โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการกิจกรรมนักศึกษาสู่ชุมชน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการสัมมนาเชิงปฎิบัติการเพื่อบูรณาการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา สู่ชุมชน จัดขึ้นระหว่างวันที 14 และ 21 สิงหาคม 2556 ณ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ และศูนย์กิจการนักศึกษา โดยใช้งบประมาณ 48920 บาท โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำความรู้ไปสู่ชุมชน ภายใต้กรอบแนวคิด “แม่โจ้: แปงบ้านสร้างเมือง” ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือโครงการ “แม่โจ้: รั้วเข้มแข็ง” กับโครงการ “แม่โจ้: สร้างเมือง” และได้มีการวางแนวทางในการทำกิจกรรมโดยใช้วิชาการควบคู่ไปกับกิจกรรมนักศึกษา โดย
โครงการ แม่โจ้: รั้วเข้มแข็ง เป็นการลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และบริการแก่ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย ได้แก่ เทศบาลแม่โจ้ ตำบลหนองหาร ตำบลหนองจ๊อม ตำบลแม่แฝก ตำบลป่าไผ่ และอื่น ๆ โดยมีวิทยาลัยบริหารศาสตรืทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของอำเภอสันทราย และโครงการ แม่โจ้: สร้างเมือง เป็นการลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และบริการแก่ชุมชนที่ห่างไกลจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ยังได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิรากแก้ว ได้เข้าร่วมสัมมนาและให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิและเสนอตัวเป็นตัวกลางในการจัดหาแหล่งทุน เพื่อการดำเนินกิจกรรม เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีบริษัทจำนวนมากที่พร้อมจะให้การสนับสนุนงานทางด้าน CSR เพื่อมาผลักดัน USR

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา และร่วมกันหารูปแบบ แนวทาง และวิธีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้สามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษา และร่วมกันหารูปแบบแนวทาง และวิธีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษาไปในแนวทางเดียวกันในระดับมาก คิดเป็น 61.32 %
2 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการนำองค์ความรู้ของแต่ละคณะ/วิทยาลัย และกิจกรรมนักศึกษาไปพัฒนา/จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถพัฒนารูปแบบการบูรณาการนำองค์ความรู้ของแต่ละคณะ/วิทยาลัย และกิจกรรมนักศึกษาไปพัฒนา/จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในระดับมาก คิดเป็น 54.38 %
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. รูปแบบการนำกิจกรรมนักศึกษาสู่ชุมชน 2. ได้เครื่อข่ายในการดำเนินกิจกรรมนักศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
2. รูปแบบบการบูรณาการกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสู่ชุมชน
เชิงปริมาณ แผน 1 1 100
3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม
เชิงต้นทุน บาท 48920 48920 100
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ (90 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
5. ร้อยละความถึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 52.5 65.63
รวม      93.13
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 93.13
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
05/08/2556  - 30/08/2556 05/08/2556  - 30/08/2556
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ