โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดโครงการในระหว่างวันที่ ๑๑-๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน ๑๐๔ คน โดยมีนักศึกษาจำนวน ๙๙ คน อาจารย์ บุคลากร จำนวน ๕ คน ทั้งนี้เป็นโครงการร่วมระหว่างสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งได้ไปศึกษาและเยี่ยมชม ณ พระราชวังสนามจันทร์ เพื่อศักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเยี่ยมชมโบราณสถานในจังหวัดปทุมธานี และได้ไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงสร้าง กระบวนการทำงานขององค์กรนิสิต นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยบูรพา โดยจากการศึกษาดูงานครั้งนี้องค์กรนักศึกษาจะได้มีการนำความรู้ วิธีการทำงาน และการแก้ไขปัญหามานำเสนอต่อผู้บริหาร และนำมาปรับใช้กับองค์กรนักศึกษา ซึ่งสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้แก่
-เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำองค์กรนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย
-ทราบถึงความแตกต่างของโครงสร้าง และระบบการดำเนินของแต่ละมหาวิทยาลัยที่สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้
-ทราบถึงปัญหา และการแก้ปัญหาในการทำกิจกรรมนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการปรับใช้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้
-ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของสภานักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความแตกต่างกันตามระเบียบของแต่ละมหาวิทยาลัย
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ได้แก่
-การประสานงานติดขัด เนื่องจากกำหนดการมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
-การไม่ตรงต่อเวลาในการนัดหมาย ทำให้การเดินทางและการทำกิจกรรมล่าช้า
-สภาพอากาศไม่เอื้อำนวยต่อการเดินทาง
-อาจารย์ที่ปรึกษาบางหน่วยงานไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมและไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนและก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดกิจกรรม
-ขาดการวางแผนสรุปงาน และการนัดหมายประชุมเพื่อเตรียมตัวและแบ่งหน้าที่กันในการทำกิจกรรมในวันต่อไป
-การแต่งกายของบางหน่วยงานไม่เหมาะสมต่อการเข้าศึกษาดูงาน
-มีการแยกเส้นทางระหว่างการเข้าศึกษาดูงาน ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก
-บางหน่วยงานให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวมากกว่าการศึกษาดูงาน
-เิกิดการแตกแยกกันในกลุ่มจากบุคคลภายนอกองค์กร
-บุคคลกรบางท่าานไม่สนใจในการศึกษาดูงาน โดยการไม่ร่วมรับฟังการบรรยายของแต่ละมหาวิทยาลัยจนจบ
-จำนวนหน่วยงานที่เข้าศึกษาดูงานมีหลายหน่วยงานมากเกินไปทำให้การควบคุมดูแลไม่ทั่วถึงและยากต่อการสื่อสาร
-ขั้นตอนระหว่างการเขียนโครงการ การร่างกำหนดการ เกิดความวุ่นวายเพราะมีบุคคลากรและบุคคลภายนอกองค์กรเข้ามายุ่งเกี่ยวมากเกินไป
-นักศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับองค์กรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เข้าศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรนิสิตและนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย ทำให้ได้รับทราบถึงระบบการดำเนินงานของผู้นำองค์กรนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งบางมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกับองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาทิ เรื่องของวาระการดำรงตำแหน่ง โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ ในการตรวจสอบและการจัดกิจกรรมแก่นักศึกษา โดยทั้งนี้จะได้มีการจัดทำสรุปและเสนอแนะในสิ่งที่จะนำมาปรับใช้กับองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่่อไป ซึ่งระดับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการในข้อนี้คิดเป็นระดับมากร้อยละ 82 ปานกลางร้อยละ 16 และน้อยร้อยละ 2
2 2. เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุยสภาพปัญหาและการแก้ปัญหาในการบริหารงานของแต่ละองค์กร แล้วนำมาปรับใช้ ในการพบปะพูดคุยกับองค์กรนิสิีต นักศึกษาที่เข้าร่วมเรียนรู้ พบว่าสภาพปัญหาในการดำเนินงานขององค์กรนิสิีต นักศึกษา จะเกิดขึ้นไม่เหมือนกันโดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และระบบการจัดการด้านกิจกรรมนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย อาทิ ความใกล้ชิดระหว่างผู้นำนักศึกษากับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาัลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นกันเอง ผู้บริหารให้ความสำคัญและเชื่อใจผู้นำนักศึกษาในการจัดกิจกรรม/โครงการ ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนบางอย่างที่ซับซ้อนและใช้เวลานานลง ทำให้การทำงานของนักศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถดำเนินโครงการประสบความสำเร็จได้อย่างราบรื่น เป็นต้น ระดับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการในข้อนี้คิดเป็นระดับมากร้อยละ 62 ปานกลางร้อยละ 38 และน้อย -
3 3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรนักศึกษาและมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งนี้ ซึ่งได้ไปศึกษาดูงานในหลายมหาวิทยาลัย ทำให้ผู้นำนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และจากการต้อนรับที่อบอุ่น รวมถึงรอยยิ้มของนักกิจกรรมที่แต่ละคนมอบให้กัน ต่างทำให้ผู้นำนักศึกษาต่างเกิดความรู้สึกดีต่อกัน และบางมหาวิทยาลัยที่ได้สร้างความสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วยิ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกันในครั้งต่อไปที่จะได้รับความร่วมมือ และการยินดีต้อนรับซึ่งกันและกัน ระดับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการในข้อนี้คิดเป็นระดับมากร้อยละ 66 ปานกลางร้อยละ 34 และน้อย -
4 4. เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงานของสภานักศึกษาทั้ง 3 วิทยาเขต ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนิน หน้าที่ของสภานักศึกษา ระดับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการในข้อนี้คิดเป็นระดับมากร้อยละ ปานกลางร้อยละ 36 และน้อยร้อยละ 28 เนื่องจากการสภานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้ง ๓ วิทยาเขต มีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน จึงทำให้แผนงานบางอย่างของสภานักศึกษาไม่สามารถวางร่วมกันได้ แต่ยังคงยึดถือการทำหน้าที่ตามระเบียบมหาวิทยาัลัยแม่โจ้ ว่าด้วยสภานักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อไป
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านองค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. -ร้อยละการบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- แบบประเมิน
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 88.4 100
2. -ร้อยละโครงการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด เชิงเวลา ร้อยละ 80 79.5 99.38
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 98.2 100
4. -ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 82.6 100
5. -ค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ
เชิงต้นทุน บาท 438490 403110 91.93
รวม      98.26
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 98.26
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/03/2556  - 29/03/2556 01/03/2556  - 01/07/2556
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ