โครงการกลองหลวงล้านนาไทย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
1) วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 จัดการแข่งขันการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทยครั้งที่ 5 และ กาดหมั้ว ครัวศิลป์
โดยการมีส่วนร่วมหลายหน่วยงาน คือ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะศิลปศาสตร์ร่วมกับ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทศบาลเมืองแม่โจ้ และสภาวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่
ได้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ คือ หน่วยงานได้ร่วมสืบสานและเผยแพร่การแสดงฟ้อนเล็บ ศิลปะอันทรงค่าของชาวล้านนา
โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม มูลเมือง คณบดีคณะศิลปศาสตร์ กล่าวรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ในการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก อาจารย์กฤษดา ภักดี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิด ในการนี้ อาจารย์กฤษดา ภักดี ได้กล่าวว่า “ในนามของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีการจัดโครงการนี้ขึ้น เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าการฟ้อนเล็บเป็นศิลปะที่มีความประณีต อ่อนช้อย และเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวล้านนา โดยเฉพาะในสมัยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้เชิดชูศิลปะแขนงนี้จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นับว่าเป็นศิลปะที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์และสืบทอดให้ดำรงอยู่คู่ชาวไทยตลอดไป รวมถึงการอนุรักษ์วิถีชีวิตของประชาชนในอดีต ผ่านการจัดกาดหมั้ว ที่แสดงถึงการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี”
การจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากชุมชนและมีการส่งทีมฟ้อนเล็บของแต่ละชุมชนเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีเงินรางวัลสำหรับทีมที่ชนะเลิศถึง 10,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกทั้งยังได้รับความสนใจจากนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในการ จับจ่ายซื้อสินค้าใน กาดหมั้ว ครัวศิลป์ พร้อมชมการแสดงการประกวดฟ้อนเล็บในครั้งนี้อีกด้วย

2) วันที่ 3 พฤษภาคม 2558 จัดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย ครั้งที่ 11 เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กล่าวรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ในการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก อาจารย์กฤษดา ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกลองหลวง มีศรัทธาประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่ - ลำพูน ส่งกลองหลวงเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 30 ลูก โดย ดร.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้มอบรางวัล
1. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กลองหลวงจากวัดสปุ๋งหลวง
2. รางวัลชนะอันดับ 2 ได้แก่ กลองหลวง ขุนน้ำอินทนนท์
3. รางวัลชนะอันดับ 3 ได้แก่ กลองหลวง เจ้าพ่อเมืองจี้
4. รางวัลชนะอันดับ 4 ได้แก่ กลองหลวง เหมืองจี้หลวง
การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ท่องเที่ยวรอบบริเวณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
ซึ่งเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน อีกทั้งคณะผลิตฯ
ยังได้บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา โดยการนำเด็กนักศึกษาเข้าร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมทั้งกระบวนการ
ซึ่งถือว่าได้รับความร่วมมือจากสโมสรและชมรมนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ในการจัดเตรียมงานทั้งกระบวนการเป็นอย่างดี
อีกทั้งนักศึกษายังได้รับประสบการณ์การจัดกิจกรรม โดยการประยุกย์ใช้กระบวนการ PDCA


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา คณะผลิตฯได้จัดกิจกรรมเพื่อบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา
2 เพื่อเผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน คณะผลิตฯได้เผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่
3 เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะผลิตฯ ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา เผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน และเผยแพร่ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ได้เผยแพร่กิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ กลองหลวง 2558
เชิงปริมาณ คน 1500 1500 100
2. ร้อยละของผู้ร่วมโครงการได้รับทราบชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพิ่มขึ้น
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ผลประเมิน กลองหลวง 2558
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 91.8 100
3. นักศึกษาได้เรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมล้านนาจากการร่วมจัดการแข่งขันกลองหลวงล้านนาไทย
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ผลประเมิน กลองหลวง 2558
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 80.4 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
07/04/2558  - 31/05/2558 08/04/2558  - 03/05/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ