โครงการวันเกียรติยศกิจกรรมนักศึกษาแม่โจ้
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้สมบูรณ์ทั้งด้านความรู้และคุณธรรม ซึ่งกำหนดไว้ในปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่จะมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน โดยมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาได้เข้าร่วมหรือจัดทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการทำกิจกรรมนักศึกษา และการนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา งานกิจกรรมนักศึกษาจึงได้จัดโครงการวันเกียรติยศกิจกรรมนักศึกษาขึ้น โดยมีการประกวดโครงการ/กิจกรรมนักศึกษาที่นำระบบวงจรคุณภาพมาบริหารจัดการโครงการให้มีคุณภาพ การประกวดนักกิจกรรมนักศึกษาดีเด่น การประกวดอาจารย์ที่ปรึกษาด้านกิจกรรมนักศึกษาดีเด่น ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556
ผลการประกวดโครงการดีเด่น ได้แก่ ชนะเลิศได้แก่ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ชมรมสร้างเสริมสุขภาพ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ชมรมอาสาพัฒนาแม่โจ้ ผลการประกวดนักกิจกรรมดีเด่น ได้แก่ นักกิจกรรมดีเด่น ได้แก่ นายสุรชัย ศรีนรจันทร์ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวเบญจมาศ ตันติชวจิต คณะศิลปศาสตร์ รองชนะเลิศอันดับที่ 2 คนที่ 1 นายสุรศักดิ์ อัง คณะบริหารธุรกิจ คนที่ 2 นายพงษ์ศิริ ศรีธิวงศ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร รางวัลชมเชย คนที่ 1 นายทวีคูณ ธิมูล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร คนที่ 2 นายวุฒิพงษ์ จิวเดช วิทยาลัยบริหารศาสตร์
นอกจากนั้น งานกิจกรรมนักศึกษา ยังได้นำผลงานของนักศึกษาที่ผ่านการประกวดในงานวิถีคน วิถีงาน ร่วมกับกองกิจการเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวันที่ 5 กันยายน 2556 ด้วย

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการดำเนินงานหรือจัดกิจกรรมนักศึกษาให้มีคุณภาพ การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการดำเนินงานหรือจัดกิจกรรมนักศึกษาให้มีคุณภาพ
ในระดับมากที่สุด คิดเป็น 94.60
2 2. เพื่อสร้างขวัญและกำลังให้แก่อาจารย์และนักศึกษาที่มีผลงานโดดเด่นด้านกิจกรรมนักศึกษา กระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถสร้างขวัญและกำลังให้แก่อาจารย์และนักศึกษาที่มีผลงานโดดเด่นด้านกิจกรรมนักศึกษา กระตุ้นให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา ในระดับมากที่สุด คิดเป็น 98.60
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. โครงการ/กิจกรรมที่ใช้ระบบประกันคุณภาพในการดำเนินการดีเด่น 2. นักกิจกรรมนักศึกษาดีเด่น 3. อาจารย์ที่ปรึกษาด้านกิจกรรมนักศึกษาดีเด่น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 96.6 100
2. โครงการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. จำนวนโครงการ/กิจกรรมคุณภาพที่ส่งเข้าประกวด
เชิงปริมาณ โครงการ/กิจกรรม 14 3 21.43
4. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 95.2 100
5. จำนวนนักกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเข้าประกวด
เชิงปริมาณ คน 14 12 85.71
6. จำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาด้านกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเข้าประกวด
เชิงปริมาณ คน 14 0 0.00
7. ค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการ
เชิงต้นทุน บาท 60000 59350 98.92
รวม      72.29
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 72.29
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/01/2556  - 31/03/2556 01/08/2556  - 30/08/2556
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ