โครงการอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
จากการไปจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทำนุำรุงพระพุทธศาสนา ณ วัดป่าพุธพจน์หริภุญไชย จังหวัดลำพูนและวัดป่าอารยญาณสัมปันโน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมพบว่ากิจกรรมทุกอย่างล้วนบรรลุตามวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น แต่ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ รถที่ใช้ในการเดินทางไม่มีหลังคากันแดด กันฝนซึ่งในวันเดินทางอากาศร้อนมากในช่วงเวลากลางวัน และมีฝนตกลงมาในช่วงเย็นเนื่องจากคณะผู้เข้าาร่วมโครงการฯได้ออกเดินทางจากวัดป่าพุธพจน์หริภุญไชย จังหวัดลำพูนในตอนเที่ยงและถึงจุดหมายในตอนเย็น ดังนั้น จึงมีหลายคนที่ป่วย นอกจากนี้อาหารในบางมื้อยังมีไม่เพียงพอต่อคณะผู้เข้าร่วมโครงการฯด้วย
สำหรับประโยชน์ในการจัดโครงการฯในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการต่างก็เกิดความปลื้ม ปิติและยินดีที่ตนได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะชาวพุทธที่ได้กระทำในสิ่งที่สมควรแล้วทังกิจกรรมในการทำวัตรเช้าและเย็น การนั่งสมาธิ ตลอดจนการร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาวัด การทำแนวกันไฟ และยังเป็นการฝึกความอดทนแก่ตนเองอีกทั้งยังก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างประสบการณ์และทักษะวิชาชีพและความรู้ให้แก่นักศึกษาจากประสบการณ์จริง(การทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยสูตรวิศวกรรมแม่โจ้1,การปลูกต้นโพธิ์และต้นไทร,การทำแนวกันไฟ,การเพาะกล้าต้นไม้) นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯได้เรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจากการนำวิชาความรู้ที่ตนได้รับในชั้นเรียนสู่การปฏิบัติจริงและบางกิจกรรมก็เป็นความรู้จากนอกชั้นเรียน ได้แก่ กิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์โดยวิธีวิศวกรรม 1 การเพาะกล้าต้นโพธิ์และต้นไทร การพัฒนาวัด (กวาดลานวัด พรวนดินและใส่ปุ๋ยต้นไม้)การทำแนวกันไฟ เป็นต้น
2 เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการปฏิบัติธรรม และได้เรียนรู้ถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯได้ฝึกปฏิบัติธรรมและได้โน้มนำหลักธรรมมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
3 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมและเป็นประสบการณ์แก่นักศึกษา นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯได้เรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการปฏิบัติจริงและยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งตนเองและสังคม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ(60คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 42 52.50
2. ความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม (การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำแนวกันไฟ)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ผลการประเมินโครงการ
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 3.453 98.38
รวม      75.44
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมการปลูกต้นโพธิ์และต้นไทร
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- รายงานการประเมินผล(ก.ปลูกป่า)
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 4 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 87.72
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
08/03/2556  - 31/05/2556 08/03/2556  - 10/03/2556
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ