โครงการแป๋งบ้านสร้างเมือง ระยะที่ 1 (เทศบาลตำบลหนองจ๊อม)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม
รายงานผลการดำเนินโครงการแป๋งบ้านสร้างเมือง ระยะที่ ๑ (กลุ่มพื้นที่เทศบาลตำบลหนองจ๊อม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งได้ดำเนินโครงการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ โดยมีกิจกรรมทั้งหมด ๕ กิจกรรม ดังต่อไปนี้
๑ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๗
๒ กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา
๓ กิจกรรมวิชาการและรับใช้ชุมชน
๔ กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา@หนองจ๊อม
๕ กิจกรรมกิจกรรมสรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ผลของการนำไปใช้ประโยชน์
การจัดกิจกรรมโครงการแป๋งบ้านสร้างเมือง ระยะที่ ๑ พื้นที่เทศบาลตำบลหนองหาร โดยกลุ่มคณาจารย์ และนักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร คณะสถาปัตยกรรม ศาสตรและการออกแบบสิ่งแวดล้อม และวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการ ขึ้น ๕ กิจกรรม ซึ่งคณาจารย์ นักศึกษาได้มีโอกาสในเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมกับเทศบาลมากขึ้น รวมทั้งนักศึกษาเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำเนินโครงการ และเป็นการลดกิจกรรมข้างในของมหาวิทยาลัย และเพิ่มกิจกรรมกับชุมชนมากขึ้น หากมีการบูรณาการกับการเรียนการสอนในระยะยาง เกิดการพัฒนาด้านกิจกรรมพัฒนานักศึการ่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืนด้วย และบทบาทของกลุ่มนวัตกรรมเยาวชนเพื่อสังคม ( YIY) สามารถเข้ามาช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา เรื่องเครือข่ายการเรียนรู้/การบูรณาการได้ หรือกิจกรรมเสริมจิตอาสากับคนรุ่นใหม่ และเรื่องของการนำวิชาการไปใช้ได้จริง ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม เช่น อบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านในด้านต่างๆ เช่น ด้านการสื่อสาร เป็นต้น
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1 เพื่อนักศึกษาได่ร่วมกันจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และรู้จักการเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งการส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ นักศึกษาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นกิจกรรมการสร้างประโยชน์ต่อสังคม และรู้จักการเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งการส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ กิจกรรม
2 2 เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมกันจัดทำกิจกรรมทำนุบำรุงพระพุธศาสนา และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น นักศึกษาได้ร่วมกันจัดทำกิจกรรมทำนุบำรุงพระพุธศาสนา และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยจัดกิจกรรมต้นไม้พูดได้ (ป้ายคติธรรมทางพระพุทธศาสนา) และถวายสังฆทานป้ายบูชาแด่พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ วัดสันป่าสัก และวัดท่าเกวียน ต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
3 3 เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านการสื่อสารดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน โดยมีการบูรณาการการเรียนการสอน และการบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน นักศึกษาได้ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านการสื่อสารดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน โดยมีการบูรณาการการเรียนการสอน และการบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยสร้างสื่อวีดีโอรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงเรียนบ้านท่าเกวียน สื่อเพิ่มทักษะทางด้านไอทีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านท่าเกวียน และทำเนียบผู้สูงอายุของกลุ่มผู้สูงอายุตำบลหนองจ๊อม
4 4 เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมกันคิดเพื่อวางแผน ร่วมกันทำ ร่วมประเมินและสรุปผลโครงการ นักศึกษาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อวันที่ ๒๗-๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมคำหยาด อาคาร ๗๕ปีแม่โจ้ เพื่อร่วมกันประเมินสรุปผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และร่วมกันคิด วางแผน การดำเนินโครงการในปีต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีจิตสาธารณะ และรู้จักการเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 50 50 100
2. - ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 86.8 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษาได้ร่วมกันบำรุงพระพุธศาสนา และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 40 42 100
2. - ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 86.8 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 3 : นักศึกษาได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 30 30 100
2. - ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 86.8 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 4 : นักศึกษารู้จักการเสียสละบำเพ็ญประโยชน์และมีจิตสาธารณะต่อสังคม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 50 56 100
2. - ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 86.8 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 5 : นักศึกษามีแผนกิจกรรมโครงการที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ และร่วมกันประเมินผลและสรุปผลโครงการ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 30 32 100
2. - ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 86.8 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/01/2557  - 30/09/2557 01/01/2557  - 30/09/2557
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ