โครงการเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ : สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
เมื่อวนัที่ 22 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ สืบฮีตโตยฮอยลอยกระทงแม่โจ้ ประจำปี 2567 ณ เรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงานโดยนางกัณณิกา ข้ามสี่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมด้วยหัวหน้างาน โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนจากเครือข่ายมหาวิทยาลัย เครือข่ายจากชุมชนวัดทุ่งหมื่นน้อย พร้อมด้วยนักศึกษา จาก 15 คณะ 3 วิทยาลัย เข้าร่วมงานในครั้งนี้
จากนั้นประธานในพิธีและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย รองอธิการบดี ได้มอบรางวัล การประกวดกระทงเล็ก ประเภทสวยงามจากวัสดุธรรมชาติ การประกวดกระทงเล็กประเภทประดิษย์สร้างสรรค์ และการประกวดประดับตกแต่งซุ้มประตูป่า โดยมีผู้สนใจทั้งนักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมประกวด
ภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมนักศึกษาในการพัฒนา 7 ทักษะ Soft Skills ดังนี้
- การประกวดประดับตกแต่งซุ้มประตูป่า
- การประกวดกระทงเล็ก ประเภทสวยงามจากวัสดุธรรมชาติและประเภทประดิษฐ์สร้างสรรค์
- การประกวดเทพียี่เป็งแม่โจ้ ประจำปี 2567
- การแสดงรำวงย้อนยุค
ณ เรือนธรรมแม่โจ้ 60 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 สนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุง อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย สนองยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุง อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
2 ให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการ ด้านสังคมและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนตามที่หลักสูตรกำหนดและเสริมสร้างคุณลักษณะของบันฑิตพึงประสงค์ นักศึกษาได้รับความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการ ด้านสังคมและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนตามที่หลักสูตรกำหนดและเสริมสร้างคุณลักษณะของบันฑิตพึงประสงค์
3 ส่งเสริมนักศึกษาในการพัฒนา 7 ทักษะ Soft Skills กิจกรรมภายในงานได้ส่งเสริมนักศึกษาในการพัฒนา 7 ทักษะ Soft Skills
4 สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านด้านศาสนา ศิลปวัฒธรรม ในระดับท้องถิ่น ได้รับความร่วมือจากเครือข่ายด้านด้านศาสนา ศิลปวัฒธรรม ในระดับท้องถิ่น
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เสริมสร้างอัตลักษณ์ลูกแม่โจ้ พัฒนา 7 ทักษะ Soft Skills
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาที่เข้าร่วมได้รับการพัฒนา 7 ทักษะ Soft Skills
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 3000 0.00
3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
4. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่น
เชิงปริมาณ หน่วยงาน 2 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/11/2567  - 29/11/2567 22/11/2567  - 22/11/2567
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ