โครงการเพิ่มพูนศักยภาพและยกระดับความรู้ภาษีอากรก่อนเข้าสู่ระบบธุรกิจให้นักศึกษา ครั้งที่ 5
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ตามที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ กรมสรรพากรภาค 8 ดำเนินการจัด “โครงการเพิ่มพูนศักยภาพและยกระดับความรู้ภาษีอากรก่อนเข้าสู่ระบบธุรกิจให้นักศึกษา ครั้งที่ 5” เมื่อวันที่ 1-5 สิงหาคม 2559 ณ อาคารยรรยง สิทธิชัย คณะเศรษฐศาสตร์ นั้น
บัดนี้ โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้ดำเนินการจัดทำ “โครงการเพิ่มพูนศักยภาพและยกระดับความรู้ภาษีอากรก่อนเข้าสู่ระบบธุรกิจให้นักศึกษา ครั้งที่ 5” ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) การฝึกอบรม ในวันที่ 1-4 สิงหาคม 2559 ณ อาคารยรรยง สิทธิชัย คณะเศรษฐศาสตร์ 2) ศึกษาดูงาน ในวันที่ 5 สิงหาคม 2559 ณ อาคารศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับผู้เรียน ความต้องการของสังคม สถานการณ์ทางสังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และนำไปสู่การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ ตามเป้าประสงค์ของคณะฯ ที่ต้องการให้บัณฑิตเป็นคนดีและเป็นคนเก่ง การได้รับความรู้จากหน่วยงานที่มีประสบการณ์หรือเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่มีการเรียนการสอนซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้ความรู้และประสบการณ์มากขึ้นจากการเรียนในห้องเรียน อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเข้าสู่ระบบธุรกิจในการประกอบอาชีพต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาในการปลูกจิตสำนึก ทัศนคติที่ดี ทำให้เกิดความตระหนักในการเสียภาษีอย่างถูกต้องโดยความสมัครใจ วิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษาในการรู้จักภาษี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระบบการจัดเก็บภาษี วิธีการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีแก่นักศึกษาทำให้เกิดความตระหนักในการเสียภาษีอย่างถูกต้องและสมัครใจ
2 เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ และยกระดับความรู้ภาษีอากรแก่นักศึกษาที่ใกล้สำเร็จการศึกษาก่อนเข้าระบบธุรกิจ นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาษีอากร สามารถนำความรู้จากการเรียนการสอนและการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติการของวิทยากรได้ และในอนาคตนักศึกษาได้ตะหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
3 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของชั่วโมงกิจกรรมของคณะเศรษฐศาสตร์ จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นส่วนหนึ่งของชั่วโมงกิจกรรมของคณะเศรษฐศาสตร์ จำนวน 6 ชั่วโมง (นักศึกษาที่ผ่านการอบรมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 80 ราย)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความรู้ด้านภาษีอากรมากขึ้น และเกิดทัศนคติที่ดีและตระหนักในการเสียภาษี
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ (1.00-1.80 = น้อยที่สุด , 1.81-2.60 = น้อย , 2.61-3.40 = ปานกลาง , 3.41-4.20 = มาก , 4.21-5.00 = มากที่สุด)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปประเมินโครงการ
เชิงปริมาณ ระดับ 3.51 4.6 100
2. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย 97 คน เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 82.47 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/08/2559  - 05/08/2559 01/08/2559  - 05/08/2559
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ