โครงการ Green Economy สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการจัดกิจกรรมโครงการGreen Economy สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ครั้งนี้ มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 50 คน โดยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 50 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ผลิตบัณฑิตให้เป็นนักเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ที่ดี มีคุณธรรม เสียสละ และมีจิตสำนึกต่อชุมชน สังคม นั้น การจัดทำโครงการ Green Economy สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์มุ่งเน้นการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเรื่องของเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวทางในการอนุรักษ์ รักษา และปรับสภาพแวดล้อม ชุมชน แหล่งที่อยู่อาศัยของสมาชิกสหกรณ์น่าอยู่ปลอดภัยจากมลพิษต่าง ๆ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมและประยุกต์ใช้แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เช่นการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นทุนสาธารณประโยชน์เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริจาคเงินเพื่อสร้างที่เก็บขยะ หรือทำที่เก็บขยะรีไซด์เคิล เป็นต้น ต่อ ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม Green Economy และเศรษฐศาสตร์สหกรณ์อย่างแท้จริง อาจารย์ผู้รับผิดชอบจึงได้ขอความอนุเคราะห์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 1 ในการจัดนิทรรศการ และสัมมนา ให้ความรู้แก่นักศึกษา ในวันสหกรณ์แห่งชาติ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ลานใต้ตึกคณะเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันมากขึ้น เกิดการประสานงาน หรืออาจมีรูปแบบประชาสัมพันธ์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Green Economy ระหว่างกันในกลุ่มนักศึกษา
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ให้เข้าใจปัญหาต่าง ๆที่กระทบต่อสหกรณ์ ในด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ให้เข้าใจปัญหาต่าง ๆที่กระทบต่อสหกรณ์ หลังจากที่วิทยากรได้บรรยายเสร็จสิ้นได้มีการตั้งคำถามกับนักศึกษาที่เข้ารับการอบรม เพื่อประยุกต์ใช้กับสหกรณ์ และมีการซักถามจากนักศึกษาเกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตร หรือ นอกภาคการเกษตรที่อยู่ในชุมชน สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ที่ขึ้นทะเบียนกับสหกรณ์จำนวนมาก ควรมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ดังนั้น ทางด้านนักศึกษาเศษฐศาสตร์สหกรณ์ในฐานะที่จะเป็นนักสหกรณ์ในอนาคตควรมีจิตสำนึกในเรื่อง Green Economy ก่อนที่จะไปเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสหกรณ์เพื่อสมาชิกสหกรณ์ซึ่งเป็นปัจเจกบุคคล ที่รวมอยู่ในชุมชนและสังคมด้วยเช่นกัน
2 เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ที่มีผลกระทบต่อ สังคม ชุมชน ในด้านวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ที่มีผลกระทบต่อ สังคม ชุมชน สืบเนื่อง จากการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งนอก เหนือจากรายวิชาในหลักสูตรเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ และทักษะ ให้แก่นักศึกษานอกจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยการอบรมครั้งนี้ได้ถ่ายทอดจิตสำนึก Green Economy เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยสหกรณ์ในฐานะเป็นสถาบันเกษตรกรหนึ่งที่อยู่ในชุมชน ควรมีส่วนร่วมในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน โดยหากนักศึกษาจบการศึกษาเรียบร้อยแล้วจะสามารถใช้เทคนิค และความรู้เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ Green Economy เพื่อไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตในฐานะนักสหกรณ์ต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาที่เข้าร่วม โครงการได้เรียนรู้ในการดำเนินการจัดนิทรรศการ และสัมมนา ตลอดจนเข้าใจถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่สมาชิกสหกรณ์อาศัยอยู่
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ (จากกลุ่มเป้าหมาย 50 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ระดับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมสัมมนา
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปผลโครงการ Green Economy
เชิงคุณภาพ คะแนนเฉลี่ย 3.51 3.45 98.29
รวม      99.15
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 99.15
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
26/02/2558  - 26/02/2558 26/02/2558  - 26/02/2558
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ