โครงการชาวประชาแม่โจ้ ใส่ใจอาหารและน้ำดื่ม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สภานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการ ชาวประชาแม่โจ้ปลอดภัย ใส่ใจในอาหาร และน้ำดื่ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งนี้ได้จัดขึ้นโดยสภานักศึกษา โดยรูปแบบกิจกรรมเเบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ ๑


โดยก่อนการเริ่มกิจกรรมได้มีการจัดฝึกอบรมสร้างความรู้เเละความตระหนักให้เเก่ผู้ประกอบการร้านค้าภายในมหาวิทยาลัยเเม่โจ้ในเรื่องธรรมาภิบาลการผลิตอาหารที่ถูกคุณลักษณะแก่ผู้บริโภคเช่น การจัวางภาชนะในการประกอบอาหาร พื้นที่ในการผลิตอาหาร การกำจัดขยะ ภาชะที่ใช้ในการใส่อาหารเป็นต้น เเละได้รับความอนุเคราะห์จากสาธารณสุข จากอำเภอสันรายในการให้ความรู้ในการอบรม โดยมีผู้ประกอบการให้ความสำคัญเข้าร่วมรับฟังการอบรมเเต่ยังมีบ้างร้านที่ไม่สามารถมาเข้าร่วมการอบรมได้
การจัดโครงการรณรงคืเเละประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เเก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเเม่โจ้ ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการใช้สิทธิของผู้บริโภคอย่างคุ้มค่า มีนักศึกษาให้ความสำคัญบางกลุ่มเท่านั้นเนื่องจากส่วนใหญ่กลับมอง ว่าเป็นเรื่องไกลตัวของนักศึกษาเอง
ทางสภานักศึกษาได้ลงพื้นที่ในการสุ่มตรวจคุณภาพอาหารเเละหลักสุขาภิบาล ๑๗ ข้อในการผลิตอาหารและคุณภาพน้ำดื่มบริเวณหอพักนักศึกษาที่ปลอภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกองกิจการนักศึกษา บริเวณพื้นที่เป้าหมาย โรคอาหารเทิดกสิกร โดยมีการตรวจหาโคลิฟอร์อมเเบคทีเรียในอาหาร กรดซาลิซิลิค บอเเรกซ์ในอาหาร เเละ ฟอร์มาลีน จำนวน ๑๕ ร้าน ผลการตรวจอยุ่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ จะมีปัญหาในเรื่องของภาชะที่ใช้ ใส่อาหาร กลุ่ม ถ้วย จาน ช้อน ซ้อมซึ่งส่วนใหญ่ผลตรวจยังเป็น Positive หรือ มีการปนเปื้อนของ โคลิฟร์อม
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะให้บริการอย่างจริงใจและซื่อสัตย์ต่อผู้เข้ารับบริการ ผู้ประกอบการมีความใส่ใจ ในการประกอบการ การคัดเลือกวัตถุดิบมากขึ้นและตระหนักถึงความสะอาดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
2 เพื่อให้อาหาร และ น้ำดื่ม มีความสะอาด ความปลอดภัย ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาหารมีความสะอาดปลอดภัย ทั้งที่นี้มาจากการเลือกวัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิตของผู้ประกอบการทำให้ ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เเละส่งผลให้ทางร้านปรับปรุง
3 เพื่อให้สารตกค้างในอาหารและน้ำดื่มจากตัวอย่างที่สุ่มตรวจอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยแก่นักศึกษา นักศึกษาสามารถเลือกรับความปลอดภัยได้จากอาหารและน้ำดื่ม ตลอดจนทางหอพักนักศึกษาทำการแก้ไข ปรับปรุง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะให้บริการอย่างจริงใจและซื่อสัตย์ต่อผู้เข้ารับบริการ อาหาร และ น้ำดื่ม มีความสะอาด ความปลอดภัย ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ
เชิงต้นทุน บาท 20000 19062 95.31
2. ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.41 2.98 87.39
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 65 81.25
4. ร้อยละโครงการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 80 75 93.75
5. ร้อยความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 64 80.00
รวม      87.54
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 87.54
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
11/07/2558  - 25/08/2558 14/07/2558  - 16/09/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ