โครงการพี่สอนน้อง พวกพ้อง ชาวพลังงานทดแทน ประจำปีการศึกษา 2557
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
5. ผลการดำเนินการ
จากการจัดกิจกรรมโครงการพี่สอนน้องวิทยาลัยพลังงานทดแทนครั้งนี้ได้สร้างความรู้ ทักษะการเรียน การสอน กระบวนการคิด วิเคราะห์และแก้ไขโจทย์ปัญหา นอกจากนี้ยังสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและมิตรภาพให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทนให้ครั้งนี้เป็นอย่างดี โดยสรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
1. เพื่อเป็นการจัดการสอนเนื้อหาให้คำปรึกษาและทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพี่กับน้อง
2. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษารุ่นพี่และรุ่นน้องๆภายในวิทยาลัยพลังงาน ทดแทน
3. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทำงานที่เป็นกลุ่มเกิดการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง

1. เพื่อเป็นการจัดการสอนเนื้อหาให้คำปรึกษาและทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพี่กับน้อง
การถ่ายทอดทักษะประสบการณ์และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ดีที่สามารถถ่ายทอดให้น้องๆรุ่นต่อไปได้เรียนรู้เพื่อเสริมทักษะความรู้และการคิดวิเคราะห์เหมาะแก่การพัฒนาตนสู่การทำงานในอนาคตที่ดี

2. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษารุ่นพี่และน้องๆภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทน
จากกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เหล่านักศึกษาทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องมีมิตรภาพและความสามัคคีต่อกันและทำให้รู้จักเข้าอกเข้าใจกันกันมากยิ่งขึ้น จากการโครงการพี่สอนน้องวิทยาลัยพลังงานทดแทน

3. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการการทำงานที่เป็นกลุ่มเกิดการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง
การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งเพราะช่วยให้นักศึกษาได้เห็นภาพจริง ได้ปฏิบัติจริง และเข้าใจความหมายในสิ่งที่ต้องการให้ทราบได้ดี จากการกระบวนการเรียนรู้ของตนเองที่ได้ลงมือปฏิบัติเพราะการลงมือทำเป็นกระบวนการฝึกฝนทักษะการเอาตัวรอดที่ดีทั้ง กระบวนการคิด วิเคราะห์ การหาเหตุผลมาอ้างอิงถึงสิ่งที่ควรเป็นไปได้และอุปสรรคที่ได้เจอเป็นด่านพิสูจน์ ความคิด การแก้ไขปัญหาและกระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างดี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากรุ่นพี่ สู่รุ่นน้อง นักศึกษาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากรุ่นพี่ สู่รุ่นน้อง
2 เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาภายในกลุ่มและนักศึกษารุ่นน้อง เกิดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาภายในกลุ่มและนักศึกษารุ่นน้อง
3 เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้นอกห้องเรียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้นอกห้องเรียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4 เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่เป็นกลุ่ม มีการสร้างกระบวนการทำงานที่เป็นกลุ่ม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : - นักศึกษาชั้นปีที่ 1และชั้นปีที่ 2 ได้รับความรู้ทักษะกระบวนการในการปรับตัวเข้ากับการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การดำเนินโครงการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 70 70 100
2. ค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ
เชิงต้นทุน บาท 7000 7000 100
3. ร้อยละของความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ การเข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 70 100
4. รายงานสรุปผล
เชิงคุณภาพ เล่ม 1 1 100
5. ร้อยละของความพึงพอใจของนักศึกษาที่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 70 100
6. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ คน 150 150 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
10/11/2557  - 31/12/2557 10/11/2557  - 31/12/2557
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ