โครงการเปิดโลกทัศน์นักการสื่อสาร สู่เส้นทางวิชาชีพสื่อดิจิทัล ประจำปี 2557
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
? ผลการดำเนินงานในภาพรวม
โครงการเปิดโลกทัศน์นักการสื่อสาร สู่เส้นทางวิชาชีพสื่อดิจิทัล โดยนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 3 รหัส 55 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยคณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล จำนวน 37 คน ได้เดินทางเพื่อไปศึกษาดูงาน ณ กรุงเทพมหานครฯ ณ สถานประกอบวิชาชีพด้านสื่อ ระหว่างวันที่ 27-30 พฤษภาคม 2558 การศึกษาดูงานสถานประกอบการวิชาชีพสื่อในครั้งนี้ คณาจารย์และนักศึกษาได้ไปศึกษาดูงานสถานประกอบการจำนวน 2 แห่ง คือ บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ไปศึกษาดูงานกระบวนการผลิตนิตยสารเนชั่นแนล จีโอ กราฟฟิก ฉบับภาษาไทย (National geographic) ซึ่งเป็นนิตยสารสารคดีอันดับหนึ่งของโลก ที่นำเสนอเรื่องราวหลากหลายจากทุกมุมโลก ตั้งแต่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และโบราณคดี นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

? ผลของการนำไปใช้ประโยชน์
การจัดกิจรรมโครงการครั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในสายงานวิชาชีพ และถือเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียน นักศึกษาเกิดความเข้าใจในสายวิชาชีพของตนเอง และนักศึกษาสามารถตัดสินใจที่จะเลือกสถานประกอบการเพื่อการฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ต่อไป
การเสริมสร้างศักยภาพด้านวิชาการ สร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตรง ส่งผลให้นักศึกษาทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมไปใช้หลังจากสำเร็จการศึกษา อาทิเช่น การสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน และการใช้ชีวิตในองค์กรอย่างมีความสุข และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประสบผลสำเร็จในชีวิตและประสบผลสำเร็จในหน้าที่การทำงาน และครอบครัวในอนาคต
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษา เป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 3 รหัส 55 ได้รับโอกาสในการเรียนรู้จากองค์กรสื่อชั้นนำของประเทศ เป็นการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาเพิ่มขึ้น
2 2 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในสายงานวิชาชีพ 2 นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ได้รับความรู้จากองค์กรด้านการสื่อสาร อีกทั้งยังได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ผู้ให้ความรู้ เป็นการพัฒนาประสบการณ์ในเส้นทางวิชาชีพก่อนการทำงาน นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการได้รับความรู้ และสามารถตัดสินใจเลือกสถานประกอบการที่นักศึกษาต้องออกไปฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานเพื่อให้นักศึกษาที่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปแล้วได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ในสายงานวิชาชีพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 84.4 100
2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 81.2 100
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 50 43 86.00
รวม      95.33
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 95.33
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/02/2558  - 30/09/2558 27/05/2558  - 30/05/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ