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
2. รางวัลชนะอันดับ 2 ได้แก่ กลองหลวง พญาแมงป่อง วัดสันมะกูด อ.เมือง จ.ลำพูน
3. รางวัลชนะอันดับ 3 ได้แก่ กลองหลวง เด่นสยาม วัดป่าเหียง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
4. รางวัลชนะอันดับ 4 ได้แก่ กลองหลวง ศิลปไทย วัดป่าเหียง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

นอกจากนี้ยังมีรางวัลประชันการตีกลองหลวง มืออาชีพและมือสมัครเล่น 4 คน ได้แก่
รางวัลการประชันคนตีมืออาชีพ ยอดเยี่ยม มือขวา นายดารากร สิทธิโรจน์
รางวัลการประชันคนตีมืออาชีพ ยอดเยี่ยม มือซ้าย นายวิชัย แสนสี

รางวัลการประชันคนตีมือสมัครเล่น ยอดเยี่ยม มือขวา ว่าที่ร้อยตรี ธีระพงษ์ วงศ์ฝั้น
รางวัลการประชันคนตีมือสมัครเล่น ยอดเยี่ยม มือซ้าย นายสุระกาญจน์ ยะวงค์

และมีการแสดงศิลปะพื้นบ้านเช่นการฟ้อนเจิง และตบมะพาบ
การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจาก ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่มางานวันเกษตรแม่โจ้ และผู้ที่ตามมาชมกลองหลวงโดยเฉพาะ

ซึ่งเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน อีกทั้งคณะผลิตฯ
ยังได้บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา โดยการนำเด็กนักศึกษาเข้าร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมทั้งกระบวนการ
ซึ่งถือว่าได้รับความร่วมมือจากสโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ในการจัดเตรียมงานทั้งกระบวนการเป็นอย่างดี
อีกทั้งนักศึกษายังได้รับประสบการณ์การจัดกิจกรรม โดยการประยุกย์ใช้กระบวนการ PDCA
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์และเผยแพร่การแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทยต่อสาธารณชน ได้ส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแพร่การแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทยต่อสาธารณชน
2 เพื่อบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมนักศึกษา ได้บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมนักศึกษา
3 เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา เผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน และเผยแพร่ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละการได้รับรู้เพิ่มขึ้นถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับกลองหลวงล้านนาไทยของผู้ร่วมกิจกรรม เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 77.8 100
2. ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการตามวัตถุประสงค์ เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 90.4 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
04/03/2559  - 07/03/2559 06/03/2559  - 06/07/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ