โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
1. กิจกรรม ค่ายอาสาผลิตสัมพันธ์ ครั้งที่ 6 ณ มูลนิธิศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรรมและอาชีพ อ.จุน จ.พะเยา

คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ระหว่างวันที่ 19 – 25 มีนาคม 2557
นำโดย นายกอบลาภ อารีศรีสม นางสาวอภิริยา นามวงศ์พรหม พร้อมด้วยผู้นำนักศึกษาจากชมรมที่สังกัดคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 50 คน
จัดสร้างโรงเรือนไส้เดือนดินต้นแบบในการจัดการขยะของชุมชน ขนาดความยาว 10 เมตร ความกว้าง 6 เมตร จำนวน 2 บ่อ เพื่อใช้ในฐานเรียนรู้ของชุมชน โดยมอบให้กับมูลนิธิศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรรมและอาชีพ และเทศบาลตำบลหงส์หิน รวมทั้งมีกิจกรรมให้ความรู้กับเกษตรกรด้านการเกษตร
เพื่อให้นักศึกษาได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน , การปรับปรุงสวนไม้ผลและแปลงสมุนไพรของชุมชน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
สัมผัสชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ชนบทอย่างแท้จริง

2. กิจกรรมค่ายผู้นำ 4 จอบ อาสาพัฒนา ครั้งที่ 12 วันที่ 19-23 พ.ค. 2557

3. กิจกรรม รักษ์ ณ อินทนิล (งบประมาณจากกองกิจการนักศึกษา) วันที่ 7 สิงหาคม 2557
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง รวมทั้งได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง รวมทั้งได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ภาวะผู้นำ ผู้ตาม ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ภาวะผู้นำ ผู้ตาม ช่วยเหลือผู้อื่นและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
3 เพื่อสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการและได้เรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกรในชนบท
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
2. ร้อยละของนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์ตรงในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการและได้เรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกรในชนบท เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 88.5 100
3. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
เชิงต้นทุน บาท 175000 160800 91.89
4. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ คน 600 600 100
รวม      97.97
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 97.97
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
18/03/2557  - 31/08/2557 18/03/2557  - 07/08/2557
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ