โครงการค่ายคุณธรรมคริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2567
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ชมรมคริสเตียน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการค่ายคุณธรรมประจำปีการศึกษา 2567 เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2568 ณ คริสตจักรมอร์นิ่งสตาร์มหาพรเชียงใหม่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการประชุมชี้แจงสมาชิก ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นมา เพื่อรวบรวมข้อมูล ทำการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากกองพัฒนานักศึกษา มีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มนักศึกษาคริสเตียนและผุ้ที่สนใจอยู่ที่ 30 คน ซึ่งชมรมคริสเตียนสามารถของบประมาณได้ 29,120 บาท จากนั้นเริ่มวางแผนเตรียมงาน แบ่งกลุ่มกันทำงาน ประสานงานเรื่องสถานที่จัดกิจกรรม ตลอดจนประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2568 ได้ดำเนินการจัดโครงการค่ายคุณธรรมคริสเตียน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแผนงานที่วางไว้ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 21 คน คิดเป็นจำนวนร้อยละ 70 จากจำนวนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ (กลุ่มเป้หมาย 30 คน) ผู้ที่ลงทะเบียนไว้ไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นดังกล่าว เนื่องด้วยช่วงเวลาจัดกิจกรรมมีการทับซ้อนกับช่วงเวลาการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย ทำให้นักศึกษาต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ลักษณะของโครงการนี้เน้นในด้านการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักศึกษาคริสเตียนมีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจและเพื่อให้สมาชิกนักศึกษาที่มาเข้าร่วมโครงการได้สร้างสัมพันธภาพต่อกัน ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ โดยมีกิจกรรม “เฝ้าเดี่ยว” ในช่วงเช้าของทุกวัน มีการเรียนรู้เรื่อง “ลำดับความสำคัญของชีวิต” “คุณค่าในตัวเอง” และ “Action-ดี ชีวีสุขสันต์ Action-ไม่ดี ชีวิตหมดหวัง” ในพระธรรมฮักกัย เรื่อง “เปิดหัวใจ” เกี่ยวกับการเลือกคู่พระพรกับชีวิตคริสเตียน เรื่อง “สมดุลชีวิต” เกี่ยวกับการแบ่งเวลาในแต่ละวัน และ “กิจกรรมถามตอบ – และเปลี่ยนความคิด” เกี่ยวการรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนของสมาชิกในเรื่องที่ได้เรียนมา การสะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในโครงการครั้งนี้ให้กับสมาชิกรับฟังและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน นอกจากกิจกรรมเรียนรู้แล้ว ยังมีกิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกค่าย อีกทั้งมีการปูพื้นฐานให้กับนักศึกษาที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนแต่สนใจในความเป็นมาของคริสเตียน ซึ่งมีวิทยากรที่ชำนาญมาสอนและให้ความรู้ในด้านนี้อีกด้วย ภายหลักเสร็จสิ้นโครงการได้มีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อใช้ในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
ผลการประเมินโครงการค่ายคุณธรรมประจำปืการศึกษา 2567 ในครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามในการประเมิน มีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ Google forms ในด้านการประเมินวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น ผลการประเมินพบว่า ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักการของพระคัมภีร์ให้นักศึกษาได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.67) และช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ภายใต้สภาพสังคมที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด (4.62)
สำหรับการดำเนินงานโครงการนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (4.61) โดยทำการประเมินผลแยกกิจกรรมออกมาทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านศาสนา ซึ่งโดยภาพรวมมีความพึงพอใจด้านศาสนาอยู่ในระดับมากที่สุด (4.64) โดยมีพึงพอใจต่อกิจกรรมเฝ้าเดี่ยวอยู่ในระดับมาก (4.48) กิจกรรมการนมัสการอยู่ในระดับมาก (4.48) กิจกรรมลำดับความสำคัญของชีวิต/ฮักกัย1 อยู่ในระดับมากที่สุด (4.71) กิจกรรมคุณค่าในตัวเอง/ฮักกัย1 อยู่ในระดับมากที่สุด (4.81) กิจกรรมเปิดหัวใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.71) กิจกรรมสมดุลชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด (4.67) กิจกรรมถามตอบ-แลกเปลี่ยนความคิดอยู่ในระดับมากที่สุด (4.71) และสุดท้ายกิจกรรมAction-ดี ชีวีสุขสันต์ Action-ไม่ดี ชีวิตหมดหวัง รวี//ฮักกัย3 อยู่ในระดับมากที่สุด (4.57)
ด้านที่ 2 กิจกรรมสันทนา ในภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมสันทนาการอยู่ในระดับมากที่สุด (4.62) โดยความพึงพอใจต่อการเล่นเกมส์สานสัมพันธ์น้องพี่อยู่ในระดับมากที่สุด (4.62) การถาม-ตอบฝึกความกล้าแสดงออกอยู่ในระดับมากที่สุด (4.62)
ด้านที่ 3 การดำเนินงานโครงการ ภาพรวมความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (4.57) โดยมีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของกิจกรรมในโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (4.67) ความเหมาะสมของสถานที่จัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.62) การประชาสัมพันธ์โครงการอยู่ในระดับมาก (4.38) ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.57) และพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.62)
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับปรับปรุงการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป คือ การเพิ่มเวลาพักเบรก เนื่องจากเวลาพักเบรกระหว่างกิจกรรมน้อยเกินไปทำให้เหนื่อยล้า และครั้งต่อไปอาจจัดกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย หรือบริเวณที่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเพื่อความสะดวกในการเดินทางไป-กลับ ไม่ค้างคืน หรือจัดกิจกรรมเพียงหนึ่งวันเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ตลอดทั้งกิจกรรม เนื่องจากหากเป็นกิจกรรมหลายวัน และจัดในสถานที่ห่างไกลจากมหาวิทยาลัยอาจไม่สะดวกในการเดินทาง หรือไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกวันเพราะติดเรียนหรือติดภารกิจอื่น
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักการของพระคำภีร์ให้นักศึกษาได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจและมีแนวทางในการนำไปประพฤติปฏิบัติตามได้ สามารถสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักการของพระคำภีร์ให้นักศึกษาได้มีเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจและมีแนวทางในการนำไปประพฤติปฏิบัติตามได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.67)
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ภายใต้สภาพสังคมที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ภายใต้สภาพสังคมที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่มรระดับมากที่สุด (4.62)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจในหลักพระคัมภีร์และสามารถนำหลักคุณธรรมจริยธรรมในพระคัมภีร์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติตามได้ รวมถึงสามารถสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะ โดยยอมรับความแตกต่างและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 0.00
2. ตัวชี้วัดที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผ้เข้าร่วมโครงการต่อผลการดำเนินงานกิจกรรม
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
06/01/2568  - 20/02/2568 06/01/2568  - 20/02/2568
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ