โครงการศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการ “ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ” โดยอาศัยพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรภายในฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื้อที่ 35 ไร่ เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ การผลิตทางการเกษตรให้กับนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ คณาจารย์สามารถใช้ประโยชน์ในการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาหลักเกษตรกรรมทั่วไป เศรษฐศาสตร์การผลิต การจัดการฟาร์ม บัญชีฟาร์ม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการตลาดเกษตร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงานด้านบริการวิชาการของคณะเศรษฐศาสตร์ต่อไป
โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงพื้นที่ให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินงาน ได้แก่ 1. การปรับปรุงอาคารโรงเรือนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
2. การจัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืช รวม 200 ต้น โดยแบ่งเป็น แปลงสาธิตการปลูกมะม่วง จำนวน 100 ต้น แปลงสาธิตการปลูกมะนาว จำนวน 50 ต้น
และแปลงสาธิตการปลูกลำไย จำนวน 50 ต้น
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตร ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้นำนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ของคณะเศรษฐศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ เช่น การเตรียมดินสำหรับการปลูกไม้ผลและการถางหญ้า เป็นต้น
2 เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ในอนาคตได้มีแผนการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่สามารถใช้บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาหลักเกษตรกรรมทั่วไป เศรษฐศาสตร์การผลิต การจัดการฟาร์ม บัญชีฟาร์ม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการตลาดเกษตร เป็นต้น
3 เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการผลิตทางการเกษตรของคณะเศรษฐศาสตร์ในอนาคต ในการจัดทำแปลงสาธิตไม้ผลนั้น ในอนาคตสามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ในการนำมาพัฒนาและบริการจัดการพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : มีศูนย์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษา อาจารย์และผู้ที่สนใจ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. แปลงสาธิตการปลูกไม้ผล
เชิงปริมาณ ชนิด 3 3 100
2. โรงเรือนสำหรับการเรียนรู้
เชิงปริมาณ แห่ง 1 1 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/08/2558  - 31/08/2558 03/08/2558  - 31/08/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ