ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงานในภาพรวม
โครงการโฮมรูมการสื่อสารดิจิทัล เป็นกิจกรรมในปีการศึกษา 2558 โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 และครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมครั้งที่ 1 จำนวน148 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 132 คน โดยอาจารย์ได้ให้นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมกรอกแบบฟอร์มข้อมูลพื้นฐานของตนเอง ก่อนจะแยกย้ายเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาของตนเอง เพื่อจะได้ปรึกษาปัญหาเรื่องการเรียน และปัญหาในการใช้ชีวิต แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับครั้งที่ 2 นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเรียน ปัญหาการเรียน และการวางแผนชีวิตระหว่างการศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงปัญหาการฝึกงาน ตลอดจนแนวทางการประกอบอาชีพหลัง จบการศึกษาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นต้น จากการประเมินกิจกรรมโฮมรูม ทั้งสองครั้ง พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ จากผลการประเมินค่าเฉลี่ยรวมได้ 4.09 อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจต่อกิจกรรมดังกล่าว จากผลการประเมินค่าเฉลี่ยรวมได้ 4.03 อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ผลของการนำไปใช้ประโยชน์
กิจกรรมโฮมรูมการสื่อสารดิจิทัล เป็นกิจกรรมที่ ส่งเสริมนักศึกษาให้มีโอกาส ได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเรียน และเรื่องส่วนตัวอย่างใกล้ชิด กับอาจารย์ที่ปรึกษา อันจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเรียน การใช้ชีวิตระหว่างการศึกษา การตัดสินใจ การปรับตัว และการวางแผนชีวิตระหว่างการศึกษาเป็นต้น ซึ่งจะนำมาซึ่งความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษา นอกจากนี้อาจารย์ที่ปรึกษายังเผยแพร่นโยบาย Go Eco U ของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมอบหมายให้นักศึกษาทุกชั้นปีร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ รักษาความสะอาดภายในอาคาร เพื่อปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน
การบูรณาการกับการเรียนการสอน
-ไม่มีการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน
ข้อเสนอแนะ
-เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ขอเป็นกำลังใจให้พี่ๆ อาจารย์ จัดกิจกรรมนี้ต่อไป เพื่อให้ นศ.กับอาจารย์ ได้พบปะพูดคุยกัน เนื้อหากิจกรรมดี มีความน่าสนใจ ตรงประเด็น แต่เวลาในการจัดกิจกรรมน้อยไป ควรเพิ่มระยะการจัดกิจกรรม ให้มากขึ้น
- ควรมีการแจ้งเวลาให้ชัดเจน เนื่องจากแยกเป็นกลุ่มสายเรียน ไม่ได้เข้าอบรมทั้งชั้น มีการสลับห้องไปมา ทำให้หาห้องอบรมลำบาก
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
1
|
เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้พบนักศึกษาของตนเองอย่างใกล้ชิด
|
นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ที่ปรึกษาของตนเองอย่างใกล้ชิด และเป็นกันเอง
|
2
|
เพื่อให้คำปรึกษาด้านวิชาการ วิชาชีพ และแนวทางการใช้ชีวิต และบริการข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา
|
อาจารย์ที่ปรึกษาได้ทราบข้อมูลพื้นฐาน ด้านการเรียน และการใช้ชีวิตระหว่างเรียน และให้บริการข่าวสารอันเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา
|
3
|
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างอาจารย์ นักศึกษา สถาบัน
|
อาจารย์ที่ปรึกษาได้มีโอกาสในการติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาในทุกๆ ด้าน อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจและสัมพันธ์อันดี การเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และสถาบัน
|
4
|
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ ควบคู่ไปกับการใส่ใจต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน
|
นักศึกษามีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม
|
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 :
นักศึกษามีทักษะการใช้ชีวิต มีทัศนคติที่ดีต่อคณะ และอาชีพในอนาคต
1.
นักศึกษาสามารถนำบริการที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้
|
เชิงคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
80
|
81.8
|
100
|
2.
จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
|
เชิงปริมาณ
|
คน
|
120
|
140
|
100
|
|
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
26/10/2558
-
30/09/2559
|
28/10/2558
-
30/03/2559
|
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ