โครงการอาสาพัฒนาเพื่อสร้างเสริมจิตอาสา
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
การดำเนินโครงการอาสาพัฒนาเพื่อเสริมสร้างจิตอาสา ประจำปี 2556 ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 กิจกรรม คือ
1. กิจกรรมการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือนของเกษตรกร
ได้จัดทำระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2556 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยสร้างฐานเรียนรู้การเกษตรด้านการเพาะเห็ดให้แก่ชุมชน และยังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารกลางวันของนักเรียน โรงเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 31 ซึ่งช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารกลางวันได้ในบางส่วน ซึ่งจำนวนโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด อย่างเตานึ่งก้อนเชื้อ ยังมีไม่เพียงพอ ปริมาณผลผลิตจึงเพียงพอต่อการบริโภคในโรงเรียนเท่านั้น

2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการดำเนินกิจกรรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์อย่างยั่งยืน
ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2556 ณ ห้องประชุมอาคมกาญจนประโชติ อาคารอำนวยยศสุข มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร และได้รับการอบรมโดยวิทยากรจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ (นายณรงค์ อภิชัย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคสนาม), มูลนิธิรากแก้ว (นายพีรวัศ กี่ศิริ, จิตตินันต์ ใจสุทธิ์, นางสาวนิโลบล แก้วพรหม และนายมงคล แปงแก้ว) และ ผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท - เชียงใหม่ (อาจารย์อภิรัตน์ รสหวาน)

ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรมนั้น ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ คิดเป็นร้อยละ 93.20 และมีความพึงพอใจต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 86
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษามีจิตอาสาด้านกิจกรรมการเรียนรู้การเกษตร ความพึงพอใจของนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาด้านการเรียนรู้การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 85.6
2 เพื่อให้นักศึกษามีจิตอาสาด้านกิจกรรมวัฒนธรรมสังคม ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อการสร้างให้นักศึกษามีจิตอาสาด้านกิจกรรมวัฒนธรรมสังคม คิดเป็นร้อยละ 86
3 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าในกิจกรรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ในการทำกิจกรรมได้ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อความรู้ความเข้าในกิจกรรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ในการทำกิจกรรมได้ คิดเป็นร้อยละ 86.6
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : โครงการอาสาพัฒนาเพื่อสร้างเสริมจิตอาสา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ค่าใช้จ่ายในโครงการ
เชิงต้นทุน บาท 200000 193600 96.80
2. การเสร็จของโครงการตามระยะเวลา
เชิงเวลา ร้อยละ 80 100 100
3. นักศึกษาและนักเรียนเข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 80 279 100
4. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 93.2 100
5. การบรรลุตามวัถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 86 100
รวม      99.36
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 99.36
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/01/2556  - 31/08/2556 10/06/2556  - 31/08/2556
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ