โครงการรณรงค์จริยธรรมการสื่อสารยุคดิจิทัล
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
• ผลการดำเนินงานในภาพรวม
โครงการรณรงค์จริยธรรมการสื่อสารยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ
1. เสวนา เรื่อง ความจริงบนโฆษณา...จริยธรรมบนเส้นขนาน (วันที่ 28 สิงหาคม 2556)
ผลการดำเนินงานและสรุปประเด็นในการเสวนา มีดังนี้
- วิทยากร : เภสัชกรมโนรมภ์ สินธพอาชากุล สังกัดกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิดาดาว ภักดี จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และอาจารย์พลศรัญย์ ศันยทิพย์ จากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป อาจารย์ และบุคลากร จำนวนประมาณ 200 คน จากสถาบันการศึกษาด้านการสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และบุคลากรจากสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
- กิจกรรม : การเสวนาร่วมกับวิทยากรผู้มีประสบการณ์ และการแสดงละครสะท้อนสังคมของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง “หลง” ที่สะท้อนถึงความอยากได้ อยากมี อยากสวยของมนุษย์ จนทำให้ตนเองต้องตกเป็นเหยื่อตัณหาของตนเอง สื่อโฆษณา รวมทั้งนายทุน
- ประเด็นเสวนา : ความจริงบนโฆษณา คือ
1. มีนักศึกษาจำนวน 2 รายเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากรับประทานกาแฟลดความอ้วน แล้วเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ คือ มีอาการจิตหลอน ได้ยินเสียงแหว่ว หดหู่ ใจลอย หัวใจเต้นเร็ว ทางสาธารณสุขจึงอยากออกมาเตือนให้กลุ่มนักศึกษามีความระมัดระวังในการรับประทานยาลดความอ้วน และอย่าหลงเชื่อตามคำโฆษณา ควรค้นหาข้อมูลก่อนซื้อหรือใช้
2. สื่อโฆษณานำเสนอความจริงเพียงบางส่วน ไม่ได้นำเสนอความจริงทั้งหมด โดยความจริงที่นำเสนอนั้น เป็นการนำเสนอแต่ด้านดี บรรยายสรรพคุณของสินค้า เพื่อจูงใจให้คนดูซื้อสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งความจริงที่สื่อโฆษณาไม่ได้นำเสนอนั้น หากเป็นอันตรายหรือเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ดีต่อผู้ใช้แล้ว สื่อก็ควรต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย มิใช่แค่ผู้ผลิตสินค้าเท่านั้น
3. ความจริงบนโฆษณา นอกจากนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวแล้ว สื่อโฆษณายังชี้นำสังคมให้มีทัศนคติ ค่านิยมต่อความสวยความงาม เพื่อการบริโภคนิยมด้วย เช่น “สวยด้วยมือแพทย์ ดีกว่าสวยแบบตามมีตามเกิด” สวยคือต้องผอม อกใหญ่ ขาวเปล่งประกาย เป็นต้น และการจะสวยได้นั้น ต้องเสพวัตถุ หรือใช้บริการสินค้าต่างๆนานามากมาย
ดังนั้น จริยธรรมบนเส้นขนาน จะทำอย่างไรให้สื่อโฆษณามีจริยธรรม คุณธรรม คำนึงถึงสังคมมากยิ่งขึ้น และอยู่รอดได้ภายใต้ระบบธุรกิจอุตสาหกรรมด้วย

- ข้อเสนอแนะจากการเสวนา :
ด้านนักวิชาการด้านสื่อ : การทำโฆษณาที่ดีๆ สร้างสรรค์ต่อสังคม ก็มีตัวอย่างปรากฏให้เห็นทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างเช่น การโฆษณาเลิกเหล้า การโฆษณาคุณค่าของชีวิตอยู่ที่การช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม เป็นต้น ดังนั้น อยู่ที่แนวคิดของคนทำสื่อโฆษณามากกว่า ว่าจะเลือกใช้กลยุทธ์อะไรในการนำเสนอสื่อโฆษณาในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น และมีความตระหนัก รับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้นด้วย
ด้านผู้เชี่ยวชาญอาหาร ยา เครื่องสำอาง : ก่อนซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์อะไรก็ตาม ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน ก่อนตัดสินใจใช้หรือซื้อ ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัล พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้การค้นหาข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลยิ่งง่ายกว่าเดิม
ผู้เข้าร่วมเสวนา : นักศึกษา และวิทยากร ได้สรุปข้อเสนอแนะร่วมกัน คือ ปัญหาทุกอย่างเกิดขึ้นและดับได้ด้วยตัวของเราเอง ถ้าเรายังมีความต้องการ “อยากสวย อยากขาว อยากผอม อยากรวย...” โดยไม่มีที่สิ้นสุด หรือความพอดี และไม่มีสติยั้งคิดในการดำรงชีวิต ชีวิตของเราก็จะมีแต่ความทุกข์ ความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา

2. เสวนา เรื่อง มหาวิทยาลัย : ปัญญาหรือปริญญา (วันที่ 11 กันยายน 2556)
ผลการดำเนินงานและสรุปประเด็นในการเสวนา มีดังนี้
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว…
(อาจารย์วิทยากร เชียงกูล, 2511)
- วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์ ผู้ก่อตั้งคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ดีเด่นของกองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์ ประจำปี 2554
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : สโมสรนักศึกษากลุ่มสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย คณะสารสนเทศและการสื่อสาร คณะศิลปะศาสตร์ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยบริหารศาสตร์
- กิจกรรม : การเสวนาร่วมกับวิทยากรผู้มีประสบการณ์ และการแสดงละครสะท้อนสังคมของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง “หลง” ที่สะท้อนถึงความอยากได้ อยากมี อยากสวยของมนุษย์ จนทำให้ตนเองต้องตกเป็นเหยื่อตัณหาของตนเอง สื่อโฆษณา รวมทั้งนายทุน
- ปัญหาทางด้านการศึกษาและข้อเสนอแนะจากเวทีเสวนา :
1) หลักสูตรการเรียนการสอน ที่เมื่อนักศึกษาได้มาเรียนแล้ว ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา ประกอบกับตัวนักศึกษาเองก็ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่เรียน ตั้งแต่เริ่มต้นที่จะตัดสินใจเข้ามาเรียน และไม่รู้ว่าตนเองมีความชอบ มีความถนัดหรือสนใจจะเรียนอะไร
วิธีการแก้ไข คือ ควรเปิดโอกาสให้นักศึกษา/ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และตัวผู้เรียนหรือนักศึกษาเองก็ควรค้นหาตัวเองว่าตัวเองชอบหรือมีความสนใจที่จะเรียนวิชาอะไร ด้านไหน อย่างไร
2) การเรียนการสอน โดยเฉพาะรายวิชาทางด้านภาษา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย ฯลฯ ที่อาจารย์ผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย และอธิบายเนื้อหารายวิชาให้นักศึกษา ไม่เข้าใจ/ไม่ชัดเจน ประกอบกับตัวนักศึกษาเองก็มีทัศนคติที่ไม่ดี/ไม่ชอบต่อการเรียนวิชาทางด้านภาษาด้วย
วิธีการแก้ไข คือ อาจารย์ผู้สอนควรจะปรับวิธีการสอนให้มีความน่าสนใจ จัดกิจกรรมภายในห้องเรียนให้มีความสนุก มากกว่าเน้นการบรรยาย รวมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในด้านความคิด ความต้องการ ความสนใจ และความพร้อมของผู้เรียน ซึ่งมีความแตกต่าง ไม่เท่ากัน ส่วนตัวผู้เรียนเอง ก็ควรปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดี เห็นความสำคัญต่อการเรียนวิชาทางด้านภาษาให้มากขึ้น
3) การจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับตัวนักศึกษา/ผู้เรียน และขาดการสร้างแรงบันดาลใจ การจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ หรือใฝ่รู้
วิธีการแก้ไข คือ การปรับตัวเข้าหากันระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา มีการสอบถาม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น และค้นหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
4) นักศึกษาส่วนใหญ่มีเป้าหมายของการศึกษา เพื่อเรียนจบและมีงานทำ ไม่ได้เรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง ดังนั้น หากจะแก้ไขปัญหาของการศึกษา ก็ต้องแก้ไขที่ค่านิยมของคนในสังคม และตัวนักศึกษาด้วย รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนควรจะเลือกสอนเนื้อหาที่มีประโยชน์ ที่ผู้เรียนสามารถนำเนื้อหาความรู้จากวิชาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5) นักศึกษายิ่งเรียน ยิ่งโง่ ยิ่งมึนงง ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น ตัวผู้สอนเองไม่ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้อย่างจริงจัง ตัวนักศึกษาเองมีความแตกต่าง ความหลากหลายทางด้านพฤติกรรมและทักษะการเรียนรู้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขาดการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริง หรือความพร้อมของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ระดับนานาประเทศ รวมทั้งสภาพแวดล้อม อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดของการศึกษาในมหาวิทยาลัย คือ การสร้างปัญญาให้เกิดแก่ผู้เรียน ความรู้กับปัญญามีความแตกต่างกัน ความรู้เกิดจากการเรียนรู้ภายนอก ปัญญาเกิดจากความงอกงามที่ออกมาจากภายใน ความรู้ครอบคลุมเพียงบางสิ่งของสรรพสิ่ง ทำให้คนมีความอหังการ์ หยิ่งยโส แต่ปัญญาครอบคลุมทุกสิ่ง แม่นยำถึงแก่นในบางสิ่งอย่างลึกซึ้ง ทำให้คนมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรู้ทำให้คนมีอาชีพและท้องอิ่ม แต่ปัญญาทำให้คนมีชีวิตที่ดีงาม และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการศึกษาจะไม่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้เลย ถ้าทุกคนไม่ยอมรับความจริง ความเข้าใจ และปรับตัวเข้าหากันในระบบการศึกษาไทย
แผนการดำเนินงานในปีต่อไป สโมสรนักศึกษากลุ่มสังคมศาสตร์ทั้ง 6 คณะได้มีแผนงานหรือกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน เพื่อเชื่อมร้อย หนุนเสริมกันและกัน ทางด้านการศึกษา เช่น การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยหรือต่างประเทศ การทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนร่วมกัน การจัดกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

• ผลของการนำไปใช้ประโยชน์
นักศึกษา
- นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากการวางแผนงาน การแบ่งงาน การแสวงหางบประมาณ และบริหารจัดการงบประมาณที่มีอย่างเหมาะสม ในส่วนของสโมสรนักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมของสโมสรนักศึกษาในปีต่อไป
- นักศึกษาได้นำความรู้และประสบการณ์จากการจัดทำโครงการ ไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ เช่น รายวิชาการเขียนและการพูดสำหรับสื่อดิจิทัล ซึ่งต้องนำหลักของการเขียนจดหมายและการติดต่อประสานงาน ตลอดจนการเขียนสรุปข่าวเสนอในเว็บไซต์ และการพูดโดยการฝึกเป็นพิธีกร ผู้ดำเนินรายการต่อสาธารณชน
- นักศึกษาได้เรียนรู้หลักจริยธรรมทางการสื่อสาร และสามารถนำไปใช้ในการผลิตสื่อ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น และมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง
คณะ
- มีการเผยแพร่คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป โดยการสอดแทรกไว้ในกิจกรรมเสวนาวิชาการ ละครสะท้อนสังคม
- ส่งเสริมให้นักศึกษามีเครือข่ายด้านการจัดการความรู้ระหว่างสโมสรนักศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน

• ผลการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน
โครงการรณรงค์จริยธรรมการสื่อสารยุคดิจิทัล ได้กำหนดให้จัดเป็นประจำทุกปี เป็นการบูรณาการเข้ากับการเรียนสอนและการบริการวิชาการแก่สังคมในรายวิชา กฏหมายและจริยธรรมทางการสื่อสารดิจิทัล ซึ่งเป็นวิชาบังคับ หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ในภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความตระหนักถึงจริยธรรมทางการสื่อสารอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้เท่าทันสถานการณ์ด้านกฏหมายและจริยธรรมทางการสื่อสาร และเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ จากการยึดหลักการสอน constructivism การสร้างความรู้และปัญญาโดยผู้เรียน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากนักศึกษา โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ

• ผลการบูรณาการเข้ากับการบริการวิชาการแก่สังคม
การมอบหมายให้นักศึกษาดำเนินโครงการรณรงค์จริยธรรมการสื่อสารยุคดิจิทัล นอกจากเป็นการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นการให้บริการวิชาการแก่สังคม ให้แก่นักศึกษาต่างคณะ ต่างมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มาร่วมเสวนาในหัวข้อ “ความจริงบนโฆษณา...จริยธรรมบนเส้นขนาน”
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพให้แก่อาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กิจกรรมมุ่งเน้นให้ความรู้ด้านจริยธรรมทางวิชาชีพ ให้แก่อาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โดยใช้ละครเป็นสื่อในการถ่ายทอดให้ผู้รับสื่อได้ตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพของตน
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนเรียนรู้การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาควบคู่กับการบริการวิชาการแก่สังคม นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้การจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการควบคู่กับการบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนานักศึกษาประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
3 เพื่อส่งเสริมให้สโมสรนักศึกษาได้มีการสร้างเครือข่ายและจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาร่วมกัน สโมสรนักศึกษาของคณะในกลุ่มสังคมศาสตร์ ได้มีการสร้างเครือข่ายและจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาร่วมกัน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษา อาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตระหนักถึงความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนา (ต่อครั้ง) เชิงปริมาณ คน 60 136 100
2. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 83.4 100
3. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 81 100
4. จำนวนเครือข่ายสโมรสรนักศึกษา เชิงปริมาณ สโมสรนักศึกษา 6 6 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
13/08/2556  - 30/09/2556 28/08/2556  - 11/09/2556
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ