โครงการแม่โจ้แป๋งบ้านสร้างเมือง : ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการแม่โจ้แป๋งบ้านสร้างเมือง : ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
(1) ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนรักษ์ลำห้วยแม่โจ้
ผลการดำเนินงาน : ดำเนินกิจกรรมโดยการแบ่งนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ชป211 มีนวิทยา โดยจัดทำขึ้นเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2557 ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 รับผิดชอบสำรวจชนิดสัตว์น้ำในลำห้วยแม่โจ้ เริ่มตั้งแต่ หน้าสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ไปจนถึง สะพานหน้าธงชัยฟาร์ม
กลุ่มที่ 2 รับผิดชอบสำรวจชนิดสัตว์น้ำในลำห้วยแม่โจ้ เริ่มตั้งแต่สะพานหน้าธงชัยฟาร์มไปจนถึง สะพานหน้าศาลาบ้านวิเวก หมู่ที่ 8
กลุ่มที่ 3 รับผิดชอบสำรวจชนิดสัตว์น้ำในลำห้วยแม่โจ้ เริ่มตั้งแต่สะพานหน้าศาลาบ้านวิเวก หมู่ที่ 8 ไปจนถึง สะพานหมู่บ้านแม่โจ้กรีนวิว
กลุ่มที่ 4 รับผิดชอบสำรวจชนิดสัตว์น้ำในลำห้วยแม่โจ้ เริ่มตั้งแต่สะพานหมู่บ้านแม่โจ้กรีนวิว ไปจนถึง สะพานทางขึ้นสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลุ่มที่ 2 รับผิดชอบสำรวจชนิดสัตว์น้ำในลำห้วยแม่โจ้ เริ่มตั้งแต่สะพานทางขึ้นสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไปจนถึง อ่างเก็บน้ำห้วยแม่โจ้

(2) ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนความยั่งยืนการเลี้ยงปลา ณ ชุมชนบ้านแม่แก๊ต
ผลการดำเนินงาน : ดำเนินกิจกรรมภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้การเลี้ยงปลาในชุมชนบ้านแม่แก้ด เป็นไปอย่างยั่งยืน และเป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้หลักวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานกิจกรรมนักศึกษา บูรณาการร่วมกัน ซึ่งดำเนินการโดยชมรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแม่โจ้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และสมหมายฟาร์ม ภายใต้การดูแลและควบคุมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงกล พรมยะ และนายประเสริฐ ประสงค์ผล ดำเนินงานในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2558 รายวิชาที่นักศึกษานำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่
- รายวิชา ชป352 โรคปลา
- รายวิชา พล221 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- รายวิชา ชป232 นิเวศวิทยาแหล่งน้ำ
- รายวิชา ชป331 แพลงก์ตอนวิทยา
- รายวิชา ชป322 โรคสัตว์น้ำ
การขั้นตอนการทำงานมีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำการสำรวจบ่อเลี้ยงปลาในฟาร์มสมหมายฟาร์มเพื่อกำหนด และเลือกบ่อที่จะทำการทดลองเลี้ยงปลาแบบอินทรีย์ ทำการเก็บตัวอย่างน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อมาวิเคราะห์หาค่าคุณภาพน้ำ และจำแนกชนิดของสาหร่ายในบ่อเลี้ยงปลาดุกที่เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลา
ขั้นตอนที่ 2 ทำการเก็บสาหร่ายสไปรูไลน่าที่พบในบ่อเลี้ยงปลาดุก นำมาตากแห้งเพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารปลาสำหรับอนุบาลลูกปลาดุก
ขั้นตอนที่ 3 ทำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกรัสเซียจากบ่อเลี้ยง เพื่อใช้ในการเพาะพันธุ์ และทำการเพาะพันธุ์ปลาโดยการใช้การผสมเทียม โดยอนุบาลลูกปลาด้วยอาหารผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าที่เก็บได้จากบ่อเลี้ยงปลาดุก
ขั้นตอนที่ 4 ทำความสะอาดคลองระบายน้ำในฟาร์ม โดยการเอาวัชพืชในน้ำออก และออกแบบระบบกรองน้ำในคลองระบายน้ำโดยการใช้วัชพืชน้ำแต่ละชนิดมาเป็นตัวดูดซับตะกอนและสารตกค้างจากน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาในบ่อก่อนจะให้น้ำไหลงลงสู่ลำเหมืองสาธารณะต่อไป ซึ่งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ศึกษาวิจัยเพื่อประกอบการทำวิทยานิพนธ์

(3) ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ ณ ชุมชนป่าไผ่
ผลการดำเนินงาน : นักศึกษากลุ่มมีนกรอาสาซึ่งเป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการปะมงฯ ได้ดำเนินกิจกรรมการฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยงกบนาด้วยหลักการเพาะผสมเทียม โดยใช้ฮอร์โมนกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ ซึ่งนักศึกษาได้ฝึกการคำนวณฮอร์โมนเพื่อผสมเทียม ณ ฟาร์มลุงสูนพันธุ์ปลา ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2558 ภายใต้การควบคุมดูแล ให้คำปรึกษา จากนายเทพพิทักษ์ บุญทา นักวิทยาศาสตร์ สังกัดคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว นักศึกษาได้มีการประชุม วางแผนการดำเนินกิจกรรมโดยการนำหลัก PDCA มาใช้
รายวิชาที่นักศึกษานำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม
- รายวิชา ชป352 โรคปลา
- รายวิชา พล221 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- รายวิชา ชป331 แพลงก์ตอนวิทยา
- รายวิชา ชป322 โรคสัตว์น้ำ

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสร้างบัณฑิตของคณะให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สามารถสร้างบัณฑิตของคณะให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
2 เพื่อให้ คณะ นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้งานวิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษาให้เป็นเรื่องเดียวกัน คณะ นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้งานวิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา
3 เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำของนักศึกษา (Leadership Development) กล้าคิด กล้าทำ กล้านำในสิ่งที่ถูกต้อง และอดทนสู้งาน สามารถพัฒนาความเป็นผู้นำของนักศึกษา (Leadership Development) ทำให้นักศึกษากล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง และอดทนสู้งาน
4 เพื่อส่งเสริมและประกอบระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา บันทึกกิจกรรมลงในระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษาแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข : กิจกรรมประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนรักษ์ลำห้วยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.75 100
2. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.85 100
3. ชนิดสัตว์น้ำที่สำรวจพบในแหล่งน้ำ
เชิงปริมาณ ชนิด 10 42 100
4. บรรลุตามวัตถุประสงค์กิจกรรม
เชิงคุณภาพ ระดับ 5 5 100
5. ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข : กิจกรรมประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนความยั่งยืนการเลี้ยงปลา ณ ชุมชนบ้านแม่แก้ด
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.87 100
2. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.82 100
3. ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
4. จำนวนรายวิชาที่บูรณาการวิชาการรับใช้สังคม
เชิงปริมาณ รายวิชา 5 5 100
5. บรรลุตามวัตถุประสงค์กิจกรรม
เชิงคุณภาพ ระดับ 5 5 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 3 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข : กิจกรรมประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ตอนความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ ณ ชุมชนป่าไผ่
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนรายวิชาที่บูรณาการวิชาการรับใช้สังคม
เชิงปริมาณ รายวิชา 4 4 100
2. ชนิดสัตว์น้ำที่ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยง
เชิงปริมาณ ชนิด 2 1 50.00
3. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.67 100
4. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.83 100
5. ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
6. บรรลุตามวัตถุประสงค์กิจกรรม
เชิงคุณภาพ ระดับ 5 5 100
รวม      91.67
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 97.22
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
11/05/2558  - 30/09/2558 01/08/2557  - 31/08/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ